8 ก.พ. 2022 เวลา 11:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
จำลอง DCA ก่อนลงสนามจริง
เคยนึกสงสัยกันมั้ยว่า ถ้าเราออมหุ้นตัวหนึ่งด้วยวิธี DCA (Dollar-Cost Averaging) ด้วยจำนวนเงินเท่ากันทุกเดือน เป็นระยะเวลา 5 ปี ติดต่อกัน สุดท้ายจะได้ผลตอบแทนเท่าไหร่ ? วันนี้เราไปหาคำตอบกัน
ด้วยตัวช่วยจำลอง DCA ที่ใช้วิธีการทดสอบแบบย้อนหลัง (Backtesting) โดยจะให้ข้อมูลสำคัญเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน เช่น ผลตอบแทนย้อนหลัง และต้นทุนเฉลี่ย
จำลอง DCA ก่อนลงสนามจริง
ถ้าใครอยากเข้าใจการลงทุน DCA ในโพสต์เดียว มาอ่านที่นี่ก่อนได้ https://www.blockdit.com/posts/61c05433f688f3a371d06715
ขั้นตอนการจำลอง DCA ด้วย Streaming ทำได้ง่าย ๆ เพียงปลายนิ้วสัมผัส แค่ใส่ชื่อหุ้น จำนวนเงินที่ต้องการออม ความถี่ในการออม และระยะเวลาในการออม เท่านี้เราก็จะดูภาพการจำลอง DCA แบบย้อนหลังได้แล้ว
ทั้งหมดนี้ทำผ่านแอป Streaming ซึ่งถ้ามีบัญชีซื้อขายหุ้นอยู่แล้วก็น่าจะสามารถใช้ได้แน่นอน ถ้าพร้อมแล้วไปดูวิธีการใช้กันเลย
เข้าสู่เมนู DCA ด้วย Streaming
เราลองสมมุติเลือกหุ้น COM7 ในการทดลอง วิธี DCA ด้วยเงินลงทุน 2,000 บาท เท่ากันทุกเดือน เพื่อดูผลตอบแทนย้อนหลังเป็นเวลา 5 ปี สุดท้ายจะได้ผลตอบแทนเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ ?
หมายเหตุ: ที่ยกตัวอย่าง COM7 มิได้มีเจตนาชี้นำแต่อย่างใด เพียงแต่ใช้เพื่อการทดลองเท่านั้น
กรอกข้อมูลเพื่อสร้างแบบจำลอง
จะเห็นว่าหากเราลงทุนแบบ DCA ในหุ้น COM7 ติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี ผลตอบแทนที่ได้จะเป็นบวกค่อนข้างมาก เนื่องจากบริษัทอยู่ในอุตสาหกรรมที่เติบโตค่อนข้างดี ราคาหุ้นจึงปรับตัวขึ้น สอดคล้องตามกำไรของบริษัท
หน้าแสดงผลลัพธ์
หากเราลงทุน DCA ในอุตสาหกรรมที่กำลังหดตัว ผลตอบแทนที่ได้รับก็มีแนวโน้มจะติดลบเป็นจำนวนมาก ตามกำไรของบริษัทที่ลดลงในแต่ละปี
สิ่งที่ต้องพิจารณาต่อคือ อุตสาหกรรมนั้นมีแนวโน้มจะกลับมาเติบโตได้อีกหรือไม่ หากคิดแล้วว่าปัจจัยพื้นฐานไม่เหมือนเดิม พฤติกรรมผู้บริโภคก็น่าจะเปลี่ยนไป แบบนี้เราหาหุ้นในอุตสาหกรรมอื่นแล้วออมแบบ DCA จะเป็นผลดีกว่า
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ผลตอบแทนในอดีตไม่ได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนในอนาคต ดังนั้นก่อนจะเริ่มลงทุนแบบ DCA ในหุ้น หรือกองทุนรวม เราควรจะศึกษาให้เข้าใจก่อน และมั่นใจว่าสินทรัพย์ที่เราเลือกเป็นสินทรัพย์ที่ดี การลงทุนแบบ DCA ถึงจะออกดอกออกผลให้เราได้เห็นกัน
ข้อควรรู้ในการจำลอง DCA
หมายเหตุ : บทความนี้จัดทำเพื่อนำเสนอข้อมูลเท่านั้น มิได้มีเจตนาในการชี้นำหรือแนะนำการลงทุนแต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน โดยผลการดำเนินงานในอดีต การเปรียบเทียบผลตอบแทน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
อ้างอิง
"เพราะการเงินเป็นเรื่องของทุกคน"
พวกเรากลุ่มคนที่รักเรื่องราวของการเงินการลงทุนเป็นชีวิตจิตใจ จึงก่อตั้งเพจ Dime! (ไดม์!) ขึ้น
Dime! แปลว่าเหรียญ 10 เซ็นต์ (ประมาณ 3 บาท) สื่อถึงความตั้งใจของเราที่จะทำให้การเงินการลงทุนเป็นเรื่องที่คุณเข้าถึงได้ เข้าใจง่าย และนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้จริง เหมือนกับเงิน 1 ไดม์ ที่ใคร ๆ ก็สามารถเข้าถึงได้
หากทุกคนมีความรู้ทางการเงินที่แข็งแรง
สังคมของเราก็จะดีขึ้นตามไปด้วย
โฆษณา