11 ม.ค. 2022 เวลา 01:08 • หุ้น & เศรษฐกิจ
จีนยังคงเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศของโลกที่ยังคงใช้นโยบาย Zero-COVID
3
📌 สถานการณ์โควิด-19 ในจีน
4
จีนตรวจพบผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 200 รายในแต่ละวันในช่วงสิ้นเดือนธันวาคม 2564 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่การระบาดครั้งแรกเมื่อ 2 ปีก่อน การติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากการระบาดในศูนย์กลางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีนในเมืองซีอาน โดยหลังจากตรวจพบเชื้อกว่า 127 ราย ประชาชนจำนวนมากกว่า 13 ล้านคน ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดนับตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2564 โดยรัฐบาลออกกฎไม่อนุญาตให้มีการขับขี่รถส่วนบุคคล การขึ้นเครื่องบิน การออกมาทำกิจกรรมที่ไม่จำเป็น และแต่ละครัวเรือนจะสามารถออกมาซื้อสิ่งของจำเป็นได้เพียงทุก ๆ 3 วันเท่านั้น
3
หยานอัน ซึ่งเป็นเมืองที่ใกล้เคียงกับซีอาน ก็ถูกล็อกดาวน์เข้มงวดด้วยเช่นกัน โดยประชาชนหลายแสนคนต้องอยู่แต่กับบ้าน โดยนี่ถือเป็นมาตรการที่เข้มงวดที่สุดนับตั้งแต่มีการตรวจพบผู้ป่วยโควิด-19 รายแรกที่เมืองอู่ฮั่น
3
เมืองหยูโจว ก็เป็นอีกเมืองหนึ่งที่เพิ่งถูกล็อกดาวน์เมื่อวันที่ 3 มกราคม ที่ผ่านมา หลังจากตรวจพบผู้ป่วยโรคโควิด-19 แบบไม่แสดงอาการจำนวนเพียง 3 ราย โดยมีคนจำนวนกว่าล้านคนที่ได้รับคำสั่งให้อยู่แต่ในบ้าน นอกจากนี้ ร้านค้า และซูเปอร์มาร์เก็ต ยังได้ถูกขอให้หยุดการดำเนินงานทั้งหมด ยกเว้นกิจกรรมที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตประจำวัน ในขณะที่ระบบการขนส่งสาธารณะต้องหยุดทำการและผู้คนไม่สามารถรวมกลุ่มในที่สาธารณะได้
2
รูปที่ 1: จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศจีน
📌 แนวทางการใช้มาตรการ Zero-COVID
จากข้อมูลของ Our World in Data ประเทศจีนได้ฉีดวัคซีนครบโดสให้กับประชากรไปแล้วกว่า 84% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ในขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันนั้น ถือว่าต่ำมาก หากเทียบกับประเทศอื่น ๆ แต่จีนยังคงรักษานโยบายการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวด
1
ประเทศจีนยึดมั่นในนโยบายรูปแบบนี้ตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดและมีแนวโน้มว่าจะเป็นประเทศสุดท้ายที่เลิกใช้มาตรการที่เข้มงวดเช่นนี้ โดยจีนใช้มาตรการที่จริงจังเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด รวมถึงมีการตรวจหาเชื้อในหมู่ประชาชนจำนวนมาก มีระบบการติดตามอาการ และมีข้อกำหนดการกักตัวสำหรับผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศที่เข้มงวด
4
ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กล่าวว่า สิ่งใดก็ตามที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วยและความตายจะส่งผลต่อการเมือง สังคม และเศรษฐกิจของประเทศ แม้ว่าจะมีการค้นพบการติดเชื้อเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ทางการเชื่อว่าการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วที่สุดเป็นหน้าที่ที่มีความสำคัญสูงสุดและเป็นประโยชน์สำหรับประชาชนในประเทศ
5
จนถึง ณ ตอนนี้ จีนยังคงควบคุมอย่างเข้มงวดในพื้นที่ท่าเรือและพรมแดนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดก่อนวันตรุษจีนและโอลิมปิกฤดูหนาวที่ปักกิ่ง ซึ่งจะจัดขึ้นในต้นเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ โดยชาวต่างชาติหลายหมื่นคนจะได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าประเทศ
1
อย่างไรก็ดี จากการศึกษาของ Bloomberg วัคซีนที่จีนใช้แจกจ่ายให้กับประชากรส่วนใหญ่มีแนวโน้มว่าจะไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะป้องกันโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ด้วยเหตุนี้ นักวิเคราะห์จึงคาดว่าจีนจะยังคงเดินหน้าใช้นโยบาย Zero-COVID ต่อไป และอาจมีความเข้มงวดเพิ่มขึ้นอีกหากเชื้อแพร่กระจายเป็นวงกว้าง
