1 ก.พ. 2022 เวลา 04:58 • การศึกษา
เรื่องเล่าที่ 6 ปรัชญาแห่งสุนทรียสนทนา
2
ตอนที่ 1 สุนทรียสนทนา
สุนทรียสนทนาเป็นปรัชญาตามแนวคิด philosophy of dialogue ซึ่งเป็นแนวคิดของนักปรัชญาชาวยิว สัญชาติออสเตรีย นามว่า มาร์ติน บูเบอร์ (Martin Buber) บันทึกไว้ในหนังสือ I and Thou (1923) โดยมีมโนคติหลักว่า พื้นฐานเนื้อแท้หรือแก่นแท้หรือสารัตถะของความเป็นมนุษย์นั้น ถูกมองด้วยลัทธิเหตุผลนิยมเชิงวิทยาศาสตร์ (scientific rationalism) แต่กรอบความคิดเชิงปรัชญาระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ (man with man) นั้น จำเป็นจะต้องใช้สุนทรียสนทนา เพื่อให้เกิดพื้นที่ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน (sphere of between)
1
สุนทรียสนทนาเป็นบทสนทนาถึงสิ่งเป็นอยู่ (entity) ระหว่างคนสองคนหรือมากกว่า สุนทรียสนทนาเป็นรูปแบบของการสื่อสารที่มีความหมายแฝงทางวาจา ในขณะที่การติดต่อสื่อสารสามารถแลกเปลี่ยนความคิดและข้อมูลโดยสัญญะที่ไม่ใช่คำพูด พฤติกรรม ในฐานะเป็นนิรุกติศาสตร์หรือวิชาว่าด้วยที่มาและความหมายของคำ, เทียบคำ
1
อย่ามองทุกอย่างเป็นเพียงวัตถุ มองให้ทะลุถึงหัวใจ
สุดปฐพีเอง
1
สุนทรียสนทนาเป็นการใช้ภาษาในการสื่อสาร แต่ถูกแยกออกจากวิธีการสื่อสารอื่นๆ เช่น การอภิปรายและการโต้วาที ในขณะที่การอภิปรายถือว่าเป็นการเผชิญหน้า สุนทรียสนทนากลับเน้นการฟังและทำความเข้าใจ เป็นลักษณะธรรมชาติในการสนทนาที่แท้จริงของมนุษย์และเกี่ยวข้องกับสำนึกทางศาสนา ความทันสมัย มโนทัศน์ จริยธรรมการศึกษา จิตวิญญาณและการตีความ ประกอบกับสุนทรียสนทนาเป็นรูปแบบพื้นฐานของการสื่อสารและการปฏิสัมพันธ์ของข้อความจำนวนมาก
1
เพลโตช่วยทำให้รูปแบบบทสนทนาง่ายขึ้นและลดทอนลง เพื่อให้เป็นบทสนทนาที่เน้นการถกเถียงกันอย่างบริสุทธิ์ ในขณะที่เหลือองค์ประกอบที่แสดงความน่าขบขันเอาไว้ผ่านการวาดภาพตัวละคร เพลโตเริ่มเขียนบทสนทนาในปีก่อนคริสตศักราช 405 และในปีก่อนคริสตศักราช 399 เขาได้พัฒนาการใช้บทสนทนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัฏฏะเรื่องราวที่ได้รับแรงบันดาลใจโดยตรงจากการตายของโสเครติส งานปรัชญาทั้งหมดของเขายกเว้นเรื่อง การขอโทษ ต่างก็ใช้รูปแบบนี้
1
บทสนทนานั้นเป็นความพยายามที่จะเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในฐานะผู้ให้และผู้รับของแต่ละคนในขณะเดียวกัน เพื่อให้เกิดการสนทนา (conversation) ที่ชาญฉลาดและเพิ่มพูนปัญญา ทั้งนี้ จะเกิดขึ้นในส่วนของการเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยทั้งสิ่งที่ชัดแจ้ง (explicit) และส่วนที่อยู่ภายในใจ (implicit) ทั้งนี้การสนทนาด้วยหลักสุนทรียสนทนาจะนำไปสู่การแก้ไขความไม่เห็นด้วย (disagreement) โดยการชี้แจงให้เห็นข้อเชื่อของอีกฝ่ายและทำให้ข้อขัดแย้งนั้นไม่อาจถูกใช้เป็นสมมติฐานในฐานความคิดได้อีกต่อไป และการสนทนานำไปสู่สมมติฐานใหม่ที่น่าจะช่วยให้การคิดดำเนินต่อไปได้
1
มาร์ติน บูเบอร์ กำหนดให้สุนทรียสนทนาเป็นจุดศูนย์กลางของปรัชญา ด้วยเห็นว่า สุนทรียสนทนาเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เพียงแต่เป็นความพยายามที่จะนำไปสู่ข้อสรุปของบางมุมมองเท่านั้น
1
มาร์ติน บูเบอร์ ได้เสนอไว้ว่า แก่นแท้ของมนุษย์นั้นมี 2 อย่างคือ ฉันต่อมัน (I toward IT ) และ ฉันต่อสิ่งนั้น (I toward THOU) นั่นคือ เรามีประสบการณ์อย่างไรต่อวัตถุ (object) และชีวิตของมนุษย์มุ่งค้นหาความหมายในความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ซึ่งนำมนุษย์ไปสู่ความสัมพันธ์กับพระเจ้าผู้เป็น สิ่งนั้นที่นิรันดร์ (Eternal Thou)
1
มาร์ติน บูเบอร์ ชี้ว่า ความสัมพันธ์แบบฉันต่อมัน (I-It) เป็นความสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งอื่น เป็นสิ่งๆ ไป เป็นคนๆ หรือชิ้นๆ ไป (discrete object) ซึ่งมนุษย์แต่ละคนก็มีแตกต่างกัน และมนุษย์คนหนึ่งๆ เองก็มีต่อสิ่งต่างๆ แตกต่างกันด้วย ในขณะที่ความสัมพันธ์แบบฉันต่อสิ่งนั้น (I-Thou) นั้น ไม่ใช่ฉันเดียวกันกับฉันใน (I-It) แต่เป็นฉันที่เป็นจิตวิญญาณ (spirit) และจิตคิด (mind) ที่เกิดเป็นความรู้สึกหรือมโนทัศน์ต่อความสัมพันธ์กับสิ่งที่รับรู้ผ่านผัสสะ สิ่งที่รับรู้นั้นมีผลโดยกึ่งอัตโนมัติต่อความคิดหรือจิตใจของมนุษย์ และนำไปสู่ความรู้สึกเชิงบวกหรือลบต่อสิ่งนั้น เช่น ความรัก เป็นความสัมพันธ์ใน I-Thou ไม่ใช่ I-It เพราะเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง subject-subject ไม่ใช่ subject-object ซึ่งมนุษย์มีต่อวัตถุอื่น ดังนั้น ความสัมพันธ์ I-Thou ที่สูงสุดก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้านั่นเอง
2
อ้างอิง
Buber, M. (2000). I and You. Trans by Smith, RG. London, Scribner classics.
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา