26 ม.ค. 2022 เวลา 12:08 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ECONOMY : เศรษฐศาสตร์มหภาค 2 สำนัก ! Austrian ซึ่งสนับสนุน Defi, Free Market และ Keynesian หรือการผสมผสาน Cefi และ Defi แบบไหนที่สามารถใช้ได้ในโลกแห่งความเป็นจริง ?
1
หลายคนเริ่มพูดถึงเศรษฐศาสตร์แบบ Austrian ซึ่งมีความเชื่อเกี่ยวกับ Decentralised, Free Market, และการมีปริมาณเงินที่จำกัดในระบบ (อย่างเช่น ทองคำและ Bitcoin) ดังนั้นวันนี้ World Maker จึงมี 1 ประเด็นสำคัญจะมาเล่าให้ฟังครับ
2
ก่อนอื่นเราขอเริ่มด้วยการตั้งคำถามว่า : แนวคิดแบบตลาดเสรีหรือ Free Market นั้นสามารถใช้ได้ในโลกแห่งความเป็นจริงที่มนุษย์มีความไม่เท่าเทียมกันทางร่างกาย, เพศ, มันสมอง และความสามารถ หรือไม่ ?
และหากใช้แนวคิดแบบตลาดเสรี ซึ่งไร้การควบคุมจากส่วนกลาง ไร้กฏเกณฑ์หมู่ จะทำให้เกิดการผูกขาดอย่างแท้จริงจากธุรกิจรายใหญ่หรือไม่ ? ทุนเยอะกว่า ถือครองทรัพยากรมากกว่า อำนาจสูงกว่า ต้นทุนถูกกว่า กำหนดภาษี-ดอกเบี้ยได้ดีกว่า ขยายตัวได้ดีกว่า แล้วรายเล็กจะแข่งขันได้อย่างไร ? ในเมื่อไม่มีคนกลางมาตั้งกฏหมายว่าแบบไหนที่ยุติธรรม
นอกจากนี้ เศรษฐศาสตร์ Austrian กล่าวว่าเงินควรเป็นอะไรที่จำกัด และมีความมั่นคง ซึ่งเรื่องนี้ World Maker ขอย้อนกลับไปตอนใช้มาตรฐานทองคำ (Gold Standard) โดยกำหนดให้ประเทศทั่วโลกต้องนำเงินไปผูกไว้กับสิ่งของมีค่าที่มีอยู่อย่างจำกัด (ตอนนั้นคือทองคำ) และสามารถพิมพ์เงินได้เท่ากับที่ปริมาณถือทองคำอยู่เท่านั้น
ผลจากการใช้ Gold Standard ในโลกแห่งความเป็นจริงคือ คนรวยกว่าหรือฉลาดกว่าสามารถหาเงินเข้ากระเป๋าตัวเองได้มากกว่า ขณะที่คนจนมีแต่จนลง และเมื่อกระแสเงินส่วนใหญ่ไหลเข้ามือคนรวยไปเรื่อย ๆ จนถึงจุดหนึ่ง ผลที่ตามก็คือการวิกฤตขาดสภาพคล่องอย่างหนัก เนื่องจากคนจนซึ่งเป็นฐานล่างไม่มีเงินใช้ ส่วนคนรวยก็ไม่อยากใช้เงินของตัวเองในตอนวิกฤต ขณะที่เงินก็พิมพ์ขึ้นมาใหม่ไม่ได้
1
ดังนั้น สหรัฐฯ จึงตัดสินใจยกเลิกระบบ Gold Standard และทำให้พิมพ์ดอลลาร์ได้อย่างไม่จำกัด และนั่นทำให้เศรษฐกิจสามารถเดินต่อได้ ขณะที่ทองคำก็กลายเป็นสินทรัพย์เพื่อการลงทุนและเก็งกำไรแทน แต่ไม่ใช่สินทรัพย์ที่จะนำมาเป็นตัวเงิน หรือเป็นระบบ Backup เงินของโลก ซึ่งเป็นจุดที่ชี้ให้เห็นแล้วว่าในการบริหารเศรษฐกิจและการเงินในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น เราไม่สามารถใช้แนวคิดแบบ Austrian ได้
มันจึงยากมาก (เรียกว่าเป็นไปไม่ได้เลยก็ว่าได้) ที่โลกการเงินในอนาคตของเราจะกลายเป็น Bitcoin Standard เพราะหากเป็นแบบนั้นก็จะเหมือนการย้อนกลับไปในอดีตที่ใช้ Gold Standard มาผูกกับตัวเงิน
1
ในโลกแห่งความเป็นจริง เราจำเป็นต้องใช้เศรษฐศาสตร์ที่มีความผสมผสานกันระหว่างภาครัฐ (ส่วนกลาง, Cefi) และเอกชน (ส่วนกระจายอำนาจ, Defi) อย่างที่โลกของเราเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้
เชื่อเถิดว่าถ้าการใช้เศรษฐศาสตร์ Austrian เพียงอย่างเดียวสามารถบริหารเศรษฐกิจและการเงินโลกได้จริง ๆ มนษุย์เราที่เป็นสัตว์มีปัญญาคงไม่เปลี่ยนจากการบริหารด้วยเศรษฐศาสตร์ Austrian มาใช้หลักการผสมผสานแบบ Keynesian หรอก เพราะสิ่งที่บรรพบุรุษมนุษยชาติของเราพัฒนาต่อ ๆ กันมานั้นคือภูมิปัญญาที่ดีที่สุดในสัญชาตญาณการเอาตัวรอดของมนุษย์แล้ว
