14 ก.พ. 2022 เวลา 00:41 • ไลฟ์สไตล์
บัญชีคู่
ของขวัญที่น่าสนใจสำหรับการบอกรักแฟนในวันวาเลนไทน์นี้ นั่นก็คือ การเปิดบัญชีคู่ สำหรับการเปิดบัญชีคู่ ในที่นี้หมายถึง การเปิดบัญชีธนาคารร่วมกัน เราไปดูกันว่า จะสามารถเปิดบัญชีคู่ยังไง? เงื่อนไขการเปิดบัญชีคู่มีอะไรบ้าง? และมีกี่แบบ?
การเปิดบัญชีคู่ คืออะไร?
การเปิดบัญชีคู่ คือการเปิดบัญชีออมทรัพย์ ฝากประจำ หรือกองทุน ที่ทั้ง สองฝ่ายเป็นเจ้าของร่วมกัน หรือเพื่อเป็นเงินกองกลางของครอบครัว ตั้งแต่เสียค่าน้ำค่าไฟ ค่าซื้อของใช้เข้าบ้าน ซื้อรถคันใหม่ ดาวน์บ้านหลังใหม่ รวมถึงค่าอาหารการกิน แต่งงาน เก็บเงินให้ลูก เป็นต้น ส่วนใหญ่จะเปิดได้แค่ บัญชีออมทรัพย์แบบทั่วไป เท่านั้น โดยบัญชีคู่เป็นบัญชีที่มีชื่อเจ้าของบัญชีร่วมกัน และมีสิทธิในการจัดการเงินในบัญชีอย่างเท่าเทียมกันด้วย
เปิดบัญชีคู่ ร่วมกับใครได้บ้าง ?
ไม่ว่าจะเป็น ใครก็สามารถเปิดบัญชีคู่ร่วมกันได้ เพียงแค่คุณพึงพอใจที่จะเปิดบัญชีคู่ร่วมกันค่ะ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ญาติพี่น้องทั้งหลาย สามีภรรยาที่จดทะเบียนและยังไม่จดทะเบียน หรือแม้แต่เป็นแฟนกันเฉย ๆ ก็สามารถเปิดบัญชีคู่ได้
การเปิด บัญชีคู่ สามารถทำได้ 3 รูปแบบหลัก ๆ แบบแรกคือ ‘บัญชีออมทรัพย์คู่’ แบบที่สองคือ‘บัญชีประจำคู่’ และแบบที่สาม คือ ‘บัญชีกองทุนคู่’
1. บัญชีออมทรัพย์คู่
สำหรับการเปิดบัญชีออมทรัพย์คู่สามารถใช้ชื่อบัญชีร่วมได้ 4 แบบ โดยแต่ละแบบแตกต่างตรงคำเชื่อมระหว่างชื่อเจ้าของบัญชีคือคำว่า ‘และ’ ‘หรือ’ ‘เพื่อ’ ‘โดย’ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของธนาคาร การเก็บเงินแบบออมทรัพย์สามารถฝากเงินเข้าไปได้เรื่อย ๆ ตามความต้องการของผู้ฝากไม่มีเงื่อนไขการฝากเงินจากทางธนาคาร
สำหรับคู่รัก ที่ต้องการออมเงินร่วมกัน อาจตกลงกันว่าจะฝากเงินเข้าไปเท่าๆ กัน ในแต่ละเดือน หรือสลับกับฝากเดือนเว้นเดือน ฯลฯ เพื่อสร้างวินัยสะสมเงินให้ค่อยๆ พอกพูนขึ้นอย่างสม่ำเสมอ โดยมีดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ย 0.05-2.00 % ต่อปี (ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2563) เป็นของแถมเล็ก ๆ น้อย ๆ
1
บัญชีคู่
ประเภทของบัญชีคู่
สำหรับการเปิดบัญชีคู่โดยทั่วไปจะมี 4 แบบ คือ และ, หรือ, เพื่อ, โดย แต่ส่วนใหญ่คู่รักที่เปิดบัญชีร่วมกันจะใช้ “และ”
- บัญชีคู่กรณี “และ”
คือ บัญชีที่ต้องรับรู้และเซ็นเอกสารพร้อมกันทั้งสองคนทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นการเปิด-ปิดบัญชี หรือการถอนเงิน เว้นแต่การฝากเงินสามารถดำเนินการเพียงคนใดคนหนึ่งได้ แต่ทั้งนี้ หากอีกคนไม่สะดวกเดินทางมาด้วยตนเอง ก็สามารถทำการมอบฉันทะ และติดต่อสาขาที่เปิดบัญชีเพื่อถอนได้
- บัญชีคู่กรณี “หรือ”
คือ บัญชีที่สามารถทำธุรกรรมเกี่ยวกับบัญชีเพียงคนใดคนหนึ่งได้ เช่น การถอนเงิน ยกเว้นกรณีเดียวที่ต้องเซ็นร่วมกันทั้ง 2 คน ก็คือ ตอนเปิด และปิดบัญชีนี้ค่ะ
2. บัญชีฝากประจำคู่
สำหรับคู่รักที่มีรายรับที่ค่อนข้างคงที่ หรือมีเงินเย็น (เงินที่ไม่จำเป็นต้องใช้ด่วน) ตรงกับเงื่อนไขของบัญชีฝากประจำทำให้มีโอกาสได้รับดอกเบี้ยมากกว่าการฝากแบบออมทรัพย์ แต่ละธนาคารมีข้อเสนอที่หลากหลาย โดยข้อมูลอัตราดอกเบี้ยฝากประจำเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ จากธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่า ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนเฉลี่ยที่0.25-1.50% ต่อปี ฝากประจำ 6 เดือนเฉลี่ย 0.25-1.65% ฝากประจำ 12 เดือนเฉลี่ย 0.25-1.85% ส่วนฝากประจำ 24 เดือนดอกเบี้ยเฉลี่ย 1.00-1.80% ต่อปี
สิ่งที่ต้องพิจารณาให้ดี สำหรับการฝากประจำ คือต้องมั่นใจว่าจะสามารถฝากเงินเป็นประจำตามเงื่อนไขของธนาคารที่มักจะกำหนดเงินฝากประจำขั้นต่ำ (ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคาร) และต้องไม่กระทบค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
**ข้อควรระวังสำหรับบัญชีฝากประจำคู่**
การเปิดบัญชีเงินฝากที่ให้ผลตอบแทนสูง และบัญชีเงินฝากประจำ บางผลิตภัณฑ์ไม่สามารถเปิดบัญชีร่วมกันได้ ดังนั้นต้องตรวจสอบในเงื่อนไขของแต่ละธนาคารให้เรียบร้อยก่อน โดยสามารถโทรสอบถามโดยตรง หรือดูได้จากรายละเอียดของแต่ละผลิตภัณฑ์จากเว็บไซต์ ดังตัวอย่างภาพด้านล่างนี้
3. บัญชีกองทุนคู่
ต้องย้ำว่านี่ไม่ใช่การออมทรัพย์ธรรมดา แต่เป็นรูปแบบ ‘การลงทุน’ อย่างหนึ่งที่มีโอกาสขาดทุนหรือสูญเงินต้น แต่ภายใต้ความเสี่ยงก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนตั้งแต่ 2-10% ต่อปี ขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยงของประเภทกองทุน สภาวะตลาด และลักษณะการลงทุน
เปิดบัญชีคู่ ทำบัตร ATM ได้ไหม?
การเปิดบัญชีคู่ สามารถทำบัตร ATM ได้ เพียงแต่คุณอาจต้องตกลงกันก่อนว่า ใครจะเป็นผู้ถือบัตร ATM ซึ่งกรณีนี้ แนะนำให้ตกลง และแจ้งเจ้าหน้าที่ธนาคารตอนที่เปิดบัญชีคู่เลยนะคะ จะได้ไม่เสียเวลาเดินทางไปทำบัตร ATM ใหม่อีก
เอกสารที่ต้องใช้ เปิดบัญชีคู่
• Passport หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีที่ใช้ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ให้แนบสำเนาทะเบียนบ้านเพิ่มเติม)
• กรณีเป็นชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ใช้เอกสาร Work Permit หรือ VISA ที่มีอายุ 3 เดือนขึ้นไปเพิ่มเติม และหนังสือรับรองการทำงานจากนายจ้าง
• กรณีเป็นนักศึกษาใช้ หนังสือรับรองจากสถานศึกษา และบัตรนักศึกษา/นักเรียน (ถ้ามี)
กรณีลูกค้าที่มีสัญชาติ พม่า ลาว กัมพูชา และ มาเลเซีย (เขตชายแดน) ที่เข้ามาทางานรับจ้างในประเทศไทย เอกสารที่ใช้ในการเปิดบัญชีมีดังนี้
• หนังสือเดินทาง (Passport) หรือ เอกสารสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือบัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย หรือเอกสารหลักฐานแสดงตนที่ออกและรับรองโดยหน่วยงานราชการ เช่น แบบ ทร. 38/1 ที่ยังไม่หมดอายุ ทั้งนี้ ใบผ่านแดน (Bording pass) ไม่สามารถใช้เป็นเอกสารประกอบการเปิดบัญชีได้ และหนังสือรับรองการทำงานของนายจ้าง
#สาระจี๊ดจี๊ด
หากเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยทั้งคู่ เอกสารประกอบการเปิดบัญชีที่คุณและผู้ที่เปิดบัญชีคู่นั้นใช้เพียงนำบัตรประชาชนเท่านั้น โดยจำนวนเงินในการเปิดบัญชีนั้น ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละธนาคาร
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
แหล่งที่มา / แหล่งอ้างอิง
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา