20 ม.ค. 2022 เวลา 12:29 • การศึกษา
กฎของเคอร์ชอฟฟ์(Kirchoff's Laws) (1)
ในบทความนี้จะอธิบายถึงกฎของเคอร์ชอฟฟ์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกฎที่มีความสำคัญมากในเรื่องไฟฟ้า โดยกฎของเคอร์ชอฟฟ์ผมขอแบ่งออกเป็น 2 ประเภทนั่นก็คือ Kirchhoff's Voltage Law(KVL) และ Kirchhoff's Current Law(KCL)
  • Kirchhoff's Voltage Law(KVL)
ผมขออธิบายกฎของ Kirchoff's Voltage Law แบบสั้นๆว่า "ผลรวมความต่างศักย์ของวงจรที่ครบลูปจะต้องได้ 0V "
ผมจะขอยกตัวอย่างและอธิบายขั้นตอนการใช้กฎ KVL ตามนี้ครับ
1. กำหนดทิศทางกระแสของลูปก่อน โดยตัวอย่างนี้จะให้กระแสวนตามเข็มนาฬิกา
2.ให้เรากำหนดเครื่องหมาย + และเครื่องหมาย - ให้กับอุปกรณ์ทุกๆตัวในวงจรก่อน โดยให้เราคำนึงว่ากระแสไฟจะวิ่งจากศักย์ไฟฟ้าสูงไปหาศักย์ไฟฟ้าต่ำ เพราะฉะนั้นผมจึงขอกำหนดให้ฝั่งของตัวต้านทานที่กระแสไฟผ่านเป็นเครื่องหมายบวกและอีกฝั่งเป็นเครื่องหมายลบดังรูปตัวอย่างครับ
3. ให้เรากำหนดจุดเริ่มต้นซักจุดซึ่งจะเป็นจุดไหนของวงจรก็ได้ ในที่นี้กำหนดให้จุด A เป็นจุดเริ่มต้น
4.ให้เริ่มใช้กฎของ KVL ได้เลยโดยเริ่มจากจุดเริ่มต้นและวนไล่ตามทิศทางของกระแส
จากตัวอย่างเราจะได้ว่าผลรวมความต่างศักย์ตัวต้านทานและแหล่งจ่ายไฟฟ้าต้องเท่ากับ 0
5. ให้ดูว่ากระแสไฟที่ผ่านอุปกรณ์ในวงจรเจอเครื่องหมายอะไร ถ้าเจอ + ให้ใส่ + หน้าความต่างศักย์, ถ้าเจอ - ให้ใส่ลบ หน้าความต่างศักย์
6. จากนั้นเราสามารถใช้กฎของโอห์มมาแก้สมการได้เลย
การใช้กฎของเคอร์ชอฟฟ์จะใช้ในวงจรที่มักจะซับซ้อน ซึ่งผมจะยกตัวอย่างในบทความถัดๆไป
ในบทความถัดไปผมจะอธิบายถึงการใช้กฎ Kirchhoff's Current Law
หากผู้อ่านมีข้อสงสัยอะไรสามารถถามได้เลยครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา