15 ก.พ. 2022 เวลา 14:48 • สุขภาพ
มียาแก้ตื่นเต้นหรือไม่⁉
🥶 : มีอาการตื่นเต้นขั้นรุนแรงมากๆเวลาต้องออกไปพรีเซ็น หรือสอบ อยู่ดีๆใจก็เต้นเร็ว มือสั่น ขาสั่น หน้าสั่น ควบคุมตัวเองแทบไม่ได้ มีวิธีแก้ไขอาการแบบนี้ไหม?
2
หลายครั้งคนไข้จะมาปรึกษาเภสัชกรร้านยาด้วยอาการที่ฟังแล้วอาจจะธรรมดา เช่น ความประหม่าเมื่ออยู่ต่อหน้าคนจำนวนมาก เกิดอาการเครียด อึดอัด มาถามหายาบรรเทาว่ามีไหม?
คำตอบ : ⭕️ มี
.
👩🏻‍⚕️ อาการตื่นเต้นที่มักพบดังกล่าว มีสาเหตุมาจากภาวะทางจิตใจ เช่น ตื่นเต้น กังวลมากๆ เวลาต้องออกไปพูดในที่ชุมชน หรือต่อหน้าผู้คนที่จ้องมองมา จะเกิดกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติทำให้มีอาการ มือสั่น ปากสั่นได้นั่นเองค่ะ
ในบางคนอาจจะเป็นมากกว่าคนอื่น จนรบกวนการทำงาน หรือเกิดจากโรคสั่นไม่ทราบสาเหตุได้ หากเป็นมากเป็นตลอดเวลาอาจสงสัยโรคทางระบบประสาทที่สันนิษฐานว่าเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสารเคมีในสมอง โดยปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของความผิดปกติดังกล่าวว่า #โรคพาร์กินสัน ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้ออย่างควบคุมไม่ได้ มักเกิดในผู้สูงอายุ อาจมีอาการอื่นเช่น เดินแข็ง กล้ามเนื้อแข็งเกร็งร่วมด้วย หรือภาวะ #โรคกลัวสังคม 𝑆𝑜𝑐𝑖𝑎𝑙 𝑃ℎ𝑜𝑏𝑖𝑎 หรือ 𝑆𝑜𝑐𝑖𝑎𝑙 𝐴𝑛𝑥𝑖𝑒𝑡𝑦 เป็นโรคที่เราจะความกังวลเมื่อต้องไปอยู่ในสถานการณ์ที่รู้สึกว่าตัวเองกำลังถูกจ้องมองจากผู้อื่น โรคนี้พบได้ 2-3% ในคนทั่วไป
แต่อย่าเพิ่งตกใจไป‼ อาการสั่นเฉพาะช่วงเวลาตื่นเต้นของคุณอาจจะ ไม่ได้รุนแรงขนาดจะเป็นโรคทางระบบประสาทเสมอไปค่ะ
.
โดยการสั่นจากการตื่นเต้น ประหม่านั้น จะมียาที่ช่วยลดอาการสั่นจากกรณีนี้ได้👍
.
💊 ยาที่ช่วยลดความตื่นเต้น
1️⃣ ยาในกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ (𝐛𝐞𝐭𝐚 𝐛𝐥𝐨𝐜𝐤𝐞𝐫) : 𝑃𝑟𝑜𝑝𝑎𝑛𝑜𝑙𝑜𝑙 10𝑚𝑔 โดยรับประทานเป็นครั้งคราว เช่นก่อนที่จะต้องพูด พรีเซ็นงาน สอบ หรือก่อนหน้าที่คาดว่าจะมีอาการตื่นเต้น ประหม่า ก็ให้กินก่อนซัก 30 นาที
⚠ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด หรือมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ อาจจะไม่เหมาะสมที่จะใช้ยานี้ นอกจากนั้น อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อ่อนเพลีย หวิว จะเป็นลม หน้ามืด หรือมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ จึงแนะนำปรึกษาแพทย์/ เภสัชกรก่อนใช้ยาค่ะ
2️⃣ ยาคลายกังวล (𝐛𝐞𝐧𝐳𝐨𝐝𝐢𝐚𝐳𝐞𝐩𝐢𝐧𝐞) : 𝐴𝑙𝑝𝑟𝑎𝑧𝑜𝑙𝑎𝑚, 𝐶𝑙𝑜𝑛𝑎𝑧𝑒𝑝𝑎𝑚 หรือ 𝐿𝑜𝑟𝑎𝑧𝑒𝑝𝑎𝑚 เป็นต้น ซึ่งยามักออกฤทธิ์ทันที ช่วยลดการตื่นตัวของระบบประสาท คลายความกังวลและช่วยให้นอนหลับ เนื่องจากยากลุ่มที่ 2 นี้ มีฤทธิ์ง่วงซึม จึงควรระมัดระวังถ้ารับประทานยาในช่วงเวลาทำงาน
⚠ ยากลุ่มนี้ต้องได้รับการพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น‼️
3️⃣ ยาต้านเศร้า (𝐒𝐒𝐑𝐈𝐬) : 𝐹𝑙𝑢𝑜𝑥𝑒𝑡𝑖𝑛𝑒 หรือ 𝑆𝑒𝑟𝑡𝑟𝑎𝑙𝑖𝑛𝑒 ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์กับสารสื่อประสาทในสมองที่เรียกว่า Serotonin มีผลข้างเคียงน้อย เช่น คลื่นไส้อาเจียน หรือวิงเวียนศีรษะ มีความปลอดภัยเมื่อรับประทานตามขนาดที่แพทย์สั่ง
⚠ ยากลุ่มนี้ต้องได้รับการพิจารณาจ่ายโดยแพทย์/ เภสัชกรเท่านั้น‼️
.
นอกจากการใช้ยาช่วย เราควรฝึกปรับวิธีคิดและทำจิตบำบัดร่วมด้วย เพื่อปรับตัวให้คุ้นชินกับสถานการณ์ ลดภาวะประหม่า ตื่นเต้น และลดการใช้ยา
🔹 การปรับวิธีคิด : ปรับวิธีคิดที่มองตนเอง หรือ สถานการณ์ต่างๆรอบตัวแย่เกินจริงไปมาก จนเกิดความวิตกกังวล หรือ มักแปลความสิ่งต่างๆไปในแง่ลบมากเกินไป การรักษาปรับวิธีคิด หรือ วิธีแปลความสิ่งต่างๆให้เหมาะสมตามความเป็นจริง ให้กลับมามองเห็นสิ่งดีๆ เห็นศักยภาพในตนเอง หรือ แปลความสถานการณ์รอบข้างได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามความเป็นจริง
🔹 การทำจิตบำบัด : ในผู้ที่มีอาการรุนแรงมาก การทำจิตบำบัดแบบเชิงลึก เพื่อหาที่มาและช่วยแก้ไขปมขัดแย้งในจิตใจ ซึ่งรักษาโดยจิตแพทย์ หรือ นักจิตวิทยาคลินิค เพื่อให้กลับมารักและยอมรับตัวเองได้อย่างแท้จริง เกิดความรู้สึกมั่นคงขึ้นภายใน จะลดความสั่นไหวต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกลงไปอย่างมาก
🔹 การรักษาด้านร่างกาย : มียาที่ใช้รักษาหลายชนิด การใช้ยารักษาควรอยู่ในความดูแลของแพทย์/ เภสัชกร
❌ไม่แนะนำให้หาซื้อยารับประทานด้วยตนเอง‼️
.
.
เรียบเรียงโดย : สุขภาพดีไม่มีในขวด
1
ขอบคุณข้อมูลจาก :
2. เพจเภสัชกรอุทัย
3. Shyness and social phobia | Royal College of Psychiatrists. https://bit.ly/3lxE6VL.
โฆษณา