23 ม.ค. 2022 เวลา 12:49 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Cash Balance คืออะไร?
ถ้าหุ้นติด Cash Balance จะมีผลยังไง?
สำหรับนักลงทุนมือใหม่ ที่สงสัยว่าทำไมหุ้นจึงติด Cash Balance แล้วถ้าติดแล้วจะมีผลยังไง ก่อนอื่นเรามารู้จัก Cash Balance กันก่อนนะคะ
บัญชีแคชบาลานซ์ (Cash Balance / Cash Deposit) คือ บัญชีซื้อขายหุ้นที่นักลงทุนต้องเติมเงินหรือฝากเงินไว้กับโบรกเกอร์ที่เปิดบัญชีซื้อขาย หากสั่งซื้อหุ้นเงินจะถูกหักออกจากบัญชีทันที
ดังนั้น ก่อนส่งคำสั่งซื้อขาย นักลงทุนต้องตรวจสอบว่ามีเงินในบัญชีที่เพียงพอสำหรับชำระค่าซื้อหุ้นหรือไม่ค่ะ
กรณีที่วงเงินไม่พอกับมูลค่าหลักทรัพย์ที่ต้องการซื้อ ก็สามารถโอนเงินเพิ่มเข้าบัญชีได้ โดยเงินสดที่ฝากไว้จะได้รับดอกเบี้ยเช่นเดียวกับบัญชีเงินสด ส่วนการขาย นักลงทุนจะส่งคำสั่งขายได้ก็ต่อเมื่อมีหลักทรัพย์คงเหลืออยู่ในบัญชีเช่นกัน
แล้วทำไมหุ้นจึงติด Cash Balance
จากสภาพการณ์ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เต็มไปด้วยนักเก็งกำไร และบางครั้งก็มักจะลากราคาหุ้นขึ้นไปจนผิดจากสถานการณ์ปกติมาก โดยใช้เครื่องมือบัญชีมาร์จิ้น (กู้ยืมเงินในการซื้อหุ้น)
เมื่อราคาหุ้นปรับขึ้นสูงจนนักลงทุนรายย่อยพากันเข้าไปซื้อหุ้นตาม นักเก็งกำไรก็จะขายหุ้นออกมาจนราคาหุ้นปรับตัวลงอย่างรุนแรง และเกิดความเสียหายในวงกว้าง
1
ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงมีมาตรการป้องกันความเสี่ยงให้กับนักลงทุนรายย่อย ด้วยการบังคับให้หุ้นที่มีการเคลื่อนไหวผิดปกติจะต้องใช้ "บัญชีเติมเงิน (Cash Balance)" ในการซื้อขายหุ้นเท่านั้น
1
หรือต้องนำเงินสดใส่เข้าไปในพอร์ตหุ้นถึงจะซื้อหุ้นได้ เมื่อนักเก็งกำไรไม่สามารถกู้เงินมาใช้ลงทุนได้แล้ว ผลก็คือความร้อนแรงของราคาหุ้นและปริมาณซื้อขายจะลดลงนั่นเองค่ะ
โดยหุ้นที่เข้าข่ายลักษณะนี้จะถูกเรียกว่า "หลักทรัพย์ที่เข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขาย"
วัตถุประสงค์ของ Cash Balance
เพื่อลดความเสี่ยงให้กับนักลงทุนจากสถานการณ์ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหุ้นที่ติด Cash Balance จะต้องเป็นหุ้นไม่ดีเสมอไปนะคะ เพราะบางทีหุ้นบางตัวมีแนวโน้มธุรกิจที่ดีขึ้นกว่าเดิมมาก ๆ จนทำให้คนอยากเข้าไปซื้อ เมื่อมีการเคลื่อนไหวมากจนผิดปกติ ก็จะส่งผลให้หุ้นตัวนั้นติดมาตรการได้เช่นเดียวกันค่ะ
ปัจจัยที่ทำให้หุ้นเข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขายจะต้องมีลักษณะ ดังนี้
1. อัตราหมุนเวียนการซื้อขาย (Turnover ratio) มากกว่าเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด
2. มูลค่าซื้อขายมากกว่าเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด
3. บางครั้งอาจใช้อัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (P/E Ratio) มาเป็นเงื่อนไขด้วย หากราคาซื้อขายไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐาน
ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้เปิดเผยเงื่อนไขชัดเจนว่าต้องมี Turnover ratio และมูลค่าซื้อขายเท่าไหร่จึงจะเข้าข่ายมาตรการกำกับซื้อขาย
1
หุ้นที่เข้าข่ายจะถูกกำกับด้วยมาตรการ 3 ระดับ ได้แก่
ระดับ 1 : จะมีเครื่องหมาย T1 ต่อท้ายชื่อหุ้น นักลงทุนจะต้องซื้อหุ้นตัวนั้นด้วยบัญชีที่ใส่เงินสดเข้าไป (Cash Balance) เท่านั้น
ระดับ 2 : จะมีเครื่องหมาย T2 ต่อท้ายชื่อหุ้น คือห้ามคำนวณวงเงินซื้อขาย และ Cash Balance จะใช้ต่อเมื่อมาตรการระดับ 1 ไม่ได้ผล และมีข้อบังคับเพิ่มเติมคือห้ามโบรกเกอร์ใช้หุ้นตัวนี้เป็นหลักประกันในการคำนวณวงเงินซื้อขายหลักทรัพย์ในทุกประเภทบัญชีด้วย
ระดับ 3 : จะมีเครื่องหมาย T3 ต่อท้ายชื่อหุ้น โดยระดับนี้จะมีข้อบังคับคือ ห้าม Net settlement, ห้ามคำนวณวงเงินซื้อขาย และ Cash Balance หมายความว่า ห้ามหักลบราคาซื้อและราคาขายหลักทรพย์นั้นในวันเดียวกัน โดยค่าขายคืนจะเป็นวงเงินในวันถัดไปแทน
เครื่องหมาย T1 , T2 , T3 คือ หลักทรัพย์ที่เข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขายตามระดับ Level 1-3 และเมื่อคลิกที่สัญลักษณ์ T1 , T2 , T3 หลังชื่อหุ้น จะสามารถเข้าไปดูหน้าจอที่แสดงรายชื่อหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายมาตรการกำกับซื้อขายได้ค่ะ
Cr.SET
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณทุกๆ กำลังใจที่มีให้กันเสมอค่ะ
🌷🌷❤❤🙏🙏🙏🙏❤❤🌷🌷

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา