7 ก.พ. 2022 เวลา 09:46 • ถ่ายภาพ
อะไรเอ่ยสู้ไม่ถอย
คำตอบคือ บุก วันนี้ผมขอนำท่านผู้ชมได้ติดตามเรื่องของสมุนไพรที่ขึ้นอยู่ตามป่าเขา ที่มีประโยชน์ และโทษอย่างไรบ้างลองติดตามรับชมครับ
บุกคางคก
ต้นบุกชอบขึ้นตามป่าร้อนชื้น
บุกคางคก ชื่อวิทยาศาสตร์: Amorphophallus paeoniifolius (Dennst.) Nicolson. เป็นพืชในวงศ์ Araceae ชื่ออื่นๆ ได้แก่ มันซูรัน (กลาง) บุกคุงคก (ชลบุรี) เบีย เบือ บุกหนาม บุกหลวง (แม่ฮ่องสอน) หัวบุก (ปัตตานี) บักกะเดื่อ(สกลนคร) กระบุก(บุรีรัมย์) บุกรอ หัววุ้น
เป็นพืชล้มลุก เจริญเติบโตในฤดูฝน และพักตัวในฤดูหนาว มีหัวใต้ดินขนาดใหญ่ สีน้ำตาล อายุหลายปี ลำต้นกลม อวบน้ำ ผิวขรุขระ มีลายสีเขียวสีแดงใบเดี่ยว ออกที่ปลายยอด ใบแผ่ออกคล้ายกางร่มแล้วหยักเว้าเข้าหาเส้นกลางใบ ขอบใบจักเว้าลึก กลม อวบน้ำ ดอกออกเป็นช่อแทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน บริเวณโคนต้น เป็นแท่งมีลายสีเขียวหรือสีแดงแกมสีน้ำตาล ดอกช่อ แทงออกมาจากหัวใต้ดิน ช่อดอกมีกาบหุ้ม ลักษณะเป็นแท่งสีแดงแกมน้ำตาล ก้านช่อดอกสั้น มีใบประดับ รูปกรวยหุ้มช่อดอก ขอบหยักเป็นคลื่น และบานออก ปลายช่อ ดอกเป็นรูปกรวยคว่ำขนาดใหญ่ ยับเป็นร่องลึก สีแดงอมน้ำตาลหรือสีม่วงเข้ม ดอกตัวผู้อยู่ตอนบน ดอกตัวเมียอยู่ตอนล่าง มีกลิ่นเหม็นคล้ายซากสัตว์เน่า ผลรูปทรงรียาว มีจำนวนมากติดกันเป็นช่อ หัวบุกมีลักษณะค่อนข้างกลม เนื้อในหัวสีชมพูสด เหลืองอมชมพู หรือขาวเหลือง ผลสด เนื้อนุ่ม เมื่ออ่อนสีเขียว สุกแล้วเป็นสีเหลือง สีส้มจนถึงแดง
ลวดลายลำต้นบุกคางคก
บุกคางคกเป็นพืชพื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบตั้งแต่ ศรีลังกา ไปจนถึงอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ลำต้นของบุกคางคก ใส่แกงเป็นอาหารได้ ในรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย นำหัวไปทอดหรือใส่ในแกงกะหรี่ ลำต้นรับประทานเป็นผัก ชาวญี่ปุ่นใช้ทำอาหารลดความอ้วน หัวบุกมีสารสำคัญคือ กลูโคแมนแนน (glucomannan) เป็นโพลีแซคคาไรด์ มีคุณสมบัติคล้ายเพกติน ในทางยาสมุนไพร หัว ใช้กัดเสมหะ แก้เลือดจับเป็นก้อน หุงกับน้ำมัน ใส่บาดแผล กัดฝ้าและกัดหนองดี นำหัวมาต้มกับน้ำ แก้โรคตับ โรคท้องมาน ยากัดเสมหะ แก้ไอ
ภาพด้านบนของใบบุก
ใช้แก้พิษงู ใช้เป็นยาแก้แผลไฟไหม้และน้ำร้อนลวก ช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคเบาหวาน.
ภาพด้านข้าง
การใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมแปรรูป อุตสาหกรรมการแปรรูปส่วนใหญ่มี3รูปแบบ คือ แผ่นบุกแห้ง ผงวุ้นบุกหรือผงวุ้นกลูโคแมนแนนจะนำไปเป็นส่วนผสมอาหารหลายชนิด และบรรจุแคปซูลและในรูปผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพสำเร็จรูป พร้อมนำไปประกอบอาหาร หรือนำไปรับประทานได้ทันที เช่น แท่งวุ้น เส้นวุ้น
ลวดลายเส้นใบบุก
สารพิษในบุก ยางที่พบในหัวบุก ลำต้นและใบ ประกอบด้วยสารแคลเซียมออกซาเลต (calcium oxalate) หากสัมผัสกับผิวหนังจะทำให้เกิดอาการคัน หากข้อตาจะทำให้เกิดการระคายเคือง มีการแสบตาอย่างรุนแรงและอาจทำให้ตาบอดได้
สีสรรค์ลวดลาย
ข้อห้ามสำหรับการรับประทานบุก คือ หัวบุกจะมีรสเผ็ด เป็นยาร้อน มีพิษ ออกฤทธิ์ต่อม้าม ตับ และระบบทางเดินอาหาร ดังนั้น ในกลุ่มคนที่ ม้าม ตับ และระบบทางเดินอาหาร ไม่ดี ควรหลีกเลี่ยงรับประทาน และไม่รับประทานมากเกินไป
บุกชอบขึ้นเองตามธรรมชาติ
ภาพรวม
แหล่งอ้างอิง
ภาพปรกอบ ผศ.ดร.วิทยา หล่ศิริ
โฆษณา