15 ม.ค. 2022 เวลา 08:31 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ในยุคที่เราจะได้ยินคำว่า ‘Metaverse’ หรือโลกเสมือนจริง ที่หลายๆคนอาจจะได้ยินอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะ AR หรือ VR นั้น ไม่ได้มีไว้เพียงเพื่อเกม หนัง หรือการจำลองโลกเสมือนจริงเพียงเท่านั้น ยังรวมถึงในทางการแพทย์อีกด้วย VR นั้น ได้มีส่วนช่วยอย่างมากในการรักษาอาการทางจิต ไม่ว่าจะเป็น โรคซึมเศร้า ไบโพล่าร์ หรือ อาการกลัวต่างๆ (phobias) อีกด้วย
Metaverse ตัวช่วยใหม่สุขภาพจิต
แล้วมันช่วยได้ยังไงกันนะ..?
หลายๆครั้งที่ปัญหาของผู้ป่วยนั้น ถูกแก้ไม่ตรงจุด จึงทำให้ผู้ป่วยหลายๆคนยอมแพ้ในการรักษา ในส่วนของ VR นั้น ใช้คอนเซ็ปง่ายๆ โดยการใช้ VR ในการสร้างสถานการณ์ให้ผู้ป่วยคุ้นชินกับการเผชิญสิ่งต่างๆ ที่เสมือนจริง ไม่ว่าจะเป็นการอยู่ท่ามกลางผู้คน หรือการใช้รถสาธารณะ
ตัวอย่างเช่น คุณ Alika Agidi-Jeffs นักดนตรีจากประเทศอังกฤษ ที่ป่วยเป็นโรคไบโพลาร์ ได้เข้ารับการทดลองกับนักวิจัยจาก King's College London เพื่อพยายามปรับปรุงเทคนิคการวินิจฉัย และสร้างการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยใช้เทคโนโลยี VR จำลองสถาการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการนำผู้ป่วยขึ้นรถบัสและติดตามว่าพวกเขาตอบสนองต่อผู้คนและเหตุการณ์ที่พวกเขาพบตลอดการเดินทางอย่างไรนั่นเอง
Alika Agidi-Jeffs นักดนตรีที่ป่วยด้วยโรคไบโพลาร์
การใช้ระบบขนส่งสาธารณะ หรือการอยู่ท่ามกลางผู้คนมากมาย มักจะเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคจิตเภท (Schizophrenia) หรือหวาดระแวง (Paranoid)
เพราะพวกเขาชอบคิดว่าคนอื่นกำลังตัดสินหรือพูดถึงพวกเขาอยู่ ดังนั้น ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมจำลอง นักจิตวิทยาจะสามารถค้นหาว่า จุดกดดันทางจิตคืออะไร หรือเมื่อผู้ป่วยเริ่มกังวล สถานการณ์แบบไหนที่พวกเขากลัวที่สุดนั่นเอง
คอนเซ็ปการทำแบบนี้อาจดูเหมือนไม่มีอะไรพิเศษ หรือแปลกใหม่ แต่รู้หรือไม่ว่าการใช้ VR เข้ามาช่วยนั้น สามารถทำให้คุณหมอดูอาการตอบสนองของผู้ป่วยได้อย่างตรงจุด รวมถึงให้คำแนะนำและแนวทางในการรับมือกับสถานการณ์ตรงหน้า เพื่อปรับใช้ในโลกความเป็นจริง ในบางกรณีอาจใช้เพื่อหยุดปัญหาสุขภาพจิตก่อนที่จะเกิดอาการที่รุนแรงอีกด้วย
แนวทางการรักษาด้วยเทคโนโลยี VR
แต่พวกเขาก็รู้ไม่ใช่หรอ ว่ามันคือของปลอม?
Arvind Tewari ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของ OVR (Oxford Virtual Reality) จากมหาวิทลัย Oxford กล่าวไว้ว่าสิ่งที่ทำให้ VR มีความพิเศษคือ ผู้ป่วยจะได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย ซึ่งช่วยปรับปรุงการบำบัดและช่วยให้คุณกระตุ้นการตอบสนองทางอารมณ์และร่างกายได้อย่างแท้จริง เหมือนกับการตอบสนองที่ทำให้ผู้ป่วยพัฒนาขึ้นในสถานการณ์ชีวิตจริง เขาเสริมอีกว่า แน่นอนว่าผู้ป่วยรู้ว่าสิ่งที่พวกเขาเผชิญอยู่นั้น มันไม่ใช่ของจริง มันคือ VR แต่สัญชาตญาณตอบสนองจะเร็วกว่าการใช้ตรรกะเสมอ
การใช้ VR ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำหรับอาการต่างๆ ในทางจิตเวชได้อย่างดี และแน่นอนว่าอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญในการรักษาทุกๆโรค คือความเข้าใจและกำลังใจที่ดีจากตัวเองและคนรอบข้าง เราแอปพลิเคชั่น Agnos เองก็เป็นหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่จะสร้างสุขภาพที่ดีให้สังคมไทย เราสนับสนุนให้คนไทยทุกคนหมั่นตรวจเช็กสุขภาพจิตของตัวเองและคนรอบข้าง เพื่อให้ได้รับการรักษาที่รวดเร็วและถูกต้อง
โฆษณา