19 ม.ค. 2022 เวลา 03:51 • การเมือง
สำหรับ post นี้ ไม่เหมาะกับคนอ่านหนังสือไม่เกิน 3 บรรทัด เพราะคุณจะคิดว่าเราวิจารณ์การแต่งตัว มารยาท หรือรสนิยมการแต่งกายของคนในภาพ ควรข้าม post ไปเลยเพราะมันไม่เหมาะกับคุณ แต่ถ้าคิดว่าคุณอยากเข้าใจเรื่องกรอบบรรทัดฐาน และค่านิยมของสังคม ไปจนถึงเรื่องจิตวิทยาการตลาดของพฤติกรรมผู้บริโภคก็ตามมาได้เลยครับ
1) สิ่งที่พิสูจน์ว่าคนเท่ากัน แต่ถูกปฏิบัติต่างกัน เราเห็นได้ชัดเลยจาก "ความรวย ความจน" กับการแต่งตัวของคน คนรวยทำอะไรก็ไม่ผิดจริงๆ คุณแต่งตัวแบบไหน ถ้าคุณมียศมีตำแหน่ง มีคนรู้จัก ใส่แตะช้างดาว เขาก็บอกว่าคุณช่างเท่ระเบิด โลกที่คนไม่เสมอภาค หน้าตาแบบนี้จริงๆ นี่แหละความเหลื่อมล้ำทางสังคมยังไงล่ะ
2) นั่นเป็นเหตุผลที่คนจนที่เพิ่งรวย "คนรวยหน้าใหม่" ที่ไม่เคยรวย ไม่เคยมีเงินมาก่อน หรือคนชนชั้นกลางที่พยายามถีบตัวเองขึ้นมา upper class พวกเขาต่างใช้ของแบรนด์เนมประโคมร่างกาย เพื่อซื้อตัวตนให้ดูรวย ในขณะที่คนรวย แม่งจะแต่งอะไรก็ได้ เรื่องของเธอ ตลกดี
3) เหตุผลที่ของแบรนด์เนมขายได้กับคนชนชั้นกลาง หรือของที่ดูหรูหรามีราคา ดันขายดีกับคนระดับ SES (Socio-Economic Status) ประมาณ C+ ถึง B คือไม่รวยมาก แต่พอมีปัญญาซื้อ มันคือจิตวิทยาของการสร้างภาพลักษณ์สินค้าให้ดูเป็นคนรวย มีระดับ เพื่อการซื้อของที่ทำให้ตัวเองมีภาพลักษณ์แบบคนที่ตนใฝ่ฝันคือ คนรวย ที่เป็นแรงบันดาลใจในการหาเงินมาซื้อของพวกนี้ (aspirational group)
4) ในทางการสื่อสาร เสื้อผ้าคือภาษาอย่างหนึ่ง ในกลุ่มอวัจนภาษา (Non-Verbal Communication) คนรู้ดีว่า เราจะถูกตัดสินจากเปลือกห่อหุ้มเสมอ คนจน หรือคนชนชั้นกลาง ที่ต้องการสร้างสถานะที่สูงกว่าความเป็นจริง ขึ้นไปอีกระดับ เพื่อให้ภาพลักษณ์ของตนได้รับการยอมรับ แล้วพยายามดูรวย เพื่อปกปิดสถานะที่แท้จริง มันเป็นจิตวิทยาการสื่อสารของคนผ่านเสื้อผ้า ที่เราพยายามดูรวย เพื่อให้เป็นคนที่ได้รับเกียรติ ได้รับการยอมรับในสังคม เพื่อเอาอาภรณ์ที่ห่อหุ้มเราสร้างความความสำเร็จให้เรา ให้เปลือกช่วยสร้างสรรค์ตัวตนใหม่ให้กับเรา (Social Acceptance & Self-Esteem)
5) มันสะท้อนว่าคนในสังคม treat คนไม่เท่ากันไง คนเลยแสดงออก และปฏิบัติต่อคนที่สวมใส่เสื้อผ้าต่างกัน คนจนพยายามถีบตัวเองแต่งแพงสุด หรือดูรวยตลอดเวลา เพื่อหวังให้ตนได้รับ privilege แบบคนรวย เพราะตัวเองดูรวยแล้วนะ คนต้องดูแลฉันดีๆ ให้ฉันได้รับสิ่งดีๆแบบที่คนรวยได้รับ เปลือกห่อหุ้มที่คนพยายาม up-level ตัวเองกัน ก็เพราะสังคมมอง #คนไม่เท่ากับคน
6) จริงๆเราควรแต่งตัวสบายๆ เป็นตัวเองชิลๆที่อยากเป็น แต่กรอบของสังคม ไม่สะดวกให้เราเป็นแบบนั้น บรรทัดฐานของสังคม (Social Norm) บังคับให้เราต้องมีมารยาท พยายามผลักดันให้เราอยู่ในกรอบที่ผูคนยอมรับ แต่น่าแปลกที่คนรวยสามารถฉีกทุกกรอบได้ นั่นคือที่มาของประโยคว่า "คนรวยทำอะไรก็ไม่ผิด คนจนทำอะไรก็ผิด" ความรวยฉีกกรอบบรรทัดฐานได้ มันเจ๋งจริงๆนะ นี่ล่ะที่เขาเรียกว่า Privilege Status คนที่อยู่ในสถานะอภิสิทธิ์ชน
7) บุคคลในภาพคือใคร? เขาคือ Changpeng Zhao ซีอีโอของบริษัทแลกเปลี่ยนคริปโตฯ อันดับต้นๆของโลก 'Binance' ได้ก้าวเข้าสู่ทำเนียบมหาเศรษฐีโลกด้วยทรัพย์สินสุทธิอย่างน้อย 9.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 3.2 ล้านล้านบาท ทรัพย์สินที่ถูกประเมินของ Zhao ในตอนนี้คาดว่าสูสีกับผู้ก่อตั้ง Oracle อย่าง Larry Ellison และแซงหน้า Mukesh Ambani มหาเศรษฐีอินเดียที่มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
เข้าใจเลยว่า รวยแล้วจะแต่งตัวยังไงก็ได้เลยอ่ะ
1
8 ) คนรวยทำอะไรก็ไม่ผิดในประเทศของเราก็มีนะ! ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องแต่งตัว แต่คือทุกเรื่อง ทำชั่วทำเลว คอร์รัปชั่น เอื้อนายทุน มันทำอะไรก็ได้เลยในประเทศของเรา เพราะรวยแล้วเอาเงิน เอา connection ซื้อความถูกต้องให้ตัวเองได้หมด มีแต่คนอวยยศ เอาเงิน อำนาจบารมี และระดับชั้นที่สูงกว่าของตัวเอง มาข่มเหงคนอื่น ซื้อบริวารเป็นพรรคพวกลิ่วล้อให้วิ่งสร้างเงินหมุนเข้าตัว สามารถสร้างความสำเร็จทางลัด ฉีกทุกกรอบจารีต และกฎหมาย บรรทัดฐานทางสังคมไม่ต้องสนใจ คนนินทาหรือรุมด่า ก็แค่ฟ้องปิดปากได้ นี่แหละอำนาจของคนรวย
รวยก็งี้แหละเนอะ แต่งอะไรก็ไม่ผิด อย่าแต่งเหมือนคนรวยทุกชุดนะ บางชุดเขาก็ไม่ให้ใส่ 'Crop Top' อะไรแบบนี้ก็ต้องระวังจ้ะ!
#ThinkTalkLoud
#ตุ๊ดส์review
โฆษณา