21 ม.ค. 2022 เวลา 04:47 • อสังหาริมทรัพย์
รู้จักกับ “ถนนรัชดาภิเษก” ถนนวงแหวนรอบกรุงเทพฯ สายแรก กับหลายเรื่องที่คุณอาจยังไม่เคยรู้…
สวัสดีครับเพื่อนๆ กลับมาอีกครั้งกับสาระน่าสนใจเกี่ยวกับถนนหนทางในกทม. วันนี้เราอยากพาทุกคนมารู้จักกับ “ถนนรัชดาภิเษก” กันครับ พอพูดถึงถนนสายนี้ หลายๆ คนก็คงจะรู้จักและคุ้นเคยกันอยู่แล้ว แต่วันนี้ผมรวบรวมเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจหลายๆ อย่างมาฝากกัน ผมเชื่อว่าหลายเรื่องน่าทำให้ผู้อ่านได้ว้าวแน่ๆ (โดยเฉพาะช่วงท้าย อิอิ)
ใครที่พอจะทราบอยู่แล้ว ก้ลองเดากันดูครับว่าเราจะพูดถึงเรื่องไหน แง่มุมไหนของถนนรัชดาภิเษกบ้าง เดาเสร็จแล้วก็เริ่มออกเดินทางเข้าไปดูเฉลยกันในโพสต์นี้ได้เลยครับ 😘
หลายคนอาจจะเคยได้ยินชื่อหรือเคยเรียกถนนกาญจนาภิเษกว่า “ถนนวงแหวนรอบนอก” แล้วเคยสงสัยกันไหมครับ ว่าในเมื่อมีถนนรอบนอก แล้ว “วงแหวนรอบใน” ล่ะ มีหรือเปล่า แล้วคือถนนสายไหน
คำตอบก็คือมีครับ และถนนสายนั้นก็คือ “🛣️ถนนรัชดาภิเษก” นั่นเอง
ถนนรัชดาภิเษกเป็นชื่อของโครงข่ายถนนวงแหวนรอบในของกรุงเทพมหานครครับ ถนนสายนี้มีระยะทางรวมทั้งสาย 45 กิโลเมตร บรรยากาศรอบข้างของถนนนี้ก็มีหลากหลายตามแต่พื้นที่ที่ผ่านไป ตั้งแต่ย่านชุมชนเก่าไปจนถึงย่านธุรกิจเกิดใหม่ ขนาดความกว้างของถนนก็มีทั้ง 4 เลนแคบๆ ไปจนถึงถนนใหญ่ 8 เลนมีเกาะกลาง
ซึ่งความหลากหลายอันนี้ก็มีสาเหตุและที่มาที่ไปนะครับ ไว้เราจะค่อยๆ กล่าวถึงในหัวข้อถัดๆ ไปฮะ
แนวเส้นทางของถนนวงแหวนรัชดาภิเษก
หากเริ่มจากแยกท่าพระที่ฝั่งธนบุรี แล้ววนไปตามเข็มนาฬิกา แนวถนนวงแหวนรัชดาภิเษกจะวิ่งขึ้นเหนือผ่านย่านบางกอกใหญ่ บางขุนนนท์ บางพลัด ไปข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพระราม 7 พอข้ามไปก็จะเข้าสู่ย่านวงศ์สว่าง ผ่านแยกประชานุกูล รัชวิภา และรัชโยธิน
ซึ่งที่มาของชื่อ แยกรัชวิภาและรัชโยธิน ก็มาจากการผสมชื่อระหว่าง “รัชดาภิเษก” กับ “วิภาวดีรังสิต” และ “พหลโยธิน” ตามชื่อถนนที่มาตัดกันเป็นทางแยกนั่นเองครับ 😊
แนวเส้นทางของถนนวงแหวนรัชดาภิเษก
เมื่อผ่านแยกรัชโยธินมาแล้ว เส้นทางก็จะโค้งลงมาทางทิศใต้ ผ่านศาลยุติธรรม ผ่านถนนลาดพร้าว เข้าสู่ย่านห้วยขวาง พระราม 9 เพชรบุรี แล้วเข้าสู่ถนนสายเล็กๆ แต่มีความสำคัญไม่น้อยนั่นก็คือ “ถนนอโศกมนตรี” ครับ เมื่อวิ่งตามถนนอโศกมนตรีผ่านแยกอโศก ถนนจะกลับมากว้างใหญ่อีกครั้ง วิ่งลงใต้มาเรื่อยๆ ผ่านศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ แยกพระรามที่ 4 แยก ณ ระนอง แล้วจะเริ่มเลี้ยวกลับมาทางตะวันตกเฉียงใต้ ขนาบข้างไปกับทางด่วนขั้นที่ 1 จนถึงแยกสะพานพระราม 9 (สะพานแขวน/สะพานขึง)
จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าสู่แนวถนนพระรามที่ 3 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยากลับมาที่ฝั่งธนบุรีอีกครั้ง แล้ววกกลับขึ้นไปบรรจบกับจุดเริ่มต้นที่สี่แยกท่าพระ รวมระยะทาง 45 กิโลเมตรครับ
จุดเริ่มต้นของโครงการสร้างถนนวงแหวนรัชดาภิเษก
ก่อนจะไปเรื่องอื่น ผมขอเล่าเกร็ดประวัติของถนนสายนี้ให้เพื่อนๆ ทราบกันครับ ต้องขอย้อนกลับไปเมื่อปี 2514 หรือประมาณ 50 ปีที่แล้ว ในปีนั้นเป็นปีที่ทางรัฐบาลมีการจัดงานพระราชพิธีรัชดาภิเษก เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 25 ปีพอดีครับ
1
โดยรัฐบาลในสมัยนั้นมีไอเดียที่จะสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์เพื่อเป็นอนุสรณ์ แต่รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสว่าอนุสาวรีย์นั้นยังไม่ควรสร้าง ให้ไปสร้างถนนวงแหวนรอบเมืองดีกว่า
นั่นจึงเป็นที่มาของการสร้างถนนวงแหวนรอบเมืองกรุงเทพฯ และเป็นที่มาของชื่อถนน “รัชดาภิเษก” นั่นเองครับ 💕
ถนนวงแหวนรัชดาภิเษก ไม่ได้สร้างพร้อมกันในคราวเดียว แต่ประกอบร่างจากถนนหลายๆ สายเชื่อมเข้าด้วยกัน
อย่างที่เราเกริ่นเอาไว้ในตอนแรก ว่าบรรยากาศรอบข้างถนนวงแหวนรัชดาภิเษกนั้นมีความแตกต่างกันไป นั่นเพราะถนนสายนี้ไม่ได้สร้างพร้อมกันนั่นเองครับ บางส่วนเป็นถนนเก่าที่สร้างมานานแล้ว บางส่วนก็เพิ่งสร้างใหม่ โดยถนนส่วนแรกสุดที่สร้าง เท่าที่เราค้นคว้ามาได้ ก็จะเป็นช่วงถนนวงศ์สว่าง กับถนนจรัญสนิทวงศ์ ที่สร้างในช่วงปี 2482-2484 โน่นเลย
ถนนสายต่างๆ ที่ถูกรวมให้เป็นแนวถนนวงแหวนรัชดาภิเษก
ถนนที่ถูกสร้างขึ้นใหม่เพื่อเชื่อมถนนของเดิมเข้าด้วยกัน ก็ถูกตั้งชื่อว่า “ถนนรัชดาภิเษก” เหมือนกัน นั่นจึงเป็นสาเหตุว่าทำไมจึงมีถนนชื่อรัชดาภิเษกอยู่หลายที่ ฝั่งลาดพร้าวก็มี ฝั่งธนก็มี แถวเซ็นทรัลพระราม 3 ก็มี
หลายคนคงจะเคยสับสนเวลามีใครนัดเจอแถวๆ รัชดา ซอย … เพราะมีทั้งสองฝั่ง ต้องถามกันให้ดีว่ารัชดาไหนครับ
1
ถนนรัชดาภิเษกบางส่วน ถูกสร้างทับไปบนเส้นทางที่เคยเตรียมไว้สร้างทางรถไฟ .🚂🚧
ใครที่เคยติดตามข่าวสารวงการที่ดิน อาจจะพอทราบว่าที่ดินริมถนนรัชดาภิเษก ช่วงรัชวิภาลงมาจนถึงแยกเทียมร่วมมิตรตรงศูนย์วัฒนธรรม เป็นที่ดินที่เช่าจาก “การรถไฟแห่งประเทศไทย” ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น การรถไฟไปทำอะไรบนถนนรัชดาทั้งที่ตรงนั้นไม่ได้มีทางรถไฟ วันนี้เรามีคำตอบครับ
เรื่องนี้ต้องย้อนเวลากลับไปช่วงปี 2484-2486 หรือประมาณ 80 ปีที่แล้วครับ การรถไฟแห่งประเทศไทยหรือชื่อในสมัยนั้นคือ “กรมรถไฟหลวง” มีแนวคิดจะสร้างเส้นทางรถไฟสายเลี่ยงเมือง ให้รถไฟสายตะวันออกสามารถวิ่งออกจากสถานีชุมทางบางซื่อ แล้วอ้อมไปรอบนอกของตัวเมืองกรุงเทพฯ แล้วค่อยวกกลับลงมาเชื่อมทางสายเดิมที่ย่านคลองตัน เพื่อแก้ปัญหาจุดตัดการจราจรกับถนนสายหลักในเมืองครับ
ลองนึกภาพรถไฟสายตะวันออกในปัจจุบัน พอวิ่งออกจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) แล้ว จะต้องผ่านแยกยมราช เลี้ยวขวาตัดกับถนนพระรามที่ 6 ใต้ทางด่วนอุรุพงษ์ ตัดกับถนนพญาไท ถนนราชปรารภ ถนนอโศก-ดินแดง เรียกว่าเป็นถนนสายหลักๆ ทั้งนั้นเลย
1
แต่น่าเสียดาย ที่เมื่อมีการเวนคืนเสร็จแล้วตั้งแต่ปี 2846 แต่ก็ไม่ได้มีการสร้างทางรถไฟสายนี้ขึ้นมา จะให้ว่ากันจริงๆ ก็คือ
… แนวคิดการย้ายศูนย์กลางรถไฟไทยไปอยู่บางซื่อ เพื่อลดปัญหาการจราจรและจุดตัดกับถนนในเมือง มีมาตั้งแต่ 80 ปีที่แล้ว แต่จนปัจจุบันเราก็ยังทำไม่สำเร็จนั่นเองครับ …
1
ซึ่งที่ดินที่ถูกเวนคืนมานั้น ก็ได้ถูกใช้ในการสร้างถนนรัชดาภิเษกในปี 2514 และบางส่วนก็เป็นถนนวัฒนธรรม และถนน RCA ไปนั่นเองฮะ
1
อ่านเพิ่มเติม: ประกาศเรื่องการเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางรถไฟ ช่วงปี 2484-2486
ถนนวงแหวนรัชดาภิเษก เป็นถนนที่อุดมไปด้วยสะพานข้ามและอุโมงค์ลอดทางแยกมากมาย เรียกว่าแทบจะวิ่งวนตลอดสายได้โดยไม่ติดไฟแดง 🚥
อันนี้เป็นเกร็ดเล็กๆ ที่เรานั่งรวบรวมมาเล่นๆ ครับ อยากให้สังเกตว่าถนนวงแหวนสายนี้เป็นถนนที่ถูกพัฒนาให้ช่วยระบายการจราจรให้สามารถไหลลื่นได้สะดวกที่สุด ด้วยการทำให้รถติดไฟแดงน้อยที่สุดที่จะเป็นไปได้ ซึ่งนำมาซึ่งการสร้างสะพานและอุโมงค์ทางลอดทางแยกมากมายตลอดสายเลยครับ
ทางแยกที่ตัดกับถนนรัชดาภิเษก ที่มีอุโมงค์หรือสะพาน
และจนถึงวันนี้ก็ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ 100% ทั้งหมดนะครับ โดยยังมี 3 โครงการเด่นๆ ที่กำลังอยู่ในระหว่างก่อสร้าง ได้แก่
1
--- สะพานข้ามแยก ณ ระนอง ---
อันนี้เป็นการปรับปรุงสะพานเดิม โดยการทุบสะพานออกบางส่วน และสร้างต่อขยายออกไปให้ยาวขึ้น จากเดิมที่สะพานข้ามแค่แยกพระรามที่ 4 และแยก ณ ระนอง ก็จะยกระดับยาวไปจนถึงโรงเรียนนนทรีวิทยา แถวๆ นางลิ้นจี่โน่นเลย อีกหน่อยใครที่ไม่ได้มีธุระแถวคลองเตย ก็ขึ้นสะพานข้ามโซนนี้ไปได้เลยครับ หนีรถติดไปได้หลายแยก
1
--- อุโมงค์ทางลอดแยกรัชดา-ราชพฤกษ์ ---
เริ่มสร้างกันมาได้สักพักใหญ่ๆ แล้วสำหรับอุโมงค์นี้ ถ้าเสร็จแล้วเราก็คงเดินทางกันได้สะดวกขึ้นครับ เพราะบริเวณนั้นมีทั้งสถานีรถไฟฟ้า ทั้งห้างใหญ่ ใครที่แค่ขับผ่านก็ลงอุโมงค์ไปก่อนได้เลยจ้า
1
--- อุโมงค์ทางลอดแยกไฟฉาย ---
หลังจากที่หยุดโครงการไปชั่วคราวในช่วงก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตอนนี้เห็นว่ากลับมาสร้างกันต่อแล้วนะครับ ก็หวังว่าจะเสร็จเร็วๆ ย่านพรานนก-ไฟฉายจะได้กลับมาคึกคักอีกครั้งนึงฮะ
1
วงแหวนรัชดาภิเษก เป็นเส้นแบ่งของพื้นที่ “ในเมือง” และ “นอกเมือง” ของใครหลายๆ คน
อันนี้อาจจะไม่ได้มีผลสำรวจที่เป็นสถิติมายืนยันนะครับ แต่ผมเชื่อว่าหลายคนเมื่อถามว่าเราจะใช้อะไรแบ่งว่าตรงไหนคือนอกเมือง ตรงไหนคือในเมือง วงแหวนรัชดาจะเป็นหนึ่งในตัวแปรที่จะถูกยกมาคิดแน่นอน ถึงแม้ว่าปัจจุบันความเป็นชุมชนเมืองจะขยายตัวออกไปมากแล้ว แต่ในยุคหนึ่ง ถนนหลายๆ เส้นก็ถูกสร้างจากใจกลางเมือง มาสุดขอบที่ถนนวงแหวนสายนี้ครับ
เอาจริงๆ ถ้าเรารู้สึกว่าบ้านที่เราอยู่นั้น “เข้าเมืองสะดวก” ก็น่าจะบอกได้กลายๆ ว่าเราอยู่นอกเมืองแล้วล่ะครับ ฮ่าๆๆ
เพื่อให้แน่ใจว่าเราไม่ได้คิดไปเอง เราขอยกตัวอย่างที่เห็นชัดๆ ก็คือ “ทางด่วนขั้นที่ 2” หรือ “ทางพิเศษศรีรัช” ทางด่วนสายนี้แบ่งออกเป็นส่วน A B C และ D ครับ
1
⏺️ ส่วน A – เริ่มจากถนนรัชดาภิเษกบริเวณประชาชื่น ผ่านแยกต่างระดับพญาไทไปสิ้นสุดที่ถนนรัชดาภิเษกบริเวณด่านอโศก
⏺️ ส่วน B – แยกออกจากต่างระดับพญาไท ลงมาทางใต้ สิ้นสุดที่ทางด่วนขั้นที่ 1 ที่ต่างระดับบางโคล่
⏺️ ส่วน C – จากด่านประชาชื่น ผ่านงามวงศ์วานไปสิ้นสุดที่ถนนแจ้งวัฒนะ
⏺️ ส่วน D – จากด่านอโศก วิ่งไปตามถนนพระราม 9 สิ้นสุดที่ถนนศรีนครินทร์
1
ซึ่งจุดที่อยากให้สังเกตคือ ในส่วน A และ B จะเก็บค่าผ่านทาง 50 บาทรวมกับทางด่วนขั้นที่ 1 แต่ถ้าเราออกนอกเขตวงแหวนรัชดาภิเษกไปส่วน C และ D จะถือว่าเป็น “โครงข่ายนอกเมือง” และมีการเก็บค่าผ่านทางเพิ่มนั่นเองครับ
เห็นไหมครับว่าแม้กระทั่งระบบทางด่วน ก็ยังถือว่าพ้นแนววงแหวนรัชดาภิเษกออกไป เป็น “เขตนอกเมือง” 🤣
นอกจากจะเป็นถนนสายหลักที่วนรอบเมืองแล้ว รถไฟฟ้าสายที่วิ่งวนรอบเมือง ก็มีแนวเส้นทางส่วนใหญ่อยู่บนถนนสายนี้ 🚇🚊
ถนนวงแหวนรัชดาภิเษก ยังเป็นแนวเส้นทางของรถไฟฟ้าหนึ่งในเส้นทางสายหลักของกรุงเทพฯ อย่าง “รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน” ซึ่งเป้นสายที่มีลักษณะวนรอบเมือง เช่นเดียวกันกับถนนรัชดาภิเษก แต่ในส่วนของรถไฟฟ้าจะมีการ “ลัดวง” ในบางส่วน ไม่ได้วิ่งไปตามแนวถนนรัชดาภิเษกตลอดสายครับ
โดยรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน มีสถานีที่อยู่บนถนนวงแหวนรัชดาภิเษกถึง 16 สถานี
1
ในอนาคตนอกจากรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินแล้ว ส่วนใต้ของวงแหวนรัชดาภิเษก ช่วงท่าพระ-สะพานพระราม 9 ยังจะเป็นแนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีเทาอีกด้วย แต่โครงการยังเป็นแค่แผนงาน ยังไม่รู้ว่าจะสร้างจริงๆ เมื่อไหร่นะครับ 😰
ถนนรัชดาภิเษกมีจุดตัดกับรถไฟฟ้าถึง 12 สาย
และด้วยความที่วงแหวนรัชดาภิเษกเป็นถนนรอบเมือง ก็เลยเป็นเหมือนกำแพงเมืองที่รถไฟฟ้าทุกสายที่วิ่งเข้าใจกลางกรุงเทพฯ จะต้องผ่านถนนสายนี้ก่อน ทำให้ถนนรัชดาภิเษกมีจุดตัดกับรถไฟฟ้าถึง 12 สาย (จากทั้งหมด 14 สายที่มีในแผนแม่บทรถไฟฟ้า)
1
ถ้าไม่นับสายสีน้ำเงินที่วิ่งทับอยู่บนถนนรัชดาภิเษก เราลองไล่ดูจากทิศเหนือตามเข็มนาฬิกาก็จะมีสถานีจุดตัดดังนี้ครับ
  • สถานีวงศ์สว่าง ตัดกับสายสีม่วง
  • สถานีจตุจักร ตัดกับสายสีแดงเข้ม
  • สถานีรัชโยธิน ตัดกับสายสีเขียวสุขุมวิท
  • สถานีลาดพร้าว ตัดกับสายสีเหลือง*
  • สถานีศูนย์วัฒนธรรม ตัดกับสายสีส้ม*
  • สถานีมักกะสัน ตัดกับแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และสายสีแดงอ่อน*
  • สถานีอโศก ตัดกับสายสีเขียวสุขุมวิท
  • สถานีพระราม 4 ตัดกับสายสีเทา*
  • สถานีรัชดา-นราธิวาส ตัดกับสายสีเทา*
  • สถานีสะพานพระราม 9 ตัดกับสายสีเทา*
  • สถานีสำเหร่ ตัดกับสายสีม่วง*
  • สถานีตลาดพลู ตัดกับสายเขียวสีลม และสีแดงเข้ม*
  • สถานีท่าพระ ตัดกับสายสีน้ำเงิน (สายที่ไปทางบางแค)
  • สถานีบางขุนนนท์ ตัดกับสายสีแดงอ่อน* และสายสีส้ม*
  • สถานีบางกรวย-กฟผ. ตัดกับสายสีแดงอ่อน*
1
*กำลังก่อสร้าง/แผนในอนาคต
🚧เกร็ดความรู้ ทำไมรถไฟบางสายถึงมุดลงใต้ดินเมื่อเข้ามาใกล้ใจกลางเมือง?
เรื่องนี้ต้องย้อนไปถึงมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2537 หรือเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้วครับ ตอนนั้นได้มีการพิจารณาเรื่อง “พื้นที่ที่ควรกำหนดให้ระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า) เป็นระบบใต้ดิน” โดยมีข้อสรุปคร่าวๆ ประมาณนี้ฮะ
1
⛔ โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ส่วนกลาง 25 ตารางกิโลเมตร “ต้องสร้างเป็นระบบใต้ดิน”
⚠️ โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่วงแหวนรอบใน (รัชดาภิเษก) 87 ตารางกิโลเมตร “ควรเป็นระบบใต้ดิน”
แต่ในส่วนของรถไฟฟ้า BTS นั้นได้มีการเซ็นสัญญาสัมปทานไปเมื่อปี 2535 ก่อนมตินี้จะออก ดังนั้นก็เลยสามารถสร้างเป็นแบบยกระดับหรือลอยฟ้าได้ตามแผนเดิมครับ
1
แล้วทำไมรถไฟฟ้าบางสายที่สร้างทีหลังปี 2537 และอยู่ในพื้นที่สีแดง ถึงได้สร้างเป็นยกระดับได้ล่ะ?
อันนี้ก็เป็นเรื่องตลกเล็กๆ เรื่องนึงเหมือนกันครับ คือประมาณว่า “มติ ครม. สั่งห้ามได้ ก็ยกเว้นได้” เพราะรถไฟฟ้าที่สร้างในเขตที่บอกว่าจะต้องทำเป็นใต้ดิน แต่ไม่อยากสร้างเป็นใต้ดินด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ก็สามารถขอยกเว้นได้อยู่ดี
1
  • โครงการ Airport Rail Link ได้รับการยกเว้นเมื่อปี 2547
  • โครงการสายสีทอง ได้รับยกเว้นเมื่อปี 2560
3
ดังนั้นส่วนตัวก็คิดว่ามติ ครม. เรื่องพื้นที่สีเหลืองสีแดงอันนี้ก็รู้เอาไว้เล่าให้เพื่อนฟังพอครับ ยึดถือเอาจริงจังไม่ได้ 5555+
อ่านเพิ่มเติม: เพจ BKKTrains www.facebook.com/bkktrains/posts/2586485941474505
ศุภาลัย ลอฟท์ รัชดาฯ – วงศ์สว่าง คอนโดที่ติดถนนใหญ่อย่างรัชดา ไม่ไกลรถไฟฟ้า ในราคาเริ่มต้นแค่ 1.7 ล้านบาท!!
มาถึงตรงนี้หลายคนน่าจะพอเห็นภาพแล้วล่ะว่าถนนรัชดาเนี่ยก็เป็นหนึ่งในถนนสายสำคัญของกทม. เป็นวงแหวนรอบที่หนึ่งเชื่อมต่อย่านต่างๆ เยอะมาก ก็ขอตัดเข้าสู่ช่วงของผู้สนับสนุนเลยละกันครับ 😛 โดยโครงการจะตั้งอยู่บนถนนรัชดาช่วงใกล้แยกวงศ์สว่าง ห่างจากสถานี MRT วงศ์สว่าง 850 เมตร
1
ซึ่งถ้าเทียบกันกับรัชดาช่วงอื่น จะเห็นได้ว่าตรงนี้ไม่ใช่ย่านที่เจริญที่สุดหรือเป็น CBD ของถนนรัชดาฮะ
อ้าวว!!?
แต่นี่ก็คือจุดแข็งของโครงการเลย เอ๊ะยังไง?? ก็ต้องบอกว่าโครงการนี้ “มาในราคาน่ารักที่จับต้องได้จริง สำหรับคนอยากมีที่อยู่ใกล้เมือง”
1
เพราะหากมองหาคอนโดระดับราคา 1-3 ล้านบาท จะได้อยู่แถวไหน?? ถ้าไม่ทำเลไกลออกไป ก็ต้องเข้าไปในซอย แต่สำหรับจุดเด่นโครงการนี้คือ “อยู่ติดรัชดา ในราคาเหมือนอยู่ในซอย” ครับ เหมือนเป็นการขยับออกมานิด แต่ไม่ต้องเข้าซอย ได้อยู่บนถนนหลักช่วงที่ยังใกล้ใจกลางเมืองอยู่ กับราคาประมาณ 5-6 หมื่นบาทต่อตารางเมตร เริ่มต้นล้านปลายๆ ได้ห้องใหญ่
ซึ่งราคานี้ถ้าว่ากันตรงๆ ก็หาได้ค่อนข้างยากแล้วกับคอนโดติดถนนใหญ่ ในทำเลที่ก็ถือว่ายังอยู่ในเมืองครับ
จุดเด่นราคาของที่นี่
  • ห้องเริ่มต้น 28 ตารางเมตร 1.7 ล้านบาท
  • ห้อง 1 Bedroom ได้ห้องใหญ่ 35 ตารางเมตรเลย ราคาประมาณ 2 ล้านต้น – 2 ล้านกลางๆ
  • ห้องเกือบทั้งโครงการ (85%) ราคาไม่ถึง 3 ล้าน
  • แม้แต่ห้อง 2 ห้องนอน 48 กว่าตร.ม. ก็ยังมีห้องราคาต่ำกว่า 3 ล้านเช่นกัน
  • ราคาเฉลี่ยทั้งโครงการ 65,000 บาท/ตารางเมตร
ซึ่งพออยู่บนถนนรัชดาช่วงนี้ ก็จะสะดวกสำหรับใครที่อาจจะมีที่ทำงานอยู่ในโซนรัชโยธิน/วิภาวดี/รัชดา-ลาดพร้าว รวมไปถึงย่านหมอชิต/บางซื่อ หรือถ้าจะเข้าไปในเมืองก็ยังสามารถไปได้จากทางขึ้นทางด่วนศรีรัชที่อยู่ถัดจากโครงการไปประมาณ 1-2 กิโลครับ และข้อดีของทำเลตรงนี้คือจะยังใกล้กับรถไฟฟ้าสายสีม่วง เป็นทางเลือกในการเดินทางอีกทางนึงครับ
ซึ่งระยะห่างจากสถานีวงศ์สว่างประมาณ 850 เมตร สำหรับใครที่ไม่อยากเดิน ทางโครงการก็มีรถ Shuttle Service บริการรับส่งครับ
สถานที่ใกล้โครงการได้แก่
  • Major รัชโยธิน
  • Central ลาดพร้าว
  • Union Mall
  • BigC วงศ์สว่าง
  • Gateway บางซื่อ
  • สวนจตุจักร, สวนรถไฟ และสวนสมเด็จฯ
  • สถานีกลางบางซื่อ
  • สำนักงานใหญ่ SCG บางซื่อ
  • SCB Park
  • Energy Complex (ปตท.)
