18 ม.ค. 2022 เวลา 02:00 • ไลฟ์สไตล์
วิจัยชี้ชัด ตื่นสายส่งผลคุณป่วยด้วยโรคเรื้อรังได้มากกว่าคนที่นอนตื่นเช้าเป็นประจำ ใครยังนอนตื่นสายอยู่รีบปรับสมดุลชีวิตด่วน!
3
7 วิธี "ตื่นเช้า" ปลุกไฟ "วัยทำงาน" ให้พร้อมลุย หลังหยุดยาวปีใหม่
เนื่องจากการนอนตื่นสายมักสัมพันธ์กับการนอนดึก และการนอนที่ไม่มีคุณภาพ (ในทางการแพทย์หมายถึงการนอนหลับลึกในเวลาที่ไม่เพียงพอ) ส่งผลให้อารมณ์แปรปรวน, เสี่ยงต่อโรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และเบาหวาน
ยืนยันจากงานวิจัยเรื่อง Self-awakening and sleep/wake Habits in Adolescents ที่ถูกเผยแพร่ทาง NCBI (ศูนย์ข้อมูลการแพทย์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา) ระบุไว้ว่า คนที่ตื่นเช้าได้เป็นประจำ มักจะเป็นคนที่เข้านอนเร็ว มีช่วงเวลานอนหลับลึกที่นานเพียงพอ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้การนอนหลับที่มีคุณภาพดี
โดยการนอนหลับเพียงพอจะทำให้สุขภาพกายและใจดีขึ้น เช่น อารมณ์ดีขึ้น, ลดความเสี่ยงโรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และเบาหวาน, มีภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น, สมรรถภาพทางเพศดีขึ้น
อีกทั้ง หากคุณเข้านอนเร็วขึ้นและได้การนอนหลับที่มีคุณภาพดีขึ้น จะช่วยให้คุณจะตื่นมาพร้อมกับรู้สึกผ่อนคลายและสดชื่นมากกว่าเดิมด้วย
แล้วถ้าอยากตื่นเช้าให้ได้ในทุกๆ วัน ควรทำยังไงให้ได้ผลจริง? ลองทำตามวิธีเหล่านี้..
📌 ตั้งนาฬิกาปลุกให้เร็วขึ้น 15 นาทีทุกวันเป็นเวลา 1 สัปดาห์ จากนั้นค่อยๆ เพิ่มไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงช่วงเวลาที่ต้องการ
📌 หาแรงจูงใจกระตุ้นตัวเอง เช่น ตื่นเช้าเพื่อทำงานให้เสร็จเร็วขึ้น จะได้ไปเที่ยวกับเพื่อนหลังเลิกงาน เป็นต้น
📌 ให้รางวัลตัวเอง เช่น หากตื่นเช้าได้ตามเวลาที่กำหนดได้ติดต่อกัน 1 เดือน จะซื้อกระเป๋าใหม่ให้ตัวเอง เป็นต้น
📌 เมื่อตื่นนอนแล้ว ต้องรีบลุกออกจากเตียง/ห้องนอน ให้เร็วที่สุด
📌 หลีกเลี่ยงแสงสีฟ้า (จอมือถือ) 2-3 ชั่วโมง ก่อนนอน
📌 อย่าเคร่งครัดเกินไป หากวันไหนเหนื่อยมากหรือไม่สบาย ก็อนุญาตให้ตัวเองตื่นสายได้
📌 หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนักและรสเผ็ดในช่วงดึก เพราะเป็นสาเหตุของอาการจุกเสียดท้องหรืออาหารไม่ย่อย ซึ่งส่งผลให้นอนไม่หลับ จนทำให้ตื่นสายในที่สุด
โฆษณา