13 ม.ค. 2022 เวลา 06:58 • ความคิดเห็น
ต้องตีความคำว่าอาวุโสให้ดีด้วยนะ ไม่งั้นก็คลุมเครือวิพากษ์ วิจารณ์ผิดเพี้ยนได้มากมาย
1. อาวุโสที่มาจากวัย อายุโดยตรง หรือนับจากอายุการทำงาน หรือนับจากปีที่จบการศึกษาเขาเรียกว่านับตามรุ่นเหมือนรุ่นของพวกตำรวจ ทหาร
2. อาวุโสทางวิชาการ นับจากจำนวนงานวิจัย ระดับคุณภาพของงาน จำนวนปีที่อยู่ในแวดวงวิชาการสาขานั้น ๆ
3. อาวุโสจากประสบการณ์การทำงาน ทักษะการทำงานนั้น ๆ เน้นที่ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
4. อาวุโสจากทักษะ ประสบการณ์ที่หลากหลาย มีความเชี่ยวชาญหลายด้าน มีประสบการณ์หลากหลายเช่นทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน หรือทั้งระดับการปฏิบัติการและการเป็นผู้บริหารโครงการ
5. ต้องพิจารณาดูให้ดีระหว่างอาวุโสในฐานะผู้มีทักษะเชี่ยวชาญในการทำงานจริงกับอาวุโสจากระดับการศึกษาตรี โท เอก(อาจจะเก่งแต่ในตำราหรือทางทฤษฎี)
คำว่าอาวุโสมีผลต่อการทำงานมาก ๆ เป็นอุปสรรคด้วยซ้ำไป ส่วนความอาวุโสก็ใช่จะเป็นข้อได้เปรียบเสมอไป ผู้จ้างงานบางทีก็รู้สึกว่าคนที่มาสมัครงานมัน overqualified จะจ้างไว้ก็ลำบากใจถ้าในสายงานนั้นคนที่ดูแลสั่งการมีระดับความอาวุโสทางวิชาการหรือทักษะเชี่ยวชาญน้อยกว่าแต่งานเดิมมันก็ไปได้ดีน่าพอใจอยู่แล้วเอาคนเก่งเกินงานเข้ามาคนเก่ามันจะอึดอัดหรือไม่ จะไปกันได้หรือไม่
สรุปมันมีทั้งทางบวกและลบ ในฐานะที่เคยมีส่วนในการหาคนมาทำงานจริง ๆ แล้วต้องการคนที่ทำงานได้เลยจริง ๆ ทำเป็นจริง ๆ ซึ่งงานบางอย่างมันดูจากระดับประสบการณ์ได้ชัดเจน บางอย่างมันก็ดูยาก ความสามารถในการทำงานให้สำเร็จได้จึงสำคัญสุด ถ้าระดับความอาวุโสมันเชื่อได้ว่าจะทำให้เป็นอย่างนั้นมันก็สำคัญแต่ถ้าไม่ก็ไม่สำคัญอะไร
โฆษณา