1
📌 ผลกระทบจากนโยบายที่เข้มงวด
ผู้คนที่ถูกกักตัวอยู่แต่บ้านในเมืองซีอานของจีนกำลังแลกสินค้าเป็นอาหาร เนื่องจากมีความกังวลว่าอาจเกิดการขาดแคลนอาหาร สื่อท้องถิ่นนำเสนอภาพประชาชนในเมืองดังกล่าวแลกบุหรี่และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับมื้ออาหาร แม้ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลในซีอานจะเริ่มแจกจ่ายอาหารฟรีให้คนในท้องถิ่นแล้วก็ตาม แต่กลับมีประชาชนหลายรายรายงานว่าเสบียงของพวกเขาเหลือน้อยหรือยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ บนโซเชียลมีเดีย
1
แม้จะมีการร้องเรียนเรื่องอาหาร แต่ทางการซีอานกลับแถลงว่านโยบายการป้องกัน COVID-19 นั้นประสบความสำเร็จอย่างยิ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว 14 วันหลังจากการล็อกดาวน์ แม้ว่าประชาชน 13 ล้านคนยังคงไม่สามารถออกจากบ้านได้ ส่วนบริษัทผู้ผลิตชิปขนาดใหญ่ของโลกอย่าง Samsung และ Micron ก็ได้รับผลกระทบจากการปิดเมืองซีอานด้วยเช่นกัน โดยทางบริษัทกล่าวว่าพวกเขาจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนแผนในการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ ซึ่งอาจส่งผลกระทบไปยัง Supply Chain ทั่วโลกได้
1
นอกจากนี้ นโยบาย Zero-COVID ที่เข้มงวดของจีนกำลังเพิ่มความตึงเครียดให้กับท่าเรือของประเทศ ส่งผลกระทบต่อการขนส่งทั่วโลก ตามรายงานของ Nikkei Asia ประเทศจีนได้เริ่มกำหนดให้ลูกเรือของเรือขนส่งสินค้าจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ก่อนเดินทาง และหากตรวจพบผู้ต้องสงสัยรายใดรายหนึ่ง ทุกคนบนเรือจะต้องกักตัวอย่างน้อย 2 สัปดาห์ แต่หลังจากพบโควิดสายพันธุ์โอมิครอน รัฐบาลจีนได้ขยายระยะเวลาในการกักตัวสำหรับลูกเรือที่เดินทางกลับจากการปฏิบัติหน้าที่เป็น 7 สัปดาห์จากก่อนหน้าที่ 6 สัปดาห์ ซึ่งทำให้ปัญหาการขาดแคลนลูกเรือทวีความรุนแรงมากขึ้น
2
รูปที่ 2: ความล่าช้าที่เพิ่มขึ้นสำหรับการขนส่งทั่วโลก
Schedule reliability rate (ตัวชี้วัดว่าเรือมาถึงตรงเวลาหรือไม่) ที่จัดทำโดยเว็บไซต์ Sea-Intelligence ลดลงน้อยกว่า 34% ในเดือนพฤศจิกายน (ค่า % น้อยหมายถึงส่งได้ช้าลง) โดยผู้ให้บริการขนส่งทางเรือสี่รายมีคะแนนน้อยกว่า 20% โดยบริษัท Evergreen มีระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ที่ 13.4% ส่วน Maersk เป็นบริษัทที่มีคะแนนสูงที่สุดในการจัดลำดับ 14 บริษัท โดยคะแนนอยู่ที่ 46.4%
2
ในทางกลับกัน ค่าขนส่งกลับพุ่งสูงขึ้น ดัชนี Baltic Dry ซึ่งเป็นตัวชี้วัดอัตราค่าจัดส่งทั่วโลก ได้ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่า 110% จากต้นปี 2563 แม้จะลดลงในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2564
1
รูปที่ 3: ดัชนี Baltic Dry Index
อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆ นี้ เงินหยวนพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเกือบ 3 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากการส่งออกที่แข็งแกร่งของประเทศและการลงทุนจำนวนมากที่เป็นปัจจัยหนุนให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น ค่าเงินหยวนของจีนในช่วงปลายปี 2564 ถือได้ว่าเป็นสกุลเงินที่แข็งค่าขึ้นมากที่สุดในบรรดาสกุลเงินในตลาดเกิดใหม่ โดยแข็งค่าขึ้นประมาณ 3% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่สกุลเงินอื่นๆ ส่วนใหญ่อ่อนค่าลง
1
รูปที่ 4: อัตราแลกเปลี่ยน หยวน – ดอลลาร์สหรัฐ
#โควิด #จีน #เศรษฐกิจจีน #เศรษฐกิจโลก
#Bnomics #Global_Economic_Update #เศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน
Bangkok Bank Post ฉบับวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2565
ผู้เขียน :
ธีระภูมิ วุฒิปราโมทย์ Economist, Bnomics
ศศิชา เป่าแตรสังข์ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ :
ชนากานต์ วรสุข Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา