21 ม.ค. 2022 เวลา 11:16 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
สรุปโครงการอวกาศน่าจับตามองในปี 2022
ปี 2021 ที่ผ่านมานับว่าเป็นปีที่น่าตื่นเต้นของภารกิจอวกาศปีหนึ่งตั้งแต่ต้นปีจนถึงปลายปี ได้มีโครงการในระดับ Suborbital จนถึง Orbital เกิดขึ้นมากมาย รวมถึงก็มีภาคเอกชนเข้ามาร่วมเล่นด้วยกันอย่างคึกคัก ไม่ว่าจะเป็น SpaceX ที่ได้สร้าง Inspiration4 ภารกิจ Private Orbital Flight ครั้งแรกของโลก Blue Origin และ Virgin Galactic ที่ส่งนักท่องเที่ยวขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ ยังได้มีการลงจอดของ Mars 2020 เป็นโรเวอร์คันใหม่ล่าสุดสู่ดาวอังคาร (รวมไปถึง Ingenuity เป็นเฮลิคอปเตอร์ลำแรกบนดาวอังคาร) ได้มีการปล่อยจรวดจำนวนมากมายตากทั้งฝั่งรัฐและเอกชน ไปจนถึงการปล่อย James Webb Space Telescope หลังจากเลื่อนมานานนับ 10 ปี
1
จากความน่าตื่นเต้นที่ผ่านมาในปี 2021 เรามาลองดูไฮไลท์ที่น่าจับตามองของโครงการอวกาศในปี 2022 กันดีกว่า!
Artemis I
SLS กับภารกิจ Artemis I แน่นอนว่าเป็นภารกิจที่ทุกคนต่างเฝ้ารอการปล่อยมาตั้งแต่ปี 2021 ซึ่งถูกเลื่อนแล้วเลื่อนอีก แต่หลังจากประกอบใน Vehical Assemble Building เสร็จไปแล้วก็เหลืออีกไม่กี่ขั้นตอนก่อนที่จะพา SLS ลำนี้ไปที่ฐานส่ง Launch Complex 39B กันแล้ว และถ้าไม่เลื่อนอีกก็อาจได้เห็นมันบินขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม รวมทั้งการส่งยานสำรวจไปดวงจันทร์ในภารกิจอื่น ๆ ที่เป็นการสำรวจทางธรณีกันเป็นส่วนใหญ่จากการจ้างบริษัทเอกชนต่าง ๆ
จรวด SLS ที่จะใช้ในภารกิจ Artemis I ที่มา – NASA
Orbital Starship
Starship Orbital Flight Test ก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งภารกิจที่สำคัญต่อทั้ง SpaceX และ Human Landing System ในโครงการ Artemis เช่นกัน เพราะนอกจากการส่งยานขึ้นอวกาศให้ได้แล้วก็ยังต้องพัฒนาระบบเติมเชื้อเพลิงกันบวงโคจรอีก และเนื่องด้วยปัญหา ข้อพิพาท HLS จึงทำให้การพามนุษย์กลับไปลงจอดบนดวงจันทร์ถูกเลื่อนออกไปปี 2025 และเราอาจได้เห็นภารกิจขึ้นวงโคจรอื่น ๆ ของ Starship กันอีกด้วยเพราะมีทั้งยานและบูสเตอร์อีกหลายลำที่ตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการประกอบเช่นกัน
การกลับมาของ Falcon Heavy
หลังจากที่เราไม่ได้เห็นมันเลยในปีนี้ ในปีหน้านี้เราอาจได้เห็นมันกลับมามากถึง 6 ภารกิจด้วยกัน โดย 3 ภารกิจจะเป็นภารกิจของทางกองทัพอวกาศสหรัฐฯ และอีก 1 ภารกิจที่เป็นภารกิจสำรวจในโครงการ Discovery ของ NASA
จรวด Falcon Heavy ที่มา – SpaceX
การบินครั้งแรกของ Terran 1
สำหรับในตอนนี้ ตัว Terran 1 ยังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบและการประกอบ แต่ทาง Relativity Space ก็ได้วางแผนไว้ว่าจะเริ่มทดสอบในปี 2022 และการเปิดรับลูกค้าที่อยู่ใน List ที่ยาวเหยียดซึ่งแน่นอนว่าก็มีลูกค้าชาวไทยไปจองเที่ยวบินไว้ด้วยนะ
การขึ้นบินครั้งแรกของจรวด H3 ของญี่ปุ่น
ตัวจรวด H3 ถือว่าเป็นจรวดระดับ Flagship ของทางญี่ปุ่นที่จะขึ้นมาแทนจรวดรุ่นก่อนหน้าอย่างจรวดตระกูล H-II/A/B โดยเที่ยวบินแรกนั้นจะเป็นจรวดรุ่น H3-22S ซึ่งเป็นรุ่นที่ติดตั้งบูสเตอร์เชื้อเพลิงแข็ง 2 ท่อน เครื่องยนต์หลักที่ท่อนแรก 2 เครื่องและเป็น Fairing ครอบ Payload แบบ S ซึ่งมีเล็ก เท่ากับว่าจรวดตระกูล H-II ก็ใกล้มาถึงปลายทางของพวกมันเพื่อเตรียมส่งไม้ต่อให้กับ H3 กันแล้ว
Core Stage ของจรวด H3 ที่มา – JAXA
Vulcan Centaur
Vulcan Centaur ที่อาจได้เห็นหรืออาจจะไม่ในปี 2022 เนื่องด้วยทาง Blue Origin จัดสรรงบประมาณพัฒนาจรวดระดับ Next-Generation ของตัวเองได้ไม่ดีนัก ทำให้เกิดปัญหาในการพัฒนาเครื่องยนต์ BE-4 ที่เกิดความล่าช้าเลื่อนแล้วเลื่อนอีก กระทบทั้ง New Glenn ของตัวเองและ Vulcan ของ ULA ทำให้มีความไม่แน่นอนว่าเราจะได้เห็น Vulcan Centaur ได้บินภายในปี 2022 กันหรือไม่ ส่วนตัวท่อนบูสเตอร์ของ Vulcan ก็ได้ทดสอบ Cryogenic Test กันไปได้ซักพักใหญ่ ๆ แล้วประกอบกับการทดสอบถังเชื้อเพลิงท่อน Centaur V ก็เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จดี ตอนนี้เลยยังรอเครื่องยนต์ BE-4 กันอยู่ (ฮา)
Core Stage ของ Vulcan ขณะอยู่ใน Spaceflight Processing Operations Center (SPOC) ที่มา – Tory Bruno
โฆษณา