9 ก.พ. 2022 เวลา 10:32 • ครอบครัว & เด็ก
เด็กร้องไห้.. ผู้ใหญ่ไม่ให้คะแนน
จากประเด็นข่าวสอบเข้าอนุบาล ระบุ เกณฑ์ห้ามเด็กร้องไห้ หัก 3 คะแนน
ภาพถ่ายโดย Victoria Borodinova จาก Pexels
ในมุมมองแบบมอนเตสซอรี่เวลาเด็กร้องไห้จนเรารับมือไม่ไหว ให้สงสัยว่ามาจาก 3 สาเหตุนี้ไว้ก่อน
  • 1.
    เด็กร้องไห้เพราะ "อยากทําเอง"
  • 2.
    เด็กร้องไห้เพราะ "ระเบียบ" ยุ่งเหยิงไปหมด
  • 3.
    เด็กร้องไห้เพราะ "ช่วงวัยต่อต้าน"
ภาพถ่ายโดย Cleyder Duque จาก Pexels
1. เด็กร้องไห้เพราะ "อยากทําเอง"
เวลาเด็กร้องไห้งอแงอย่างหนัก Daddy อยากให้ผู้ใหญ่สงสัยเป็นข้อแรกว่า ลูกอยากทําเองหรือเปล่านะ
เมื่อเด็กอยู่ใน "ช่วงรับรู้ไวต่อการออกกำลัง" เขากำลังฝึกการเคลื่อนไหวต่างๆ ซึ่งจำเป็นต่อการดำเนินชีวิต
และทุกครั้งเมื่อมีความก้าวหน้า ฮอร์โมนโดพามีนจะหลั่งออกมา ทำให้เขารู้สึกมีความสุข เพราะฉะนั้นต่อให้เราใช้เหตุผลหรือกฏเกณฑ์แบบผู้ใหญ่ข้อไหนก็ตามเข้าไปขัดขวางหรือฉวยสิ่งของจากเขาขณะกำลังฝึก เขาย่อมต่อต้านอย่างรุนแรงเป็นธรรมดา
ขอให้คิดว่า "ชั่วขณะนี้แหละ เด็กกำลังพัฒนาศักยภาพอยู่ แล้วคอยเฝ้าดูอย่างใจเย็น ถ้าจำเป็นต้องสนับสนุนช่วยเหลือ ก็ให้บอกกล่าวเขาก่อนสักคำว่า" ขอช่วยหน่อยได้ไหมเอ่ย"
ภาพถ่ายโดย Tuấn Kiệt Jr. จาก Pexels
2. เด็กร้องไห้เพราะ" ระเบียบ" ยุ่งเหยิงไปหมด
เด็กเกิดมาโดยไม่รู้จักอะไรเกี่ยวกับโลกนี้เลย เขาจึงซึมซับกลไกทุกอย่างในโลกอย่างไม่หยุดยั้ง และนั่นทำได้ด้วย สุดยอดความสามารถที่เรียกว่า "ความจำโดยปริยาย (Implicit Memory) โดยเด็กจะจดจำไว้ทันทีโดยไม่รู้ตัว ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการถ่ายรูปเอาไว้
ทว่าเพราะเขาซึมซับไว้เหมือนรูปถ่าย ถ้าสถานที่หรือลำดับคลาดเคลื่อน เขาจะสับสนอย่างรุนแรง และรู้สึกขัดใจขึ้นมาทันที และนี่คือ" ช่วงรับรู้ไวต่อระเบียบ"
ภาพถ่ายโดย mohamed abdelghaffar จาก Pexels
3. เด็กร้องไห้เพราะ "ช่วงวัยต่อต้าน"
ช่วงวัยต่อต้านจะเริ่มขึ้นตอนอายุราว 2 ขวบ ซึ่งเป็นช่วงที่บางครอบครัวเริ่มให้เด็กเข้าเรียนอนุบาล แต่ดีแล้วหรือที่เราจะตัดสินว่าพวกเขาก็แค่ "เอาแต่ใจ" แล้วดุเขา
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าแท้จริงแล้ว"ช่วงวัยต่อต้าน" คืออะไร ในช่วงอายุเท่านี้เด็กจะเคลื่อนไหวร่างกายได้ตามต้องการแล้ว และยังเริ่มแสดงความคิดเห็นออกมาเป็นคำพูดได้บ้าง
หากมองจากมุมของเด็ก เขาก็แค่อยากทดลองว่า "ไหนดูซิ พ่อแม่จะยอมทำตามที่เราบอกแค่ไหน" เพราะฉะนั้นถ้าเราเองก็ใช้อารมณ์ หรือยึดเป็นเกณฑ์ในการให้คะแนน นั่นจะไม่ช่วยอะไรเลย ลองรับมือกับเขาอย่างใจเย็น มองให้เหมือนว่าเป็นการจัดการจราจร เช่น เรายอมได้ถึงตรงนี้ ถ้าล้ำเส้นจากตรงนี้ไป เราจะไม่ยอมรับ ดีกว่าครับ
เด็กอยากพูดสิ่งที่คิดออกไป แต่ยังพูดได้ไม่เก่งพอ เขาเลยรู้สึกหงุดหงิด ถ้าผู้ใหญ่พูดความในใจแทนเขาจะช่วยได้มาก เช่น "อ้อ หนูยังไม่อยากทำแบบทดสอบตอนนี้สินะ" หรือ "หนูยังอยากเล่นอยู่สินะจ๊ะ!"
📑อ้างอิง
หนังสือมอนเตสซอรี่เริ่มต้นที่บ้าน Homemade montessori น.142-146
📖 บทความอื่นๆของ Daddy Montessori https://daddymontessori.blogspot.com/?m=1
🧩ร้านของเล่น ของใช้แนวมอนเตสซอรี่
โฆษณา