1 ก.พ. 2022 เวลา 06:10 • การศึกษา
เรื่องเล่าที่ 9 สนทนาแบบโบห์ม
2
ตอนที่ 4 ซีรี่ส์สุนทรียสนทนา
2
อ้างอิง www.newheartawaken.com
นับแต่กลางศตวรรษที่ 20 จนถึงต้นศตวรรษที่ 21 นี้ มีนักวิทยาศาสตร์หลายคนสนใจปัญหาของมนุษยชาติ นำเสนอแนวคิดแนวปฏิบัติต่อการแก้ปัญหาสังคมแบบองค์รวมที่ไม่ได้มองมนุษย์และสรรพสิ่งแบบแยกส่วน แยกจิตออกจากวัตถุ แยกสิ่งที่ศึกษาออกจากผู้ศึกษา อันเป็นที่มาของวิธีคิดแบบกลไก เมื่อติดขัดตรงไหนจะแก้เฉพาะตรงนั้น เช่น แพทย์รักษาอาการป่วยทางกายแต่ไม่ได้รักษาใจของคนไข้หรือบริษัทต้องการคุณภาพของงานจนลืมความสุขของคนทำงาน เป็นต้น หนึ่งในบรรดานักวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ที่บุกเบิกวิธีคิดแบบองค์รวม คือ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ผลงานในช่วงท้ายๆ ของชีวิตไอน์สไตน์เป็นเรื่องของการใคร่ครวญในเรื่องสันติภาพของโลกและความหมายของชีวิต เช่นที่ปรากฏในหนังสือ The World As I See It (1949), Out of My Later Years (1950) และ The Meaning of Reality (1965)
2
David Bohm เป็นนักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งที่เสนอผลงานทางสังคมศาสตร์ภายใต้กระบวนทัศน์แบบองค์รวมเช่นเดียวกับคาปรา แต่มีจุดเน้นที่การสื่อสารของมนุษย์ โบห์มเชื่อว่า การสื่อสารที่มีพื้นฐานอยู่บนกระบวนทัศน์แบบองค์รวมนี้จะนำไปสู่การแก้ปัญหาต่างๆ ของมนุษยชาติตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร ไปจนถึงปัญหาในระดับประเทศและระหว่างประเทศ
 
โบห์มเขียนหนังสือแนวนี้หลายเล่ม แต่เล่มที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ On Dialogue ที่ไม่ได้เสนอแนวคิดในเชิงทฤษฎีเท่านั้น แต่ได้เสนอวิธีปฏิบัติเป็นสำคัญ คือ วิธีปฏิบัติการสื่อสารเพื่อความสมานฉันท์ของมนุษยชาติ ที่ต่อมาเรียกกันว่า Bohm’s Dialogue หรือเรียกสั้นๆ ว่า Dialogue
5

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา