21 ม.ค. 2022 เวลา 04:18 • การศึกษา
ประเทศไทยกำลังปรับตัวเข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุ (Aged -society)
โดยในช่วงปี 2505-2525 เป็นช่วงที่มีประชากรไทยเกิดใหม่เกิน 1 ล้านคน ซึ่งในปี 2565 จะเป็นปีที่คนที่เกิดในปี 2505 กำลังอายุครบ 60 ปี
ประกอบกับอัตราการตายที่ต่ำกว่าอัตราการเกิดใหม่ เช่น ปี 2562 อัตราการตายอยู่ที่ 0.78% ส่วนอัตราการเกิดใหม่อยู่ที่ 1.0%
ซึ่งในปี 2563 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ หรือคนที่อายุมากกว่า 60 ปี สูงถึง 11 ล้านคน หรือประมาณ 18%
โดยในปี 2573 และ 2583 คาดว่าประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุมากถึง 25% และมากกว่า 30% ตามลำดับ
อีกทั้งอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุของประเทศไทยถูกจัดลำดับอยู่ในลำดับ 3 ของโลก
ทำให้อนาคตภาพการใช้สถานพยาบาลของไทยอาจเปลี่ยนไป เช่น จากเดิมปัจจุบันอาจเห็นรุ่นลูกวัยกลางคนพาคุณพ่อวัย 65 ปีไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาล กลายเป็นว่าอาจเห็นคุณปู่วัย 90 ปี ไปโรงพยาบาลเป็นเพื่อนกันกับคุณพ่อวัย 65 ปี เพื่อตรวจสุขภาพแทนก็ได้
ซึ่งการให้บริการผู้สูงอายุมักต้องใช้บุคลากรทางการแพทย์มากกว่าคนหนุ่มสาวถึง 3-4 เท่าเลย
• สรุปจากเงินทองต้องวางแผน •
 
💥ผลกระทบของสังคมผู้สูงวัย
✏อัตราดอกเบี้ยต่ำ เพราะคนสูงวัยมักออมเงินในธนาคาร และตราสารหนี้ ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ
✏เงินเฟ้อค่ารักษาพยาบาลประเทศไทยอยู่ที่ 7-8%ต่อปี เรียกว่า 10 ปี ค่ารักษาพยาบาลจะแพงขึ้นเป็น 2 เท่า ในอนาคต รัฐไม่มีกำลังดูแลผู้สูงวัยได้อย่างทั่วถึงแน่นอน เพราะประชากรที่เสียภาษี (วัยทำงาน)มีน้อยลง
✏สถานพยาบาลและบุคคลากรทางการแพทย์อาจไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้สูงวัย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา