9 ก.พ. 2022 เวลา 02:29 • ธุรกิจ
กรณีศึกษาของ เด็ก ม.5 กับการสร้างรายได้ 1 ล้านดอลลาร์ใน 1 ปี
1
พูดถึงชีวิตมัธยมปลาย หลายคนคงวุ่นอยู่กับการเตรียมตัวสอบเข้ามหาลัย หลายคนคงวุ่นอยู่กับการใช้ชีวิตสนุกสนุนสนานตามประสาเด็กวัยรุ่น และหลายคนคงวุ่นอยู่กับความคิดที่ว่าอนาคตจะทำอะไรดี หรือว่ามีความฝันแล้วจะทำมันได้สำเร็จตามความคาดหวังหรือเปล่า
2
รู้ไหมว่ามีเด็กคนหนึ่งที่ทำตามฝันของตัวเองได้ แถมยังทำได้ตอนที่ตัวเองยังเรียน ม.ปลาย เขาคนนั้นเป็นใคร ทำได้อย่างไร ไปทำความรู้จักให้มากกว่านี้กัน..
หนุ่มคนนี้มีชื่อว่า “Sukone Hong” เป็นชาวเกาหลีใต้วัย 17 ปี ชีวิตของ Hong ก็เหมือนกับเด็กทั่วๆ ไป ตื่นเช้า อาบนำ้ แต่งตัว ไปโรงเรียน
2
Hong เกิดในครอบครัวที่พร้อม เขาจึงได้รับการจัดสรรการศึกษาที่ดี แต่ถึงแม้จะดียังไง ตัวของเขาเองยังต้องใช้ชีวิตเผชิญกับสังคมภายนอกให้ได้ รู้ไหมว่าเขาก็เคยโดนกลั่นแกล้งรังแกตั้งแต่ยังเด็กจนเกิดเป็นแผลใจ แต่มันก็ไม่อาจต้านทานให้ก้าวต่อไปข้างหน้าได้
Hong มีความฝันอยากเป็นนักธุรกิจ เขาจึงเริ่มทำการค้าขายตั้งแต่อยู่ ม.3 โดยรับเสื้อผ้ามาขายผ่าน Naver ซึ่งเป็น Search Engine (คล้ายกับ Google) ชื่อดังของเกาหลีใต้ เป็นเจ้าของ Line แอพพลิเคชั่นที่คนไทยทุกคนใช้งาน
จากนั้น Hong ได้เพิ่มสินค้าออกมาเป็นแบรนด์ของตัวเอง ใช้ชื่อว่า Ogala Studios คอลเลคชั่นเสื้อผ้าลำลองที่ออกแบบมาอย่างเรียบง่าย ใส่ได้ทุกเพศ ซึ่งธุรกิจนี้ Hong ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวเป็นเงิน 5,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 150,000-160,000 บาท
ต่อมาแบรนด์ Ogala เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมไปทั่วเอเชีย ดันยอดขายสูงถึง 1,200,000 ดอลลาร์สหรัฐใน 1 ปี หรือมากกว่า 36 ล้านบาท เมื่อตีเป็นเลขกลมๆ
หลายคนอาจมองว่า Hong ประสบความสำเร็จได้ง่าย เพราะเป็นเด็ก “บ้านรวย” ไม่ว่าจะล้มเท่าไหร่ก็มีครอบครัวคอยซัพพอร์ต ซึ่งนั่นก็เป็นข้อคิดเห็นที่ไม่อาจปฏิเสธได้
ในอีกมุมหนึ่งของเด็กเกาหลีคนนี้ เขาถูกสอนมาในเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมในการทำธุรกิจ ซึ่งแต่เดิม Hong หวังเพียงแค่ว่า ธุรกิจคือการสร้างเงินให้ได้เยอะๆ แต่พอเอาเข้าจริงแล้ว ในมุมมองผู้เขียน การสร้างเงินให้ได้เยอะๆ เพียงเพื่อการจัดอันดับจากสื่อหรือใครต่อใครต่างก็แชร์ความสำเร็จกันในโซเชียล มันไม่ได้มีประโยชน์ต่อสังคมเท่าไหร่นัก นอกจากการสร้างแรงบันดาลใจ
แต่มันเป็นการโชว์ในความเป็นสังคมทุนนิยม วัตถุนิยม ซึ่งมันจะทำให้ผู้คนหวังเพียงแค่การสร้างเงิน โดยไม่สนว่าสิ่งที่ทำอยู่มันผิดหรือถูก ส่งผลกระทบต่อสังคม วงจรเศรษฐกิจขนาดย่อมหรือเปล่า
ซึ่งสำหรับ Hong เอง หลังจากที่ถูกสอนมาแบบนั้น เขาจึงคิดหาไอเดียว่าจะทำธุรกิจที่ได้ประโยชน์ทั้งตัวเขาและผู้อื่นได้อย่างไร ? ในขณะที่ตนมีพร้อมทั้งทรัพยากรและเงินทุน
1
จนความคิดมาบรรจบที่ “สมาร์ทวอชสำหรับผู้พิการทางสายตา” แต่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่าจะสร้างแล้วขายยังไง ใช้เงินทุนเท่าไหร่ แต่มันกลับเป็นว่า ลูกค้าที่เป็นผู้พิการทางสายตาจะซื้ออย่างไร ในขณะที่ราคาสมาร์ทวอชในตลาด มีราคาเริ่มต้นประมาณ 300 ดอลลาร์หรือประมาณ 10,000 บาทไทย แล้วจะทำยังไง ให้เป้าหมายเข้าถึงสินค้าได้ในราคาที่ถูกลง
3
ก่อนเริ่มผลิต Hong เริ่มจากการสำรวจกลุ่มเป้าหมายก่อน ว่าพวกเขามีความจำเป็นที่จะใช้มันหรือไม่ หรือมันจะช่วยในการดำเนินชีวิตอย่างไร เมื่อได้คำตอบว่าต้องเป็น “สมาร์ทวอชอักษรเบรลล์” Hong ก็เริ่มระดมทุนโดยใช้ฐานชื่อเสียงจากการทำแบรนด์ Ogala ที่เพิ่งประสบผลสำเร็จระดับหนึ่ง
เขาใช้เวลาหกเดือนในการสร้างสมาร์ทวอชอักษรเบรลล์ราคาเรือนละ 80 เหรียญ ถูกกว่าสมาร์ทวอชในท้องตลาดถึง 3 เท่าตัว พร้อมกับใช้ชื่อแบรนด์ว่า Paradox Computers ซึ่งขายได้กว่าร้อยรายการในช่วงแรกที่เปิดตัว และมียอดคำสั่งซื้อก่อนหน้าเปิดตัวถึง 3,000 รายการ
ธุรกิจของ Hong เติบโตอย่างรวดเร็ว จนเขามีความคิดอยากลาออกจากโรงเรียน เพื่อไปทำธุรกิจเต็มตัว เหมือนอย่างที่ มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟสบุ้ค หรือ แจ็ค ดอร์ซีย์ ผู้ก่อตั้งทวิตเตอร์เคยทำไว้
1
แต่ Hong ก็ได้รับการห้ามปรามจากนักธุรกิจรุ่นพี่หลายต่อหลายคน ผลสุดท้ายเขาจึงไม่ลาออก และเลือกที่ยื่นผลการเรียนและสอบสัมภาษณ์ในมหาวิทยาลัย
ซึ่งมหาวิทยาลัยระดับโลกอย่าง Harvard และ Stanford ก็มีความสนใจในตัวเขา
อย่างไรก็ดี จุดเริ่มต้นของคนเราไม่ต่างกัน เราทุกคนเกิดมาโดยมีทรัพย์สินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ไม่อาจประเมิณค่าได้ นั่นคือหน่วยความจำที่เรียกว่า “สมอง” เราใช้มันในรูปแบบไหน ชีวิตก็จะได้แบบนั้น ซึ่งชีวิตที่มีอิสรภาพในอนาคตนอกจากจะใช้ต้นทุนทรัพยากรด้านต่างๆ ก็จำเป็นต้องใช้ต้นทุนสิ่งนี้ เช่นกัน..
โฆษณา