1 ก.พ. 2022 เวลา 01:08 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“เงินบาท” คาดว่าจะกลับมาแข็งค่าขึ้นในปีนี้
1
ท่ามกลางปัญหาต่าง ๆ ภายในประเทศไทย เงินบาทกลายเป็นหนึ่งในสกุลเงินที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในภูมิภาค โดยค่าเงินบาทเริ่มอ่อนค่าลงตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 จนถึงช่วงปลายปี เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงของการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งสายพันธุ์เดลต้าและสายพันธุ์โอมิครอน ทำให้ภาคการท่องเที่ยวมีการฟื้นตัวที่ล่าช้า
1
และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลต่อเนื่อง โดยตลอดทั้งปี 2564 ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงไปประมาณ 10% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2543
1
อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทได้กลับมาแข็งค่าขึ้นในช่วงเดือนมกราคม 2565 แข็งค่าสุดในรอบสองเดือนที่ 32.28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ
หลังจากรัฐบาลประกาศจะเปิดรับนักท่องเที่ยวแบบไม่ต้องกักตัวภายใต้โครงการ Test & Go อีกครั้งในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ หลังจากที่มีการปิดรับลงทะเบียนชั่วคราวไปเมื่อช่วงปลายเดือนธันวาคม 2564 เนื่องจากผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอนในกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามามีจำนวนมากขึ้น
1
ซึ่งประเทศไทยจะกลับมาดำเนินโครงการยกเว้นการกักตัวสำหรับนักท่องเที่ยวที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว เนื่องจากรัฐบาลพยายามที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยการกระตุ้นภาคการท่องเที่ยว
ค่าเงินบาทมีแนวโน้มผันผวนต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 จนกว่าจะมีการควบคุมการแพร่ระบาดได้
1
โดยธุรกิจจำนวนมากโดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว คาดว่าจะยังคงไม่ฟื้นตัวสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาด เนื่องจากขณะนี้ยังมีผู้ติดเชื้อรายใหม่วันละหลายพันราย
และ นักท่องเที่ยวชาวจีนที่เป็นแหล่งรายได้ด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดของไทย ได้ถูกห้ามเดินทางออกนอกประเทศโดยไม่จำเป็น เนื่องจากจีนยังมีการใช้นโยบายควบคุมโควิดให้เป็นศูนย์
ทางด้านนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยมีแนวโน้มจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.5% ตลอดทั้งปีนี้ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
เนื่องจากคณะกรรมการนโยบายการเงินยังคงให้ความสำคัญกับการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ แม้ว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะสูงขึ้น
แต่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อภายในประเทศคาดว่าจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวและจะยังคงอยู่ภายในเป้าหมายของ ธปท. ที่ 1 - 3% ขณะที่เงินเฟ้อของไทยยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศหลักอื่น ๆ
1
ในทางกลับกัน ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะมีการดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังอยู่ในภาวะร้อนแรงจากดัชนีผู้บริโภค (CPI ) ที่สูงเป็นประวัติการณ์ 39 ปี
1
ราคาสินค้าและบริการในสหรัฐอเมริกาสูงขึ้นเนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปัญหาการขาดแคลนแรงงาน โดยตลาดคาดว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลายครั้งในปีนี้ เพื่อป้องกันเงินเฟ้อที่อาจจะอยู่ในระดับสูงเช่นนี้เป็นเวลานาน
1
ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอาจจะคงไว้นานกว่านั้น โดยนโยบายการเงินที่แตกต่างกันระหว่างไทยและสหรัฐฯ อาจส่งผลให้เงินทุนไหลออกจากประเทศไทย และกดดันค่าเงินบาทให้อ่อนค่าลง
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับประมาณการการเติบโตของสหรัฐฯ ลง 1.2% โดยคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโตเพิ่มขึ้นเพียง 4% ในปี 2565 ซึ่งลดลงจาก 5.6% ในปี 2564 เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐเริ่มที่จะยกเลิกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ขณะที่การแพร่กระจายของโควิดสายพันธุ์โอมิครอนและปัญหาห่วงโซ่อุปทานติดขัดยังคงทำให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจ
นอกจากนั้นคณะกรรมการนโยบายการเงินของประเทศไทยยังได้ปรับลดประมาณการการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในปี 2565 เป็น 3.4% จาก 3.9% ก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว รวมถึงปัญหาคอขวดของการผลิตและห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกที่น่าจะคลี่คลายลง
การใช้จ่ายด้านการบริโภคและการลงทุนคาดว่าจะขยายตัวมากขึ้นจากปีที่แล้ว เนื่องจากประมาณ 70% ของประชากรไทยได้รับการฉีดวัคซีนครบสองเข็มแล้ว และโควิดสายพันธุ์โอมิครอนมีอัตราการเสียชีวิตต่ำ จึงคาดว่าจะไม่มีการปิดเมืองอีกครั้ง
นอกจากนี้ มาตรการต่างๆ น่าจะค่อยๆ ผ่อนคลายลง และการพยายามดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาในประเทศไทยด้วยโครงการอย่าง Test & Go และ Sandbox คาดว่าจะทำให้รายรับจากนักท่องเที่ยวพุ่งสูงขึ้น
โดยหลังจากที่ประเทศไทยได้เปิดประเทศตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาประมาณ 423,678 คน (ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค)
และในปี 2565 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาประมาณ 8 ล้านคน ซึ่งจะส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศไทยเกินดุลในที่สุด
1
โดยธนาคารกรุงเทพได้คาดการณ์ว่าเงินบาทในปี 2565 จะแข็งค่าขึ้นต่อไปอยู่ที่ประมาณ 32.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ
1
#เงินบาทไทย #ค่าเงิน #เศรษฐกิจไทย #เศรษฐกิจโลก #IMF #Fed
#Bnomics #Global_Economic_Update #เศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน
Bangkok Bank Post ฉบับวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2565
ผู้เขียน :
ธีระภูมิ วุฒิปราโมทย์ Economist, Bnomics
ศศิชา เป่าแตรสังข์ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ :
ชนากานต์ วรสุข Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
คุณจะไม่พลาดทุกประเด็นเศรษฐกิจ จาก Bnomics
เพียงตั้งค่าที่เมนูมุมขวาบนเพจให้
เป็น "#Favourites" หรือ “#รายการโปรด”
แล้วทุกประเด็นเศรษฐกิจ จะเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
โฆษณา