6 ก.พ. 2022 เวลา 15:19 • สุขภาพ
โควิด-19 ทำไมบางคนติด แต่บางคนไม่ติด ข้อมูลล่าสุดมีปัจจัยอะไรบ่งชี้
1
เหตุใดบางคนจึงติดเชื้อโควิด-19?
เหตุใดบางคนจึงไม่ติด?
ทั้งๆ ที่พวกเขาอาจจะสัมผัสเชื้อไวรัสโควิด-19 ในจำนวนเท่าๆ กันก็ตาม
1
คำถามที่บางที “คุณ” อาจกำลังสงสัยอยู่ใช่หรือไม่?
1
ในวันนี้ “เรา” ลองไปฟังความเห็นของบรรดาผู้เชี่ยวชาญที่พยายามค้นหา “คำตอบ” ในเรื่องนี้กันดูว่า มันอาจจะเกิดขึ้นมาจากปัจจัยใดได้บ้าง และจนถึงปัจจุบันมีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหนกันแล้ว?
5
◉ ทีเซลล์ (T cells) :
เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา งานวิจัยล่าสุดที่ถูกตีพิมพ์ อิมพีเรียล คอลเลจ ประเทศอังกฤษ ระบุว่า การสัมผัสกับไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 ไม่ได้ทำให้เกิดการติดเชื้อได้เสมอไป
โดยเฉพาะกับคนส่วนหนึ่งที่มี “ทีเซลล์” ในระดับสูงหลังติดเชื้อไข้หวัดธรรมดาก่อนหน้านี้ กลับมีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติที่แข็งแกร่ง จนกระทั่งแม้จะได้สัมผัสกับไวรัส SARS-CoV-2 แต่กลับไม่ได้ติดเชื้อ
2
อย่างไรก็ดียังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่ากลุ่มบุคคลเหล่านี้ สามารถหลีกเลี่ยงไวรัสได้อย่างสมบูรณ์ หรือเป็นเพราะสามารถกำจัดไวรัสได้ตามกลไกธรรมชาติก่อนที่จะตรวจพบด้วยวิธีการตรวจหาเชื้อ
9
แต่ถึงแม้ว่าการค้นพบในครั้งนี้ จะถือเป็นหนึ่งในการค้นพบครั้งสำคัญ แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญยังคงยืนยันว่ามันเป็นเพียงหนึ่งในรูปแบบของการป้องกันเท่านั้น และวิธีการที่ดีที่สุดจากการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ในเวลานี้ ยังคงเป็นการเข้ารับการฉีดวัคซีนครบสูตร รวมถึงวัคซีนเข็มกระตุ้น
10
*** หมายเหตุ ทีเซลล์ คือ เซลล์ชนิดหนึ่งในระบบภูมิคุ้มกันที่มีหน้าที่หลักในการค้นหาเซลล์ที่ติดเชื้อหรือเชื้อโรคต่างๆ และกำจัดมันทิ้ง แถมยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันสามารถจดจำและเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเชื้อโรคชนิดเดิมกลับมา ***
10
◉ พันธุกรรม :
อีกหนึ่งคำถามสำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของโควิด-19 เหตุใดคนสองคนที่ติดเชื้อโควิด-19 เหมือนกัน จึงมีการตอบสนองต่อการติดเชื้อแตกต่างกันมาก โดยคนหนึ่งอาจพบว่ามีอาการป่วยหนัก ในขณะที่อีกคนกลับไม่แสดงอาการป่วยใดๆ เลย
2
โดย ศจ.แดนนี อัลแมน (Danny Altmann) ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันวิทยา อิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน เปิดเผยว่า งานวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับระบบภูมิคุ้มกัน และการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งกำลังจะมีการเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ พบว่ารูปแบบของระบบภูมิคุ้มกันมนุษย์สามารถสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นได้
6
โดยการวิจัยที่มุ่งเน้นไปที่ Human leukocyte antigen หรือ HLA ซึ่งเป็นแอนติเจนที่พบได้บนผิวเซลล์ของเม็ดเลือดขาวและเนื้อเยื่ออื่นๆ ของร่างกาย เกี่ยวข้องกับกระบวนการกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย พบว่า HLA บางชนิดมีแนวโน้มว่าจะมีการติดเชื้อโควิด-19 แบบแสดงอาการอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะคนที่มียีน HLA-DRB1*1302
4
◉ วัคซีนต้านโควิด-19 :
1
วัคซีนต้านโควิด-19 ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการลดการติดเชื้อรุนแรง ลดการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล รวมถึงลดการเสียชีวิตได้ ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีวัคซีนชนิดใดที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้ 100% ก็ตาม
1
อย่างไรก็ดี ข้อมูลเท่าที่มีอยู่จนถึงตอนนี้ คือ แม้ว่าจะมีบางคนที่ฉีดวัคซีนครบสูตร หรือ วัคซีนเข้มกระตุ้นแล้ว แต่ก็ยังสามารถติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนได้ (ส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรง) แต่ก็มีอีกส่วนหนึ่งที่มีการตอบสนองด้านภูมิคุ้มกันที่แตกต่างออกไป ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้จะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาวัคซีนในอนาคต
5
◉ ผลการทดสอบล่าสุดพบอะไรเพิ่มเติม?
1
การทดลองล่าสุดของ อิมพีเรียล คอลเลจ ร่วมกับศูนย์วิจัยอื่นๆ ในประเทศอังกฤษ ซึ่งได้มีการนำอาสาสมัครวัยหนุ่มสาวที่มีสุขภาพดีรวม 36 คน มาทำการทดสอบด้วยการให้ได้รับเชื้อโควิด-19 ในระดับต่ำด้วยวิธีการแหย่เข้ารูจมูก
5
จากนั้นอาสาสมัครจะอยู่ภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่และการควบคุมภายใต้สภาวะแวดล้อมที่มีการควบคุมภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ พบว่าอาสาสมัครคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 50% ติดเชื้อ ในขณะที่อีก 50% ไม่ติดเชื้อ
1
โดยอาสาสมัคร 18 คนที่ติดเชื้อ มีจำนวนมากถึง 16 คน ที่พบว่ามีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย คล้ายอาการเป็นหวัด เช่น อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ จาม และเจ็บคอ
1
นอกจากนี้ยังได้รับข้อมูลสำคัญเรื่อง “ระยะฟักตัว” โดยทั้ง 18 คน มีเวลาเฉลี่ยตั้งแต่เริ่มสัมผัสไวรัสครั้งแรกจนถึงการตรวจพบไวรัสและเริ่มมีอาการในระยะเริ่มแรก ประมาณ 42 ชั่วโมง ซึ่งสั้นกว่าประมาณการค่าเฉลี่ยก่อนหน้านี้
3
ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 5-6 วัน และจากการตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสในจมูกและคอของอาสาสมัครที่ติดเชื้อ ยังพบว่าด้วยว่า ค่าเฉลี่ยปริมาณของเชื้อไวรัสที่พบสูงสุด อยู่ที่ช่วงเวลาประมาณ 5 วันหลังการติดเชื้อ ในขณะที่บางคนอาจพบปริมาณเชื้อสูงสุด ในวันที่ 9-12
4
แต่ประเด็นที่น่าสนใจ คือ การพบระดับการแพร่กระจายของไวรัสในรูจมูกจะสูงกว่าในลำคออย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า มีความเสี่ยงที่ไวรัสจะหลั่งออกจากจมูกได้มากกว่าทางปาก ซึ่งนั่นทำให้ การตรวจด้วย Lateral Flow Test (LFT) ซึ่งเป็นการตรวจด้วยอุปกรณ์ทดสอบที่ง่ายและรวดเร็วน่าจะยังใช้ได้ผลต่อไป
8
ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ รายงาน
โฆษณา