6 ม.ค. 2022 เวลา 03:51 • ธุรกิจ
มันมีวลีที่เป็นข้อคิดสะกิดเตือน อันเกิดมาจากผลการวิจัยสาเหตุการลาออกจากงานของมนุษย์เงินเดือนทั่วโลก ที่ว่า "People join organizations but leave managers" หรือไม่ก็ "Employees don’t leave Companies, they leave Managers." ก็แปลได้ว่า คนเข้าเพราะชื่อเสียงบริษัท คนออกเพราะเจ้านายหรือหัวหน้าใจร้าย!
บริษัทวิจัยของเมกันอย่าง Gallup ออก poll สำรวจ แล้วก็พบว่า เหตุผลอันดับ 1 ที่คนทำงานอยากลาออกมีสาเหตุมาจากเจ้านายหรือหัวหน้า( Bad Boss) ตัวเลขจาก Poll นั้น เกินครึ่งไปมากค่ะคือ 75%! ที่ญี่ปุ่นก็มีกรณีของสาวสวยเก่ง เรียนก็เก่ง โปรไฟล์ก็เลิศ ใครๆก็ชม เธอจบม.โตเกียวแน่ะ! เรียนจบงานรอ ทำงานอยู่บริษัทเอเจนซี่ยักษ์ใหญ่ ที่หนุ่มสาวญี่ปุ่นต่างหมายปองจะเข้าไปทำงาน แต่เธอต้องทำงานหนักหลายชม.ติดต่อ ถูกกดดันอย่างหนัก จนต้องจบชีวิตตัวเองดิ่งลงมาจากอาคารสำนักงาน (เคสของ มัตสึชิ ทาคาฮาชิ เผื่อใครอยากไปหาอ่านเพิ่ม) จนเกิดคำเรียก สภาวะการทำงานหนักจนงอม ว่า "Karoshi Syndrom"
เรามองว่าไม่ต้องไปเสียเวลาดูผลวิจัยหรอกค่ะ คุณลองตรึกดู เวลาคนนึกฝันอยากจะทำงาน ก็จินตนาการเสียบรรเจิด คุณอยากเข้าไปทำงานเพราะได้ยินว่า "บริษัทหรือองค์กรนี้" มันดีเลิศ ถ้าจบบัญชีก็ฝันถึง Big 4 ไหม? แต่คำว่าบริษัทมันนามธรรมมาก และคุณก็ต้องไม่ลืมว่ายิ่ง "บริษัทหรือองค์กรนี้" มันดีเลิศ คุณก็จะต้องไปเจอ "คนเก่ง!" นี่คือรูปธรรม ยิ่งแต่ละคนเก่งๆ เจ๋งๆ มันยอมใครที่ไหน มันรอใครได้ที่ไหน อัตตาสูงลิบลิ่ว ฟาดฟันกันชนิดบ่อน้ำตาแตก! แถมประสบการณ์แพรวพราวกว่าคุณ และองค์กรต้องเลือกเขา ไม่ใช่เลือกพนักงานที่เพิ่งเข้ามาไม่นานแล้วปีกกล้าขาแข็ง! พวกเขาสู้ชีวิตในองค์กรมาก่อน ถ้าคุณไม่สามารถรับได้ ก็แน่นอนคุณควรต้องเป็นฝ่ายขอลาออกไป (ที่เราพูดมาทั้งหมด ต้องการจะบอกว่า มันคือเรื่องจริงที่คุณต้องเปิดใจและเปิดตายอมรับนะคะ มิได้ประสงค์จะไปดูถูกใคร)
เมื่อไปถามบรรดาบริษัทที่เป็นมืออาชีพทั่วโลกทั้งหลาย ว่าเขาทำอย่างไร ถามบริษัทในฝันอย่าง Google ก็ได้เอ้า! เขาก็จะตอบคุณว่า New employee onboarding นั้นสำคัญมาก ต้องเอาใจใส่เพื่อให้พวกเขาคุ้นชินกับวัฒนธรรมองค์กร HR ต้องวางระบบ Orientation Program ให้ดี และเจ้านายหรือหัวหน้าต้องคอยประคับประคอง สอนงาน และ Coaching เพื่อให้พวกเขาผ่าน learning curve ให้ได้ไวที่สุด เพราะพวกเขาคือต้นทุน ต้องรีบใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าในเวลาที่สั้นที่สุด (คุณลองคิดดูว่าฝากความหวังไว้กับ "คน" ที่เกี่ยวข้องกี่คน ไปฝาก "บริษัท" มันไม่ได้ เพราะมันไม่มีตัวตนค่ะ)
2
เราตอบจากประสบการณ์ที่ผ่านมาทุกบทบาทการแสดง เคยเป็นพนักงานตัวจ้อยมาก่อน เคยเป็นอดีตผู้บริหารในองค์กรเอกชน อันเป็นที่ใฝ่ฝันของหนุ่มสาวชาวไทยมาก่อน เคยเป็นอดีตผู้บริหารภาครัฐหน่วยงานด้านโยบายมาก่อน และเป็นเจ้านายของลูกน้องมาก่อน จนตอนนี้ก็กลับมาเป็นเจ้านายของลูกน้องใหม่อีกรอบ
คำถามคือ แล้วอะไรที่จะวัดว่า องค์กรทำดีที่สุดแล้ว รักษาคนไว้ดีที่สุดแล้ว องค์กรทั่วไป เขาก็จะดูแค่ว่า เด็กที่อายุงานต่ำว่า 2 ปี ลาออกเยอะไหม ถ้าเยอะแสดงว่า keep คนไม่ได้ ก็จะมีปัญหาตัวตายตัวแทนในอนาคตแน่นอน แต่โดย Theory ถ้าองค์กรหนึ่งๆ ไม่มีคนลาออกเลย คือ คนลาออกเป็นศูนย์นี่ ก็จัดว่าบริหารได้ย่ำแย่มากนะคะ เป็นงั้นไป!
โฆษณา