  • รัฐสภาใหม่
นอกจากราคาน่ารัก ส่วนกลางก็ให้มาแน่นครับ
โดยส่วนกลางหลักของที่นี่จะถูกยกมาไว้ที่ชั้นดาดฟ้า ชมวิวเมืองได้รอบทิศ โดยแต่ละตึกก็จะมี Facility ที่แตกต่างกันออกไปครับ
ตึก C : อยู่ด้านหน้าสุด สำหรับชีวิตเร่งรีบ ส่วนกลางเน้นเอาใจคนทำงาน
- Cloud Working Space ห้องทำงานพร้อมห้องประชุม
ตึก B : ตึกกลางเน้นการใช้ชีวิตและสุขภาพ
- Cloud-Living Space ห้องนั่งพักผ่อนพร้อมชมวิวเมือง
- Sky Fitness
- Backyard Garden แปลงปลูกผักสวนครัว
ตึก A : ตึกในสุด เน้นส่วนกลางสำหรับครอบครัว
- Infinity Edge Pool สระว่ายน้ำยกลอยขึ้นมาสำหรับดูวิวพร้อมสระเด็ก
- สนามเด็กเล่น
นอกจากนี้ก็จะมี Jogging Track และสะพานเชื่อมแต่ละตึก ให้สามารถมาใช้งานส่วนกลางร่วมกันได้ฮะ
อีกจุดเด่นของศุภาลัยที่หลายๆ คนคุ้นเคย คือจะได้ห้องที่ขนาดค่อนข้างใหญ่ครับ
อย่างที่นี่เริ่มต้นที่ 28 ตารางเมตร ส่วนห้อง 1 Bedroom ของที่นี่ก็จะให้มาไซส์ 35 ตารางเมตรเลย ซึ่งก็จะมีการจัดพื้นที่ให้ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น ด้วยการใส่มุมเอนกประสงค์ หรือ Favorite Corner มาให้ด้วย ทำให้ห้อง 1 Bedroom ขนาด 35 ตารางเมตรของที่นี่มีพื้นที่สำหรับใช้เป็นห้องทำงาน/ห้องนอนเล็ก/ห้องพักผ่อน หรือห้องสำหรับงานอดิเรกได้
และถึงจะเป็นคอนโดราคา 1-3 ล้าน แต่ Spec ในห้องก็ให้มาเต็มที่ครับ เช่น
  • เพดานสูง 2.7 เมตร
  • ชุดครัวครบพร้อมเตาและเครื่องดูดควันแบบดูดออกนอกห้อง
  • ห้องน้ำพร้อมฉากกั้นอาบน้ำ + rain shower
  • ติดวอลเปเปอร์ให้ภายในห้อง
  • ให้ digital door lock
ซึ่งแปลนห้องของที่นี่ก็มีให้เลือกกว่า 10 แบบเลยครับ ตั้งแต่ห้อง Studio 28 ตารางเมตร ไปจนถึงห้อง 2 ห้องนอนขนาด 64.5 ตารางเมตร และเป็นครั้งแรกที่ศุภาลัยทำห้อง Loft เพดานสูง 2 ชั้นด้วย
ใครที่สนใจ โครงการเปิดให้จองแล้วนะครับ สามารถเข้าไปชมห้องตัวอย่างได้แล้วที่ Sales Gallery ของทางโครงการ โดยจะอยู่บนที่ดินของโครงการเลยครับ
สำหรับข้อมูลโครงการเพิ่มเติม/ลงทะเบียนรับส่วนลด สามารถดูได้ที่นี่ หรือโทร 1720 ครับ https://bit.ly/3n7ajnm
ช่วง Presale มีของแถมเป็นฟรีเฟอร์นิเจอร์ทั้งห้องพร้อมส่วนลด หรือถ้าไม่ต้องการเฟอร์ก็เปลี่ยนเป็นส่วนลดเพิ่มได้อีกด้วยนะครับ
ส่วนใครที่อยากรู้จักโครงการนี้เพิ่มเติม LivingPop ได้เข้าไปรีวิวโครงการนี้มาแล้วนะ สามารถอ่าน “รีวิวเจาะลึก” ศุภาลัย ลอฟท์ รัชดาฯ – วงศ์สว่าง แบบละเอียดๆ ได้จากที่นี่ครับผม
โฆษณา