4 ก.พ. 2022 เวลา 02:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เทคโนโลยีปรับอากาศ ที่ผลิตจาก “ไม้ไผ่”
ประเทศไทยของเรา รวมถึงหลายๆ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ล้วนเป็นประเทศที่มีสภาพอากาศร้อนชื้น
ย่างเข้าช่วงฤดูร้อน หากเป็นในยุคอดีต คนเฒ่าคนแก่จะใช้ภูมิปัญญาจากการดื่มกินด้วยการผสมน้ำฝนกับดอกมะลิให้ร่างกายสดชื่น แถมยังมีเทศกาลสงกรานต์ให้ผู้คนได้คลายความร้อนผ่านกิจกรรมต่างๆ อีกด้วย
แต่พอเป็นปัจจุบัน โลกยุคใหม่หันไปให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี และสิ่งที่คนศตววรรษนี้มองหาได้ง่ายที่สุดคือ “เครื่องปรับอากาศ”
รู้ไหมว่าเครื่องปรับอากาศในประเทศไทยขายดีแค่ไหน? เรามาดูมูลค่าของตลาดกัน
ปี 2019 มีมูลค่า 23,242 ล้านบาท
ปี 2020 มีมูลค่า 20,930 ล้านบาท
ปี 2021 มีมูลค่า 23,990 ล้านบาท
ซึ่งตัวเลขของปี 2021 เป็นตัวเลขคาดการณ์ และมูลค่า 2 หมื่นกว่าล้านในแต่ละปี เป็นแค่ข้อมูลของค่ายแอลจี และไม่นับรวมเครื่องปรับอากาศเชิงพาณิชย์
ถ้าถามถึงราคาเครื่องปรับอากาศที่ใช้กันอยู่ในครัวเรือน บางครัวเรือนอาจจะใช้ที่ราคาตั้งแต่ 8,000 ไปจนถึงหลักหลายหมื่น และไม่ใช่จ่ายเงินซื้อแค่ก้อนเดียวแล้วจะจบ เพราะต้องมีค่าบำรุงรักษา และค่าพลังงานที่ต้องจ่ายแต่ละเดือนอีก
มากกว่าค่าใช้จ่าย สิ่งแวดล้อมยังถูกแลกไปกับสารกลุ่มไฮโดรฟลูคาร์บอน ที่มีความรุนแรงในการก่อให้เกิดภาวะโลกรวน
แล้วถ้าไม่ใช้เทคโนโลยีราคาหลายหมื่นล่ะ เราสามารถใช้เทคโนโลยีราคาต่ำแบบใดแทนได้บ้าง?
ประเทศเวียดนาม ที่มีสภาพภูมิอากาศคล้ายกับประเทศไทย ได้มีการทดลองการใช้งาน “แอร์ไม้ไผ่” ซึ่งได้รับการคิดค้นและออกแบบโดย AREP บริษัทสัญชาติฝรั่งเศษ
แอร์ไม้ไผ่ที่ว่านี้ถูกออกแบบโดยสถาปนิกไม่ระบุนาม ให้มีรูปทรงไฮเปอร์โบลอยด์เพื่อความมั่นคงทางโครงสร้าง ภายในโครงสร้างไม้ไผ่จะถูกวางเรียงต่อกันเป็นชั้นๆ เพื่อระบายความร้อนผ่านหลักการ “อะเดียแบติก”
โดยอะเดียแบติก “เป็นกระบวนการทางอุณหพลศาสตร์ที่ไม่มีการถ่ายเทความร้อนเข้าและออกจากระบบ มันจะเกิดเป็นกระบวนการสมบูรณ์แบบได้ก็ต่อเมื่อ ความร้อนในระบบไม่สามารถถ่ายเทออกไปยังสิ่งแวดล้อมได้ทัน”
1
แอร์ไม้ไผ่ถูกนำมาประยุกต์ผ่านหลักการดังกล่าวโดยติดตั้งอุปกรณ์เป่าลมที่จุดศูนย์กลาง จากนั้นใช้น้ำธรรมชาติไหลผ่านโครงสร้างไม้ไผ่ ซึ่งวัฏจักรของน้ำในช่วงแดดจัดต้องมีการระเหย การระเหยต้องใช้พลังงาน และพลังงานก็จะดูดซับความร้อนจากอากาศเข้ามา
พลังงานส่วนที่ใช้ระเหยมากที่สุดจะอยู่ส่วนบน ทำให้มีการดูดซับพลังงานจากด้านล่างของโครงสร้างไม้ไผ่ ส่งผลให้โครงสร้างส่วนล่างมีอุณภูมิที่เย็นลง จึงใช้เครื่องเป่าลมมาช่วยปรับอากาศ ณ ที่แห่งนั้นได้นั่นเอง
นอกจากนี้ การที่ใช้ไม้ไผ่มาจากเหตุผลที่ว่า ลำปล้องของไม้ไผ่เป็นวัสดุธรรมชาติที่เหมาะสมมากในการใช้งาน ซึ่งบริษัท AREP เลือกใช้สถานที่ทดลองเป็นกรุงฮานอย ประเทศเวียดนามเป็น ก็มาจากโลเคชั่นที่เหมาะสม ชาวบ้านแถบนั้นเชี่ยวชาญด้านไม้ไผ่ ผ้าไหม และเครื่องปั้นดินเผา
AREP ไม่เพียงแค่ทดลองเล่นๆ แล้วเผยแพรผลงานเท่านั้น แต่พวกเขายังวางเฟสต่อไปให้มีการพัฒนาและใช้จริงได้ในสถานที่ที่มีสภาพอากาศแห้งแล้ง อย่างในจตุรัสสาธารณะ ถนนคนเดิน หรือแม้แต่สถานีรถไฟ
ซึ่งถ้ามันสำเร็จจริง ก็อาจเป็นเทคโนโลยีราคาถูกที่ช่วยให้เย็นได้..ไม่น้อยเลย
…………………………………………………………
ไม่พลาดทุกคอนเทนท์ของเทคฮีไร
Line Official: https://lin.ee/cB2Muk0
ติดตามเทคฮีโร เพิ่มเติมได้ที่..
…………………………………………………………
โฆษณา