4 ม.ค. 2022 เวลา 13:40 • คริปโทเคอร์เรนซี
สกุลเงินดิจิตอล VS เงินเฟ้อ
จากกระแสเงินเฟ้อที่กำลังเกิดขึ้นทำให้นักลงทุนทั้งรายใหญ่และรายย่อย หาแนวทางการลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยงของสินทรัพย์ หนึ่งในการลงทุนที่คนพูดถึงและให้ความสนใจที่สุดก็หนีไม่พ้นสกุลเงินดิจิตอล ที่เรียกได้ว่ามีสถานะเป็นเงินฝืด เนื่องด้วยเหรียญที่มีจำนวนจำกัด และหมดลงได้เรื่อยๆ ทำให้มหาเศรษฐีนักลงทุน และนักวิเคราะห์หลายราย หันมาเก็บสินทรัพย์ของตัวเองในรูปแบบสกุลเงินดิจิตอล เพื่อเอาตัวรอดจากเงินเฟ้อ แต่ว่าคริปโตฯจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดจริงหรือเปล่า
บทวิเคราะห์ของ จอห์น เรเคนทาเลอร์รองประธานฝ่ายวิจัยของ Morningstar ได้แสดงความคิดเห็นและวิเคราะห์ไว้ว่า ผู้คนต่างพากันเชื่อว่าสกุลเงินดิจิดอลสามารถป้องกันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นได้ เพราะว่าเหรียญดิจิตอลมีจำนวนเหรียญที่กำหนดไว้แล้ว หรือสามารถจำกัดการเติบโต ที่อาจเกิดขึ้นได้ ในทางกลับกันธนาคารต่างๆ สามารถผลิตเงินเพิ่มขึ้นมาได้มากตามที่พวกเขาต้องการ ดังนั้นทองและสกุลเงินดิจิตอลจึงถูกมองว่าป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อได้
นักลงทุน พอล ทิวดอร์ โจนส์ กล่าวว่าสกุลเงินดิจิตอลสามารถป้องกันเงินเฟ้อได้ดีกว่าทองคำ รวมทั้งเจพี มอร์แกน และฟอบส์ ที่ก่อนหน้านี้ได้วิพากษ์วิจารณ์คริปโตฯว่ามีความผันผวนสูง ไม่ได้รับการควบคุม แถมยังเป็นการเกร็งกำไรที่อันตราย ก็ต่างเห็นด้วยในเรื่องนี้
สกุลเงินดิจิตอลนั้นเกิดขึ้นมาเพียง 12 ปี ในระหว่างที่อัตราเงินเฟ้อนั้นยังคงที่ อย่างไรก็ตาม ข้อกังวลเกี่ยวกับผลตอบแทนของเงินเฟ้อก็เกิดขึ้นเป็นระยะๆ ความกังวลนี้ทำให้ ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก เสีย 1,032 จุด ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2018 การเปลี่ยนแปลงนโยบายของธนาคารกลางยังทำให้คริปโตเคอเรนซีมีบางอย่างที่สู้ได้
คุณจอห์น เรเคนทาเลอร์ จึงได้ลองวิเคราะห์เกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อและสกุลเงินดิจิตอลไว้ดังนี้
เขาเผยว่า ข่าวอัตราเงินเฟ้อไม่ได้ส่งผลกระทบต่อราคาสกุลเงินดิจิทัล แผนภูมินี้โชว์อัตราเงินเฟ้อและประสิทธิภาพของ bitcoin ในช่วงครึ่งทศวรรษที่ผ่านมาทั้งหมด 5 ช่วง โดยพิจารณาจาก
1) ผลตอบแทนของ bitcoin
2) ระดับของอัตราเงินเฟ้อ
3) ทิศทางของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของสหรัฐฯ (ในช่วงเวลานั้น ปกติ bitcoin คิดเป็นมากกว่า 40% ของสินทรัพย์สกุลเงินดิจิทัลทั้งหมด) หากมีรูปแบบอื่นๆใดในกราฟนี้ ผู้วิเคราะห์เองก็ยังแยกไม่ออก เขากล่าว
แผนภูมิ
ทีนี้มาดูสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วง:
ช่วงที่ 1 -- bitcoin แข็งแกร่ง อัตราเงินเฟ้อต่ำ ในอัตราที่เพิ่มขึ้น
Bitcoin พุ่งขึ้นในช่วงที่ 1 ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2016 ถึงมกราคม 2018 ในปี 2017 bitcoin เพิ่มมูลค่าขึ้น 1,318% อีลอน มัสก์เองก็ยังต้องประทับใจ ถึงแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในระดับปานกลาง โดยดัชนีราคาผู้บริโภคพุ่งขึ้นอีก 2.1% ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2012 ดังนั้น เพื่อพยายามชะลออัตราเงินเฟ้อธนาคารกลางสหรัฐจึงขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึงสามครั้ง ผลสรุปในระยะที่ 1 เรียกได้ว่าเป็นช่วงแรกของสกุลเงินดิจิตอลที่กำลังสดใสและป้องกันเงินเฟ้อ เหรียญดิจิตอลนั้นได้โชว์ศักยภาพอย่างเต็มที่โดยสมบูรณ์
ช่วงที่ 2 -- bitcoin อ่อนแอ อัตราเงินเฟ้อต่ำ ในอัตราที่เพิ่มขึ้น
เป็นปีที่แตกต่างอย่างเหลือเชื่อ! ในปี 2018 นี้ฉากหลังของเศรษฐกิจมหภาค มีอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แตะระดับ 2.4% ต่อปี และธนาคารกลางสหรัฐได้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกครั้งหนึ่งจุดเปอร์เซ็นต์เต็ม แต่ว่า bitcoin สูญเสียมูลค่าเกือบสามในสี่ของปีนี้ เป็นการมุ่งหน้าไปในทิศทางตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นการยากที่จะเข้าใจว่าทำไมครั้งนี้ถึงแตกต่างเป็นอย่างมาก เราสามารถคาดการณ์ได้ว่า สาเหตุที่ทำให้สกุลเงินดิจิทัลสูญเสียความเชื่อมมั่นในปี 2018 เป็นเพราะธนาคารกลางสหรัฐฯจะเข้าควบคุมการคุกคามของเงินเฟ้อ แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าทำไมนักลงทุนในปี 2017 จึงเชื่อมั่นอย่างมาก ในมุมมองตรงกันข้าม
ช่วงที่ 3 -- bitcoin ค่อนข้างดี อัตราเงินเฟ้อต่ำ ในอัตราที่ลดลง
จากความกลัวเรื่องเงินเฟ้อที่ค่อยๆ ลดลง ธนาคารกลางสหรัฐจึงหยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งแรกของปี 2019 และในช่วงครึ่งหลังของปี ธนาคารกลางเริ่มลดระดับลงทีละน้อย และหลังจากนั้นก็ร่วงลงในคราวเดียวเมื่อ covid-19 เกิดขึ้นในเดือนมีนาคม 2020 พอสิ้นเดือนอัตราดอกเบี้ยเป็นศูนย์
(ในทางเทคนิคแล้ว พื้นฐาน 5 จุด แต่ดอกเบี้ย 50 ดอลลาร์ต่อปีสำหรับทุกๆ 100,000 ดอลลาร์ที่ได้รับนั้นใกล้เคียงกับศูนย์ตามที่ผู้กู้สามารถคาดหวังได้อย่างสมเหตุสมผล) อัตราเงินเฟ้อก็ลดลงเช่นกัน Bitcoin ฟื้นตัวได้ดีกลับมาที่ 87% ในปี 2019 อีกทางหนึ่ง สถานการณ์ดังกล่าวเป็นหลักฐานอ้างอิงในการป้องกันเงินเฟ้อของสกุลเงินดิจิทัล ความก้าวหน้าดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อ ธนาคารกลางสหรัฐฯมีความจริงจังในการสร้างเงิน ซึ่งน่าจะนำไปสู่เงินเฟ้อในอนาคต ในทางกลับกัน crypto ได้กำไรเมื่ออัตราเงินเฟ้อลดน้อยลง เป็นการยากที่จะคาดการณ์ได้
ช่วงที่ 4 - Bitcoin แข็งแกร่ง อัตราเงินเฟ้อต่ำ ในอัตราคงที่
ในชวงที่สี่ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2020 ถึงเมษายน 2021 เศรษฐกิจโลกต้องต่อสู้ตลอดช่วงเวลานี้ เนื่องจากสถานการณ์ของ COVID-19 การผลิตลดลงพร้อมกับการว่างงานที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยแทบจะเป็นศูนย์ในประเทศที่พัฒนาแล้ว และอัตราเงินเฟ้อก็ต่ำมาก แม้ว่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อใกล้สิ้นปีก็ตาม Bitcoin ที่เป็นกระแส ในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ได้กำไรมากกว่า 600% คราวนี้ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความคาดหวังของนักลงทุนเป็นไปอย่างล้มเหลว ในเดือนพฤศจิกายน 2020 นักพยากรณ์เศรษฐกิจคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐ 2.1% ในปี 2564 ตามด้วยอัตราที่ลดลงเล็กน้อยในช่วงที่เหลือของปี ซึ่งตลาดในเดือนพฤศจิกายน 2020 คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อในปีนี้จะพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อถึงวันนั้น bitcoin ได้เพิ่มขึ้นสี่เท่าจากระดับต่ำสุดในเดือนมีนาคม
ช่วงที่ 5 -- Bitcoin คงที่ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ในอัตราคงที่
ในช่วงล่าสุด อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ธนาคารกลางทั่วโลกและทั้งธนาคารกลางสหรัฐ ยังไม่ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยมากนักเศรษฐศาสตร์ของรัฐบาล มักมองข้ามความเป็นไปได้ที่อัตราเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้น แต่กลับโต้แย้งว่าอัตราดอกเบี้ยควรอยู่ในระดับต่ำผิดปกติ เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจ นี่อาจจะเป็นจะเป็นบรรยากาศการลงทุนที่ดีสำหรับสกุลเงินดิจิทัล มากกว่าในช่วงที่ 1 เสียด้วยซ้ำ
1
ในขณะนี้เงินเฟ้อกำลังเติบโตขึ้น โดยขาดมาตรการรับมือจากธนาคารกลาง แต่ bitcoin กลับถูกมองข้าม คุณจอห์น เรเคนทาเลอร์เขียนบทวิเคราะห์นี้ช่วงที่ 1 bitcoin มีราคา $59,403 ซึ่งต่ำกว่าราคาปิดในวันที่ 15 เมษายน ลดลงไปกว่า $4,000
(สกุลเงินดิจิทัลที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 คือ Ethereum อยู่เหนือจุดสูงสุดในฤดูใบไม้ผลิเพียงเล็กน้อย) เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อกำลังเริ่มต้นขึ้น หุ้น S&P 500 กลับมีเปอร์เซ็นบวกที่ดีกว่าสกุลเงินดิจิทัล
สรุปว่า การยืนยันว่าสกุลเงินดิจิตอลสามารถป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อนั้นยังมีหลักฐานที่ไม่เพียงพอ หรือข้อโต้แย้งที่ว่าสกุลเงินดิจิทัลยังไม่สามารถป้องกันภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นได้ก็มีความจริงอยู่ ความสมเหตุสมผลในการสร้างสมมติฐานว่า สกุลเงินดิจิทัลจะช่วยให้พอร์ตรอดพ้นจากการทำลายล้างของอัตราเงินเฟ้อก็อาจยังไม่แน่ชัดนัก เพราะแผนดังกล่าวนี้ก็ยังไม่มีการรับประกันว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ซึ่งการซื้อหลักทรัพย์ที่มีการป้องกันเงินเฟ้อของกระทรวงการคลังก็เป็นอีกวิธีที่ปลอดภัย แม้จะมีผลตอบแทนที่น้อยกว่า
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงอีกบทวิเคราะห์ที่ช่วยให้เห็นในอีกมุมมองหนึ่งของนักวิเคราะห์ในตลาด นักลงทุนควรต้องศึกษาและวิเคราะห์ข่าวสารด้วยตัวเองเพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ
1
โฆษณา