14 ก.พ. 2022 เวลา 08:19 • ปรัชญา
จิตเราอาศัยอยู่อยู่ในเรือนกาย เป็นจิตดวงเล็กๆๆๆริบหรี่ๆๆ อาศัยอาศัยอยู่ในเรือนกาย เมื่อเกิดมีอารมณ์ อารมณ์นั้นก็ปรุงแต่งขึ้นมา คลุมกายคลุมจิต อารมณ์บังคับจิต สั่งให้สั่งกายให้เคลื่อนที่ ..เคลื่อนไหวกายวาจาใจ ไปตามอารมณ์ (เบื้องหลังของอารมณ์ ก็ คือกรรม) คราวนี้ เมื่ออารมณ์โมโห มันเกิดขึ้นที่ตัวเรา เมื่อเรามีสติสัมปชัญญะรู้จักรู้สึกว่า อารมณ์โมโห มันเกิดขึ้นมา ก็พยายามอยู่นิ่ง ทำกายให้นิ่งๆก่อน แล้วดึงจิตเรามาอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก ให้สติมาอยู่ตรงนี้ กำหนดลง นี่อารมณ์โมโห อารมณ์โมโหนี้ ไม่ใช่ของเรา แต่เหมือนมาแกล้งเราให้ก่อเวรกรรมไปตามอารมณ์โมโห เมื่ออารมณ์เกิดขึ้น ลมหายใจเข้าออกก็เป็นลมหายใจของอารมณ์โมโห
เมื่ออารมณ์นี้ผ่านไป มันเหมือนสงบ แต่ก็ปล่อยพิษร้อนของอารมณ์ไว้ ธาตุทั้งสี่ที่ประกอบขึ้นมาเป็นกายก็ร้อน แปรปรวน เป็นอารมณ์ที่ค้างคาใจ เลือดลมติดขัด ความหงุดหงิดอะไรก็เกิดขึ้นง่ายๆ ทำให้เกิดเป็นอารมณ์ขุ่นมัวบ่อยๆ ความไม่พอใจไม่ถูกใจก็เกิดขึ้นบ่อยๆ มีอาการปวดหัวเวียนหัว ไมเกรน เหมือนกองไฟคอยจะลุกกระพือขึ้นมาเผาเรือนกาย
วิธีที่จะช่วยด้วย ก็ทำจิตให้อยู่กับลมหายใจ อยู่นิ่ง ไม่เคลื่อนไหวชั่วขณะหนึ่ง อยู่นิ่งเฉยๆ อารมณ์โกรธ นั้นก็ผ่อนคลายไป เปรียบอารมณ์นั้น เหมือนก้อนเมฆฝนดำทะมึน ลอยมาอยู่เหนือตัวเรา มืดครึ้มไปด้วยลมพายุลมฟ้าลมฝน ฝนยังไม่ตก..แต่เรารู้ตัวว่าฝนกำลังมา เราก็ทำกายทำจิตนิ่งเฉย ระวังวิญญาณทั้งหก ไม่ให้ไหลไปตามอารมณ์ การที่อยู่นิ่งเฉยๆ คนที่ฝึกฝนมาดี มีการประพฤติปฏิบัติธรรม เค้าก็รู้จักหลบหลีก เอาจิตไปอยู่กับคำว่าพระ .
ภาวนา พุทโธขึ้น เพื่อสกัดกั้นไม่อารมณ์ หรือไม่ให้ฝนนั้นตกลงมา หากปล่อยให้น้ำฝนตกต้องมาสู่กายเรา กายเราก็เปียก ..เปียกได้ด้วยอารมณ์ เมื่อกายเปียกน้ำฝน กิริยาอะไรต่างๆ มันก็เปียกไปด้วยน้ำฝน
นั้นก็คือตัวเรา เปียกปอนไปด้วยอารมณ์ กายของเรา วิญญาณหกของเรา จิตเราต้องตกเป็นทาสของอารมณ์ ให้มีกิริยากายวาจาใจ ไปคล้องเวรกรรมเกิดขึ้น
เรื่องราวของคำว่าจิต กับ อารมณ์ ตามปกติแล้ว จิตมนุษย์นั้น ไม่รู้จักอารมณ์ ไม่สามารถฝืนอารมณ์ ไปจนถึงขั้นละอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ทันที่ ที่เค้าเรียกว่า สติเท่าทันอารมณ์ สติจิตที่ฝึกมาดี พอรู้ว่าอารมณ์จะเข้ามาสู่กายสู่จิต ก็สามารถสกัดกั้นอารมณ์นั้นได้ การกระทำต่างๆ ก็ไม่ได้ทำไปตามอารมณ์ กายวาจาใจจึงเป็นเรื่องราวของจิตที่ไม่ประกอบไปด้วยอารมณ์
โฆษณา