27 ม.ค. 2022 เวลา 13:53 • ปรัชญา
เราเคยคงได้ยินคำว่า อารมณ์นั้นอยู่เหนือจิต จิตเราเป็นจิตเล็กๆ อาศัยอยู่ในเรือนกาย ในคำว่าอารมณ์ นั้นมันควมคุมตรงไหนบ้าง ควบคุมเราทั้งตัว เค้าถึงว่าจิตตกเป็นทาสของอารมณ์ เราก็ลองสังเกตดูได้ เวลาคนโกรธ ไม่ว่ากิริยาของกายวาจาใจ หน้าตาสายตาของคนที่กำลังโกรธนั้นเป็นอย่างไร เราก็สังเกตดูได้ เวลาคนโกรธ แม้เราจะพูดดีๆ เตือนสติ วิญญาณหูเค้าพร้อมที่จะฟังมั้ย ในบางครั้ง การที่มีเสียงเตือนไป ก็กลับทำให้โกรธมาขึ้นไปอีก เพราะเวลาคนมีอารมณ์โกรธ มันไม่ได้มีอารมณ์โกรธตัวเดียว มันไปดึงพวกพร้องมา เป็นขบวน ตัวไม่ยอม ที่มานะ สัญญาจำที่จดจำมาอีก เป็นอารมณ์ที่ไม่ดี ถ้าจะเปรียบเทียบ อารมณ์โกรธ ก็เหมือนก้อนเมฆดำทะมึน พายุฝนลมแรง นั้นพัดตกลงมาภายในกายนี้ มันพัดลมโกรธอยู่ในกายนี้ วิญญาณทั้งหก ธาตุทั้งสี่ สมองความคิดก็เป็นเหยื่อของอารมณ์เหมือนกัน เค้าจึงเรียกว่า จิตตกเป็นของอารมณ์
คราวนี้ การที่จะรู้จักอารมณ์ชัดเจนขึ้น ก็ต้องกาย มานั่งนิ่งๆ ทำจิตนิ่งๆ ไม่ต้องคิดนึกอะไร หากเราทำได้ เราก็สามารถสังเกต กระแสร้อนเย็น สังเกตเห็น สิ่งที่กดทับ น้ำหนักของอารมณ์ ที่ทับลงมาในกาย ต่อไปเราก็สังเกต การเคลื่อนไหวของตา เราบังคับสายตา หรือ ว่าสายตาเคลื่อนไหวไปตามอารมณ์ เรื่องของสมองมันเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ประกอบขึ้นมาในกาย จิตเราเป็นใหญ่ในกายก็จริง สั่งกายให้เคลือนที่ไปไหนทำอะไรได้ แต่จิตเรานั้น เหมือนรับคำสั่งมาจากอารมณ์ที่ให้ความรู้สึกนึกคิดไหลออกมาจากธาตุทั้งสี่ ที่ตนใช้วิญญาณทั้งหกไปเก็บสะสมเค้าไว้ภายในกาย แล้วเมื่อมีเหตุไปกระทบสิ่งที่พอใจไม่พอใจ สิ่งที่เก็บสะสมไว้กับธาตุทั้งสี่ นั้นก็ไหลออกมา เป็นอารมณ์ไปไฟอีกทีหนึ่ง เป็นอารมณ์ที่ฟุ้งขึ้นมาคุมทั้งกายวาจาใจ วิญญาณทั้งหกก็เป็นทาสของอารมณ์ไปด้วย สมองก็เหมือนกันก็เป็นเหยื่อของอารมณ์ไปด้วย
การประพฤติปฏิบัติธรรม เราก็จะสามารถเข้าใจ เรื่องกายนั้นส่วนหนึ่ง อารมณ์นั้นอีกส่วนหนึ่ง จิตอีกส่วนหนึ่ง รวมอยู่ในเรื่องราว ของ กาย เวทนา จิต ธรรม เค้าจึงให้ศึกษาเรื่องของกาย กายนี้มาจากไหน เรื่องราวอะไรบ้าง ประกอบกันขึ้นด้วยอะไร ใครให้มา อาศัยอยู่ในกายได้นานมั้ย ให้เราเอามาทำไม ให้ไปเอาไปสร้างกรรมหรือ สร้างทุกข์หรือ เรื่องเวทนาสุขทุกข์ของอารมณ์ เรื่องราวของจิต เรื่องของธรรมนั้น เป็นอย่างไร ถึงเรียกว่าจิตมีธรรม ..ไม่ใช่จิตมีกรรม มันจึงมีคำว่า จิตนั้นเป็นแก้ว วิญญาณทั้งหกก็เป็นแก้ว หากวิญญาณทั้งหกไม่เป็นแก้ว จิตก็เป็นแก้วไม่ได้เหมือนกัน แล้วต้องกระทำให้ได้ ในสังขารมนุษย์เท่านั้นที่อำนวยให้เท่านั้น พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ท่านก็ต้องลงมาชำระสะสางครั้งสุดท้าย เหมือนเข็ดกระจกครั้งสุดท้าย ครั้งเดียวก็ไสสะอาดหมดจดแล้ว
ถ้าเราสามารถเข้าใจเรื่องราวเหล่านี้ได้จริงๆ เราก็จะเข้าใจได้ว่า อารมณ์นั้นคือกรรม ธาตุที่เราอาศัยอยู่ก็เป็นกรรม การที่จะช่วยแก้ไขเรื่อราวเหล่านี้ ก็คือการสร้างทานบุญกุศลบารมี เพื่อที่จะแก้ไขกรรมที่อยู่กับธาตุทั้งสี่ ที่จะต้องอาศัยแสงรัตนะเข้าไปแก้ไข ละลายธาตุที่เป็นกรรม ให้เกิดเป็นธาตุของธรรม ซึ่งมันก็ต้องอาศัยการสะสมบุญกุศลบารมีกันเป็นชาติๆ หลายชาติ กว่าธาตุนั้นจะบริสุทธิ์เป็นธรรมได้
โฆษณา