1
เศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ หรือ Keynesian นั้นอธิบายว่ารัฐบาลหรือตัวกลาง (ธนาคารกลาง) ควรเป็นผู้ควบคุมปริมาณเงิน และกฏเกณฑ์ของระบบเศรษฐกิจ โดยมองว่าในโลกแห่งความเป็นจริงนั้นมีพลวัตแบบ Real Time ซึ่งมีความไม่แน่นอนสูงมาก และไม่ได้ทำงานอย่างราบรื่นตามแนวคิดของ Austrian ซึ่งเป็นเศรษฐศาสตร์ยุคเก่า
ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจใด ๆ ก็ตาม รัฐบาล/ตัวกลาง ควรเป็นผู้แทรกแทรงผ่านนโยบายส่วนกลางทางเศรษฐกิจ รวมถึงนโยบายทางการเงิน และการกำหนดปริมาณเงินในระบบ (QE/QT)
ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจของเศรษฐศาสตร์ยุคใหม่อย่าง Keynesian ก็คือ "ปริมาณการใช้จ่ายเงินในระบบ" ซึ่งยิ่งมีมากเท่าไหร่ เศรษฐกิจก็จะยิ่งหมุนเวียนดีขึ้น และถือว่าเงินเฟ้อนั้นไม่ใช่เรื่องสำคัญหลัก ๆ หากเศรษฐกิจยังมีสภาพคล่องที่เกิดจากการใช้จ่ายหมุนเวียนกันในระบบ (กล่าวคือไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่คำนึงถึง)
สิ่งที่เศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์มีเหมือนกับ Austrian ก็คือแนวคิดของเคนส์นั้นสามารถประยุกต์ใช้ในการควบคุมหรือลดปริมาณเงินระบบ (QT) ได้ด้วย ไม่ใช่แค่การพิมพ์เงินเข้ามาในระบบ (QE) เท่านั้น
มันจึงทำให้มนุษย์โลกของเราใช้แนวคิดเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์มาตลอดตั้งแต่ปี 1930 ที่ Gold Standard ถูกยกเลิกไป
อย่างไรก็ตาม แนวคิดของเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ มีผลกระทบคือเงินจะเสื่อมค่าในระยะยาว ซึ่งอาจแก้ไขได้โดยการดึงปริมาณเงินออกจากระบบ
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคือ โลกของเรามักจะมีการโอนถ่ายเงินส่วนใหญ่ไปเข้ากระเป๋าคนรวยอยู่เสมอ จึงทำให้วิกฤตเกือบทุกครั้งต้องเป็นการพิมพ์เงินเข้ามาในระบบ (QE) เพื่ออัดฉีดไปให้ถึงมือคนจน มากกว่าจะเป็นการดูดสภาพคล่องออกจากระบบ (QT) แต่สุดท้ายเงินก้อนใหญ่ก็จะตกไปอยู่ในมือคนรวยอีก จึงต้องทำ QE มากกว่า QT และนั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเงินถึงเสื่อมค่าในระยะยาว
1
นอกจากนี้ ผลกระทบดังกล่าวยังทำให้สินทรัพย์ที่ถูกจัดเป็น Store of Value อย่างแท้จริงนั้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะยาว (ซึ่งทองคำได้รับการยอมรับเป็น Store of Value อยู่แล้ว แต่ Bitcoin นั้นดูเหมือนจะยังต้องพิสูจน์ตัวเองในเรื่องนี้อีกมาก โดยเฉพาะในแง่ของความผันผวนของราคา)
ทั้งหมดนี้ จึงสรุปได้ว่า เราต้องแยกให้ออก ระหว่างคุณสมบัติของการเป็น "เงิน" (money) กับการเป็น Store of Value เพราะ 2 คำนี้มีความหมายแตกต่างกันอย่างมาก
ทันโลก ทันเหตุการณ์ ทันข่าวสารที่แท้จริงไปกับ World Maker
🙏 ขอบคุณทุกท่าน 🙏 ที่ติดตาม World Maker ฝากกด Like และ Share เพื่อเป็นกำลังใจและให้นักลงทุนท่านอื่นได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์เหล่านี้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ 😊
โฆษณา