20 ม.ค. 2022 เวลา 16:00 • การศึกษา
กฎของเคอร์ชอฟฟ์(Kirchoff's Laws) (2)
จากบทความที่แล้วผมได้อธิบาย Kirchoff's Voltage Laws(KVL) ไปแล้ว
ในบทความนี้เราจะอธิบายกฎของ Kirchoff's Current Laws (KCL) ต่อนะครับ
ผมขออธิบายกฎของ Kirchhoff's Current Laws สั้นๆว่า "ที่ node ใดๆของวงจร กระแสไหลเข้าจะเท่ากับกระแสไหลออก"
Node คืออะไร?
ความหมาย node ในที่นี้คือจุดในวงจรที่ทำให้กระแสไฟฟ้าถูกแบ่งออกไป
จากรูปตัวอย่างข้างบน จะได้ว่า node  ในวงจรจะมีทั้งหมด 4 node ได้แก่ node A,B,C และ D
วิธีการใช้ KCL
1. เราควรจะรู้ก่อนว่าต้องการหาอะไรในวงจร ในกรณีนี้ขอกำหนดให้ต้องการหากระแสไฟฟ้ารวมในวงจร (I) ครับ
2. ให้เลือก node ในวงจรที่สนใจและสอดคล้องกับตัวแปรที่เราต้องการหา ในที่นี้คือให้พิจารณาที่ node A ก่อน
3. ให้ใช้กฎ KCL ได้เลย
-กระแสไหลเข้า node A คือ I
-กระแสไหลออก node A คือ I1 และ I2
-สามารถเขียนสมการได้ดังนี้
จากสมการด้านบนเราจำเป็นต้องหา I2 ต่อ โดยหาได้จากใช้กฎ KCL ที่ node B
-กระแสไหลเข้า node B คือ I2
-กระแสไหลออก node B คือ I3 และ I4
-สามารถเขียนสมการได้ดังนี้
จากนั้นเราสามารถแทนสมการได้เลย
ซึ่งนี้ก็คือวิธีการคร่าวๆในการใช้กฎของเคอร์ชอฟฟ์ครับ ในบทความถัดไปเราจะลองนำกฎนี้ไปใช้กับวงจรที่ซับซ้อนดูครับ
หากผู้อ่านมีข้อสงสัยอะไรสามารถถามได้เลยครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา