24 ม.ค. 2022 เวลา 13:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ทำไม "สมอง" ถึงรู้สึกว่า "เดือนมกราคม" ยาวนานกว่าปกติ
3
นี่ยังไม่หมดเดือนมกราคมอีกหรอ ทำไมหลาย ๆ คนถึงรู้สึกว่าเดือนนี้มันยาวนานจัง วันนี้ The Columnist มีคำตอบด้านวิทยาศาสตร์มาอธิบายกันครับ
โดยเมื่อเราพูดถึงเรื่องเวลา เราอาจจะต้องแบ่งเวลาออกเป็น 2 แบบ นั่นคือเวลาทางกายภาพที่เดินเท่ากันตลอด กับเวลาทางด้านจิตใจซึ่งแปรผันตามการรับรู้ของแต่ละคน
นั่นหมายความว่า แม้จะมีเวลาเท่ากัน แต่เราต่างรับรู้เวลาต่างกัน เช่น 1 ชั่วโมงสำหรับนาย A อาจจะยาวนานมาก แต่สำหรับนาย B อาจจะสั้นแค่นิดเดียว
การรับรู้เวลาที่ต่างกันตรงนี้แหละครับที่ทำให้เรารู้สึกว่าเดือนมกราคมนั้นช่างยาวนานเหลือเกิน ว่าแต่ทำไมเราถึงรู้สึกว่าเดือนมกราคมยาวนานอยู่เดือนเดียวล่ะครับ ทั้งที่ตอนธันวาคมก็มี 31 วันเหมือนกัน
งานวิจัยเรื่องการรับรู้เวลาพบว่าช่วงเวลาไหนที่เรามีความสุข ชิล ๆ ไม่ต้องคิดมาก เราจะรู้สึกว่าเวลาผ่านไปเร็วครับ ในทางกลับกันหากช่วงไหนเราทุกข์ กลัว วิตกกังวล เราจะรู้สึกว่าเวลาผ่านไปช้ามาก ซึ่งเป็นผลมาจากระดับสารสื่อประสาทโดปามีนที่ต่างกัน และการทำงานของสมองในส่วน
Striatum ครับ
นี่จึงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมหลายคนรู้สึกกว่าเวลาแห่งความสุขมักผ่านไปเร็วเสมอ หรือเวลาไปดูหนังสยองขวัญแล้วรู้สึกว่าหนังจบช้ามาก หรือคนที่เคยประสบอุบัติเหตุเล่าว่าเวลาที่เกิดอุบัติเหตุแล้วรู้สึกเหมือนภาพสโลช้ากว่าปกติ
ตัดกลับมาที่เดือนมกราคมและธันวาคมอีกครั้งครับ แม้ทั้ง 2 เดือนจะมี 31 วันเท่ากัน แต่จะเห็นได้ว่าเดือนธันวาคมมีวันหยุดเยอะ เป็นช่วงปลายปี มีเทศกาลและงานรื่นเริงรออยู่ จึงทำให้แฮปปี้มีความสุขจนรู้สึกว่าเวลาผ่านไปเร็ว ต่างจากเดือนมกราคมที่ต้องโบกมือลาวันหยุดยาวแล้วกลับไปทำงาน แถมเป็นเดือนที่ไม่ค่อยมีวันหยุดอีก เลยทำให้รู้สึกเบื่อ เซ็ง ไม่มีความสุก จนรู้สึกว่าเวลาผ่านไปช้านั่นเองครับ
ถ้าช่วงนี้ใครยังรู้สึกว่าเดือนมกราคมยาวนานและน่าเบื่อ ให้ลองหาอะไรสนุก ๆ ตื่นเต้นทำดู อาจจะรู้สึกว่าเวลาผ่านไปเร็วกว่าเดิม หรือไม่ก็อาจจะลองจิบกาแฟมากขึ้น เพราะมีงานวิจัยพบว่าคาเฟอีนช่วยทำให้เรารู้สึกว่าเวลาผ่านไปเร็วมากกว่าเดิมเช่นกันครับ
The Columnist มีแอคเคาท์ที่ Blockdit ด้วยนะครับ: https://www.blockdit.com/enterprise.lab
โฆษณา