1 ก.พ. 2022 เวลา 05:38 • การศึกษา
เรื่องเล่าที่ 8 สุนทรียสนทนากับยุคกระบวนทัศน์
2
ตอนที่ 3 ซีรี่ส์สุนทรียสนทนา
2
กระบวนทัศน์ของมนุษย์ในยุคต่างๆ กระบวนทัศน์ ( paradigm) หมายถึง ความเชื่อพื้นฐานที่มีอยู่ในจิตใจของมนุษย์ทุกคน เมื่อพิจารณาสุนทรียสนทนาด้วยปรัชญากระบวนทัศน์ ย่อมมองบทบาทของสุนทรียสนทนาในแต่ละมุมมองความคิด แบ่งเป็น 5 กลุ่ม สรุปได้ ดังนี้
2
1. กระบวนทัศน์ดึกดำบรรพ์ มองทุกอย่างว่ามาจากน้ำพระทัยของอำนาจลึกลับหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เบื้องบน การสนทนา (dialogue) จึงเป็นบทสนทนาของเบื้องบนกับมนุษย์ผู้ได้รับเลือกเท่านั้น เพราะปกติเบื้องบนมีอำนาจจึงสั่งการแต่เพียงอย่างเดียว ใครได้รับเมตตาจากเบื้องบนจึงจะได้สนทนากับเบื้องบน และมีแต่ทำตามเบื้องบนจึงจะได้ผลตอบแทนชีวิตที่ดี มนุษย์ย่อมไม่อาจกระทำสุนทรียสนทนาได้
5
2. กระบวนทัศน์โบราณ มองทุกอย่างว่า มาจากกฎเกณฑ์ตายตัว หรือต้องดำเนินการตามระบบเครือข่ายของเจ้า การทำสุนทรียสนทนาจึงต้องพิจารณาว่า ทำตามกรอบของเจ้าสำนักใด หากทำเองได้ดีก็ตั้งตัวเป็นเจ้าสำนักใหม่ได้ สุนทรียสนทนาเป็นเทคนิควิธีที่เรียนรู้ได้ กำหนดหลักการและกฎเกณฑ์เพิ่มเติมได้ ส่วนลูกศิษย์ก็รับแนวทางไปปฏิบัติตามอย่างพร้อมใจ ไม่ต้องคิดอะไรมาก
2
3. กระบวนทัศน์ยุคกลางมองทุกอย่างว่าเป็นทางไปสู่โลกหน้า สุนทรียสนทนาเป็นวิธีการที่ทำให้บุคคลฝึกฝนตนเอง เข้าใจสิ่งสร้างต่างๆ ตามที่ศาสนาสอนไว้ แล้วบุคคลทำได้ดี ทำได้ในชีวิตประจำวัน ก็จะถือว่าทำดี ได้บุญ และเป็นทางไปสู่โลกหน้าที่ดีได้
2
4. กระบวนทัศน์นวยุค มองทุกอย่างว่า เป็นระบบเครือข่ายตามเกณฑ์วิทยาศาสตร์ ทุกอย่างที่เป็นความจริงต้องสามารถพิสูจน์ได้ในระบบเครือข่ายทางวิทยาศาสตร์ ย่อมมองสุนทรียสนทนาเป็นหลักการและกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ผู้ปฏิบัติย่อมพยายามศึกษาและเขียนออกมาเป็นหนังสือ เป็นระเบียบปฏิบัติ หรือกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ให้ชัดเจน รวมไปถึงพยายามนำเสนอในฐานะตนเองเป็นผู้รู้ และต้องการขยายผลด้วยการให้ใช้สุนทรียสนทนาเป็นหลักการในทุกๆ สาขาวิชา ทุกกิจกรรมและหากเป็นไปได้ควรมีตัวชี้วัดด้วยจะยิ่งแสดงว่า สุนทรียสนทนาเป็นหลักการที่เป็นสากลอย่างแท้จริง
2
5. กระบวนทัศน์หลังนวยุค (postmodern paradigm) มองทุกอย่างด้วยวิจารญาณ เขาย่อมพยายามตีความและหาความหมายของสุนทรียสนทนาผ่านการวิเคราะห์ ประเมินค่า และประยุกต์ใช้ให้ตรงกับบริบทของมนุษย์ในแต่ละพื้นที่ แต่ละสังคม แต่ละวัฒนธรรม เพื่อเปิดโอกาสให้แก่มนุษย์ทุกคนมีโอกาสที่จะสร้างโครงสร้างใยข่ายความรู้ในสมองตนเอง เพื่อประโยชน์ในการช่วยจำและเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ที่ตนเองรับรู้และสามารถพัฒนาสติปัญญาตัวเองได้ด้วยการฟัง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น
2
อ้างอิง
สิริกร อมฤตวาริน, เอนก สุวรรณบัณฑิต. (2560). สุนทรียสนทนา: เครื่องมือของกระบวนทรรศน์หลังนวยุคสายกลาง. (รายงานผลการวิจัย), กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
2
กีรติ บุญเจือ. (2545). ปรัชญากรีก ระยะก่อตัว, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา