16 ก.พ. 2022 เวลา 06:47 • ปรัชญา
สมัยมนุษย์ยุคหินอาศัยอยู่ในถ้ำ เป็นหมื่นๆปีมาแล้ว ผมคาดว่า สิ่งที่มนุษย์ยุคนั้นเรียนรู้คือ “ถ้าไม่ช่วยกันออกล่ากวางหรือช้างแมมมอธ” มาทำอาหารกิน ก็คง “อดตาย” และสัญชาติญาณในการมีชีวิตรอดสอนให้มนุษย์รู้จักพึ่งตนเองเป็น “อันดับแรก”
ต่อมาเมื่อมนุษย์เรียนรู้การ “เพาะปลูก” มนุษย์ก็เริ่มเห็นความสำคัญของสภาพอากาศที่จะมีผลต่อ “ผลผลิต” ที่ตนได้ลงแรงลงเวลาเอาไว้ และผลผลิตดังกล่าวก็ยังหมายถึง “ความอยู่รอด” ของตัวเองอยู่ดี!
ด้วยเหตุผลที่มนุษย์ยุคนั้น ไม่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์มากนัก จึงมองเห็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติเป็นสิ่งที่หา “เหตุผล” มาอธิบายไม่ได้ พูดง่ายๆคือ “ความไม่รู้” เมื่อเกิดความไม่รู้ ก็เกิด “ความกลัว” ในสิ่งที่อยู่นอกเหนือจาก “อำนาจ” ในการควบคุมดูแล
และนี่อาจเป็นเหตุให้มนุษย์เริ่มให้ความสำคัญกับ สิ่งที่มีอำนาจ ที่มนุษย์ “เชื่อ” ว่า ควบคุมฟ้าฝน อันเป็นปัจจัยในการอยู่รอดในยุคนั้น
แน่นอนว่า “ความเชื่อ” เรื่อง “ผู้ที่อยู่เหนือมนุษย์” นั้นมีมานานแสนนาน และบางส่วนแปรเปลี่ยนไปเป็น “ศาสนา”
ผมมองศาสนาเป็น สองส่วน
1) เจ้าแห่งศาสนา: คือผู้ให้กำเนิดของศาสนานั้นๆ อาจเป็นมนุษย์หรือไม่ก็ได้ แล้วแต่ที่มาของแต่ละศาสนา
2) คำสอนของศาสนา: โดยส่วนตัว ผมให้ความสำคัญกับคำสอนมากที่สุด เพราะเป็นสิ่งที “จับต้อง” ได้มากกว่า
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
สำหรับผมแล้ว คำสอนที่ผมเคารพนับถือเป็นอันมากในพุทธศาสนาคือ
1) เน้นเรื่อง “ปัญญา” ไม่เน้นพิธีกรรม
2) สอนให้พึ่งตนเอง ไม่เน้นการอ้อนวอน
3) สอนให้ “ไม่เชื่อ” จนกว่าจะพิสูจน์เอง
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
ความเป็นวิทยาศาสตร์แห่ง พุทธศาสนานั่น ทำให้นักวิทยาศาสตร์อย่าง Albert Einstein เอง ยังให้ความสำคัญ
If there is any religion that could cope with modern scientific needs it would be Buddhism.
Albert Einstein
โฆษณา