19 ม.ค. 2022 เวลา 23:27 • สุขภาพ
ยาหลอกและผลต่อวัคซีน
ยาหลอกก็คือของหลอกทำเหมือนยาเป๊ะๆ แถมยาจริงให้ยังไง
ยาหลอกก็ให้เหมือนกัน เพื่อจะเทียบผลว่ายาที่ได้ผลจริงไม่ได้เกิดจากมโนนะจ๊ะ
นึกง่ายๆคือ เอาลูกอมให้คนกินแต่หลอกว่าเป็นยา ถ้ามโนผสมหน่อยๆก็อาจจะอาการดีขึ้น โดยที่ความจริงไม่ได้กินยาจริงไปเลยสักนิดเดียว
ศัพท์ของยาหลอกมี 2 คำ คือ placebo และ nocebo
ต่างกันแค่นิดเดียวคือสิ่งที่เราคาดหวังให้ยาหลอกนั้นทำให้เกิด
1. Placebo เกิดในแง่ดี: คือใช้ยาหลอกไปก็ดีขึ้นแบบมโน
2. Nocebo เกิดในแง่ร้าย: คือใช้ยาหลอกไปแล้วแย่ลง เช่นเกิดอาการข้างเคียง
วงการวิจัยยาเราพยายามทำให้งานวิจัยนั้นเที่ยงตรง
โดยการเอาผลที่เกิดจากยาหลอกแบบนี้มาประมวลผลด้วย
เป๊ะปะหล่ะ!
ล่าสุดข่าวนี้โผล่มาให้เห็นใน Nature brief เช้านี้
ว่า 76% ของอาการข้างเคียงทั่วๆไปของวัคซีนโควิด
เช่นพวกปวดหัว อ่อนเพลีย หลังวัคซีนเข็มแรกเกิดจากผลของ nocebo
ดูเหมือนยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าเราควรรู้เรื่องอาการข้างเคียงกันมากหรือน้อยดี
จะได้ไม่กังวลกับอาการข้างเคียงจนเกินไป
แต่ก็นั่นหล่ะ เรามีสิทธิ์ที่จะรู้ข้อมูลของสิ่งที่จะต้องรับเข้าสู่ร่างกาย
ยอมรับได้ทั้งผลดีและผลเสีย
🤪 #เภสัชชะเกรียน เอางานวิจัยมะเร็งมาเล่าแบบกวนๆ สาระยากๆไม่ค่อยจะมี จะมีก็แต่ความแฟนตาซีและย่อยง่าย เพราะ #วิจัยมะเร็งนั้นลึกซึ้ง
🤗 ถ้าอาจารย์หรือพี่ๆนักวิจัยผ่านมาเห็น จะแนะนำหรือติชม นศ ป เอก ตัวน้อยน้อยยยยคนนี้ก็ยินดีและดีใจมากๆเลยค่ะ 😁🤓😁
#NoCancer #NoCancerTH
#เพราะวิจัยมะเร็งนั้นลึกซึ้ง
❇️ FB page -> @NO cancer: เพราะวิจัยมะเร็งนั้นลึกซึ้ง
❇️ Blockdit -> No Cancer: เรื่องเล่าจากห้องวิจัยมะเร็ง (https://www.blockdit.com/no_cancer)
โฆษณา