Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สุดปฐพี เวียงสี
•
ติดตาม
1 ก.พ. 2022 เวลา 05:07 • การศึกษา
เรื่องเล่าที่ 7 มาร์ติน บูเบอร์
2
ตอนที่ 2 ซี่รี่ส์สุนทรียสนทนา
2
ที่มา http://hrod11nida.blogspot.com/2013/05/martinbuber-essay-i-thou-i-it-i-thou-i.html
มาร์ติน บูเบอร์ นักปรัชญาชาวยิว เกิด ณ ประเทศออสเตรีย ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ปีคริสตศักราช 1878 ในครอบครัวยิวออโทดอกซ์ พ่อแม่ของเขาแยกทางกันเมื่อเขาอายุได้เพียง 3 ขวบ เขาจึงต้องอาศัยอยู่กับปู่ของเขา นามว่า โซโลมอน บูเบอร์ ช่วงชีวิตวัยเด็กของมาร์ติน บูเบอร์ เติบโตขึ้นมาโดยได้รับการศึกษาและเลี้ยงดูจากปู่นั่นเอง ซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ทำให้มาร์ติน บูเบอร์ ได้อ่านและเรียนรู้เกี่ยวกับ Talmud หรือคัมภีร์โบราณของศาสนายิว และเรื่องราวอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับศาสนายิว ที่บ้านนี้เอง บูเบอร์ต้องพูดภาษา ยิดดิชหรือภาษาเยอรมันผสมฮีบรู จนเมื่อมาร์ติน บูเบอร์ อายุได้ 14 ปี เขาจึงกลับไปอยู่กับพ่อที่ประเทศยูเครนฃ
2
ถึงแม้ว่า มาร์ติน บูเบอร์ จะมีเชื้อสายของกษัตริย์เดวิด ตามคัมภีร์ไบเบิลของศาสนายิว แต่ วิกฤติทางความคิดเห็นส่วนตัวของบูเบอร์ที่มีต่อศาสนา ส่งผลให้บูเบอร์หันหลังให้ศาสนายิว เขาเริ่มอ่านผลงานของ Immanuel Kant, Kierkegaard และ Nietzsche ซึ่งกลายเป็นแรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้บูเบอร์สนใจศึกษาหาความรู้ด้านปรัชญาอย่างจริงจัง
2
ในปีคริสตศักราช 1896 บูเบอร์เข้าเรียนด้านปรัชญา, ประวัติศาสตร์ศิลป์, เยอรมันศึกษา และภาษาโบราณที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย
1
ในปีคริสตศักราช 1898 บูเบอร์เข้าร่วมกลุ่มเคลื่อนไหวที่เรียกกันว่า Zionist เป็นกลุ่มที่ต้องการก่อตั้งประเทศให้กับชนชาติยิว ในปีถัดมา เขาได้พบกับ Paula Winkler นักเขียนของกลุ่มZionist ที่ไม่ใช่ชาวยิว ซึ่งต่อมา คือ ภรรยาของบูเบอร์ และเธอได้เข้ารีตมานับถือศาสนายิวในภายหลัง
1
ปีคริสตศักราช 1923 บูเบอร์เขียนบทความ ที่ชื่อ Ich und Du ทำให้เขาเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ต่อมาแปลเป็นภาษาอังกฤษโดยใช้ชื่อว่า I and Thou และในอีกสองปีต่อมา เขาได้เริ่มแปลฮีบรูไบเบิลหรือคัมภีร์ไบเบิลของศาสนายิวให้เป็นภาษาเยอรมัน
1
ปีคริสตศักราช 1930 บูเบอร์ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ในมหาวิทยาลัย Goethe University Frankfurt ซึ่งอยู่ที่เมืองแฟรงค์เฟริต และลาออกในทันทีที่ฮิตเลอร์ขึ้นสู่อำนาจในเยอรมันในปีคริสตศักราช 1933 เขาเป็นผู้ก่อตั้งสำนักงานการศึกษาผู้ใหญ่ชาวยิว ซึ่งยิ่งทำให้เขามีความขัดแย้งกับทางการเยอรมันที่พยายามกีดกันชาวยิวไม่ให้ได้รับการศึกษา
1
บูเบอร์ออกจากเยอรมันปีคริสตศักราช 1938 ไปลงหลักปักฐานที่เมืองเยรูซาเล็ม ปาเลสไตน์ ภายหลัง คือ ประเทศอิสราเอล ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านปรัชญา สอนวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยฮีบรู
1
ภรรยาของบูเบอร์เสียชีวิตลงในปีคริสตศักราช 1958 และตัวเขาเองก็จากโลกนี้ไปในปี คริสตศักราช 1965 ณ บ้านของเขาเองที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ กรุงเยรูซาเล็ม
1
มาร์ติน บูเบอร์ เขียนบทความที่รู้จักกันดีชื่อ Ich und Du หรือ I and Thou ซึ่งให้ความสนใจต่อความสัมพันธ์ที่บุคคลมีต่อคนอื่น โดยอธิบายไว้ 2 ลักษณะ คือ “I - It” หรือ“ตัวเรา-มัน” คือ ความสัมพันธ์ซึ่งบุคคลมองคนอื่นในฐานะที่เป็นวัตถุ เป็นแค่สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีการคงอยู่สามารถมองเห็น วัดได้ เช่น สูง - ต่ำ ดำ - ขาว อ้วน – ผอม เป็นต้น และมองแต่ในมุมที่จะใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์สำหรับตนหรือตนเองจะจัดการได้ตามต้องการ โดยบางครั้ง ตนเองยังกลับคิดว่าที่ทำไปนั้น คือ การทำเพื่อตัวเขาเอง และความสัมพันธ์อีกแบบหนึ่งคือแบบ “I - Thou” ซึ่งบุคคลมองบุคคลอื่นในฐานะที่เป็นมนุษย์ผู้มีจุดหมายและมีคุณค่าความหมายของตนเอง เขาเป็นเช่นตัวเรามีความต้องการเฉพาะของตนเอง มีจิตวิญญาณ พัฒนาได้ด้วยตัวเขาเอง
1
มาร์ติน บูเบอร์ เห็นว่า วงการธุรกิจ รัฐบาล หรือแม้แต่การศึกษาในปัจจุบันปฏิบัติต่อมนุษย์เยี่ยงวัตถุ คือ มองแบบ “I - It” จึงทำให้ความเป็นมนุษย์ถูกลดทอนคุณค่าลง มนุษย์จึงต่างจ้องทำลายทำร้ายกันและกัน และแสวงหาประโยชน์จากมนุษย์ด้วยกันอย่างเห็นแก่ตัว เพราะไม่ได้มองคนอื่นแบบ “I - Thou”
1
มาร์ติน บูเบอร์ เสนอว่า ความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนควรเป็นความสัมพันธ์แบบ “I - Thou” เพราะสัมพันธภาพระหว่างครูและนักเรียนเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถึงแม้ทั้งสองฝ่ายจะมีความแตกต่างกันในระดับความรู้ แต่ทั้งครูและนักเรียนต่างก็มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน การมีความสัมพันธ์แบบ “I - Thou” เพื่อจะได้มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน มีความเห็นอกเห็นใจกัน แบ่งปันความรู้ ความรู้สึก แรงบันดาลใจระหว่างกัน และต่างฝ่ายต่างก็เป็นทั้งครูและนักเรียนไปพร้อมๆ กัน และความสัมพันธ์เช่นนี้ บูเบอร์ เห็นว่า ควรปรากฏอยู่ในการศึกษาทุกระดับและในสังคมส่วนรวมด้วย
2
1 บันทึก
2
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สุนทรียสนทนา
1
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย