17 ก.พ. 2022 เวลา 14:10 • ปรัชญา
แนวทางในการพิจารณาขันธ์ห้า เมื่อกายนิ่งจิตนิ่ง จึงพิจารณา
เรื่องสมาธิ จึงเป็นเรื่องการดำเนินความเจริญของชีวิตที่บุคคลนั้นไม่เคยรู้จักก็จะรู้จักขึ้นกับ สิ่งที่อยู่กับจิตเรา สมควรมั้ยที่ควรจะรู้จักที่เรียกว่าขันธ์ห้า มีรูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ การรู้จักขันธ์ห้าจะทำให้รู้จักอนัตตาคือสิ่งที่ไม่มีตัวตน แต่ก่อนนี้เรารู้จักแต่สิ่งที่มีตัวตนเท่านั้น มีกิเลส กิเลสตัวนี้คืออวิชชา ความไม่รู้ทั้งหลายที่เรากระทำหรือขึ้นประกอบขึ้นล้วนแล้วแต่เป็นอวิชชาคือความไม่รู้ทั้งสิ้น กิเลสข้อหนึ่งที่เป็นอวิชชาพาชีวิตเราเป็นไปตามลักษณะสามัญชนหรือสรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่เกิดมาตั้งอยู่ดับไป ด้วยสังขารที่อาศัย คือ เกิด แก่ เจ็บแล้วก็ตาย
มีสิ่งหนี่งที่ทำให้เรานั้นเวียนว่าย ตาย เกิด ก็คือเรื่องของอวิชชา เรื่องของอุปทาน และเรื่องของวิบาก ที่พระพุทธเจ้าเรียกว่านิสัยโลกปกคลุมอยู่ ความไม่รู้ทั้งสามประการที่กล่าวแล้วเป็นเรื่องสามัญปกติของชีวิตมนุษย์ที่เกิดและดับไป
พระพุทธองค์์ทรงถึงเรื่องนี้ดีเข้าใจดี ทรงเข้าใจอย่างเด่นชัด จึงได้บอกกล่าวขึ้น เรื่องของสมาธินั้นเป็นเรื่องสิ่งที่ทำให้เราเจริญ ความรู้ความใจที่เรีอกว่าปัญญาทำให้เราเจริญขึ้น ผ่อนคลายขึ้น ละวางขึ้นกับเรื่องราวทั้งหลายของขันธ์ห้านี้ ถ้าเราพิจารณาตามที่ท่านบอกเราจะเห็นชัดเลยว่า รูปก็สักแต่ว่ารูปมีรูปเกิด รูปหนุ่มสาว รูปแก่ รูปเจ็บแล้วก็รูปตายให้เราได้เห็น มีใครมั้ยที่ไม่ที่เกิดมาเป็นรูปแล้วไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตาย ซึ่งเราทุกคนคงจะไม่ปฏิเสธเรื่องของรูปที่ปรากฏในสายตาที่พบเห็น รูปที่เคยเห็นที่เคยยึดที่เคยว่าเป็นของเราเป็นของเขาหายไปไหน สุดท้ายธาตุทั้งสี่ขันธ์ทั้งห้านั้นก็ละลายไป
ถ้าเราพิจารณาในลักษณะอย่างนี้จะทำให้เราเข้าใจรูป ว่ารูปนี้สักแต่ว่าตั้งอยู่แล้วดับไป เป็นปัจจัยสำหรับบุคคลที่รู้หรือไม่รู้ ถ้ารู้จะละวางรูป และเก็บเอารูปนั้นขึ้นมาทำประโยชน์ เช่น นำรูปนั้นมาสวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิภาวนา ทำบุญตักบาตร เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ในบุคคลที่ใกล้ชิด เราก็จะได้ประโยชน์จากรูปที่เป็นอนัตตา เราก็คงขมีขมันใช้รูปนี้ให้เป็นประโยชน์ก่อนที่รูปนี้จะเป็นอนัตตา แต่ปกติคนเราใช้รูปไปในทางที่ลบหรือทางไม่ดี หรืออวิชชาเช่นใช้รูปไปในทางราคะคือความโลภ โทสะคือความโกรธ โมหะคือความหลง หลงรูป หลงปัจจัยสี่ หลงโลกธรรมแปด หลงทรัพย์สมบัติ ไปกระทั้งหลงลูก หลงหลาน หลงญาติพี่น้อง หลงเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายและสรรพสัตว์ทั้งหลาย หลงไปทุกอย่าง เพราะเราไม่เข้าใจในรูป จึงปล่อยให้รูปนั้นเป็นอวิชชาขึ้น เขาเรียกว่าใช้รูปไปในทางที่ไม่เป็นประโยชน์
แต่ถ้าเราใช้รูปนี้ให้เป็นประโยชน์โดยการตรึกตรองพิจารณาให้รู้จักสภาวะความเป็นจริงของรูป เราก็จะเข้าใจภาวะความเป็นจริงของรูป เราก็จะเข้าใจความเป็นจริงของรูปที่เกิดมาตั้งอยู่ เดี๋ยวก็ดับไป ก่อนที่รูปนี้จะละลาย อะไรที่ เป็นประโยชน์เป็นสาระแก่จิตดวงนี้ก็จะทำขึ้น เหมือนเรานำรูปมาตั้ง ตั้งอยู่ท่ามของสัจจธรรม คือความเป็นธรรมที่ที่เรียกว่านั่งสมาธิ เป็นประโยชน์แล้ว อย่างน้อยๆก็หยุดพักเรียงราวสิ่งที่เราไม่รู้เข้านั้นก่อน เช่นเรื่ยงราวของอารมณ์
ในขณะที่เรานำรูปมาตั้งในท่ามกลางของสัจจธรรม จิตเราก็รู้จักปฏิเสธ เรื่องราวที่จะทำให้เกิดเป็นองค์สมาธิขึ้น นี้แหละที่เรียกว่ารูปมีประโยชน์ ตามภาษาธรรมว่า เรียกว่า อย่าหลับนอนก่อนคิด พิจารณารูป อย่ามัวหลงรูปเหมือนอาหารว่าง ยังมีอีกมากมายของบุคคลที่ใช้รูปไม่เป็น ใช้รูปไปในทางที่เรียกว่าเป็นหนี้ของชีวิต คือเบียดเบียนผู้อื่นทำร้ายผู้อื่น ด้วยกิริยารูปนี้ ถ้าเราเข้าใจรูปสักนิดในองคุลีของพระพุทธเจ้า เราก็จะใช้รูปให้เป็นประโยชน์ ไม่ประมาทในชีวิตที่มีรูปแก่ รูปเจ็บ รูปตายให้เราเห็น เหมือนเราเกิดมาเพื่อรอตายแท้ๆ
อวิชชา อุปทาน วิบากกรรม เป็นปกติสามัญปกคลุมชีวิต กิเลส ความไม่รู้ที่เราประกอบพฤติกรรมด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมทั้งหลายขึ้นมานั้นล้วนประกอบด้วยอวิชชา อุปาทานความยึดถือ วิบากกรรม ที่อยู่กับธาตุทั้งสี่ ที่ประกอบก่อตัวขึ้นมาเป็นเรือนกาย
ปลงขันธ์ห้าพิจารณาขันธ์ห้า
 
ปลงรูป สักแต่ว่ารูป
การเดินทางของรูปที่ รูปเกิด รูปเด็ก รูปหนุ่มรูปสาว รูปแก่ รูปเจ็บ รูปตาย รูปที่เราเคยเห็นเคยยึดอยู่หายไปไหน เป็นปัจจัยให้รู้หรือไม่รู้ ถ้ารู้เราแล้วใช้รูปนี้อย่างไรให้เป็นประโยชน์ก่อนที่รูปนี้จะเป็นอนัตตา ปกติคนทั่วไปใช้รูปอย่างไร ใช้รูปนี้ไปตามราคะ โทสะ โมหะ
รู้จักความเป็นจริงของรูปก็ใช้ให้เป็นประโยชน์ นำรูปมาตั้งอยู่ในท่ามกลางสัจจธรรม ปฏิบัติธรรม ให้เกิดเป็นองค์สมาธิ
ไม่ใช้รูปนี้เบียดเบียนตนและผู้อื่น
 
คนเราอาศัยอยู่ในรูปนี้เหมือนรอตาย
 
รูปที่มีชีวิตมองเห็นด้วยสายตา รูปมนุษย์ รูปสัตว์ รูปที่มองไม่เห็นด้วยสายตานรก เปรต อสุรกาย เทพ อินทร์ พรหม
 
โยนิโส พิจารณารูป
๑ ฟังธรรมแล้วเราก็ควรนำไปตรึกไปตรองให้ได้เหตุผล
๒ เรื่องราวที่กระทบจากกายนี้ก็นำไปคิดตรึกตรองหาเหตุผลในความเป็นจริง ในสิ่งที่เกิดขึ้นในตน
ปลงเวทนา
เกิดมามีเวทนาอยู่ ๒ อย่าง คือทุกข์เวทนา สุขเวทนา ทุกข์กายทุกข์ใจ ลำบากกายลำบากใจ ทุกข์กายในสภาพของเราที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ส่วนพระอรหันต์ท่านไม่มีทุกข์ทางใจอีกแล้ว ส่วนเรายังมีทุกข์กายทุกข์ใจจากอารมณ์กรรมเป็นตัวกระทำที่มีต่อกาย วาจา ใจ เป็นอิตฐารมณ์ หรืออนิตฐารมณ์
ทุกข์สุขในสิ่งที่สมหวังไม่สมหวัง ในปัจจัยสี่ ในโลกธรรม
ทุกข์ไม่สมหวัง ในปัจจัยสี่ ในโลกธรรม
สุขในสิ่งที่สมหวัง ในปัจจัยสี่ ในโลกธรรม
ทุกข์ในบุคคลใกล้ชิดข้าทาสบริวาร สุขในบุคคลใกล้ชิดข้าทาสบริวาร เวทนาสุขทุกข์ในโลกธรรม
ปลงสัญญา
สัญญา ความจำได้ หมายรู้ กำหนดรู้ เช่นกำหนดชื่อของรูปนี้นามนี้ ปกติคนเราก็ใช้สัญญาไปตามอวิชชา ตามนิสัยโลกปกคลุมจิต
สัญญากรรม / สัญญาธรรม
สัญญากรรมที่มีอวิชชา อปุทาน วิบากกรรม มีอารมณ์กรรมเป็นตัวปรุง มีตัวจำหน่ายคือกาย วาจา คอยตอกย้ำสัญญากรรม
สัญญาทุกข์ สัญญาเกิด สัญญาตาย สัญญาตามสัญชาติญาณการดำรงชีวิต
สัญญาที่เกี่ยวเนื่องกับความพอใจไม่พอใจ
 
รู้จักสัญญาที่หมายรู้หมายจำ ก็สร้างสัญญาที่ดีด้วยการใช้วาจาที่ดี กายกรรมที่ดี
ปลงสังขาร
ตัวเรา กายเราเป็นสังขารที่ก่อตัวขึ้นมาด้วยอากาศธาตุ วิญญาณธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ อายตนะสิบสอง พร้อมด้วยจิตรวมกันเป็นสังขาร
อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ รวมตัวกันด้วยอายตนะที่ก่อตัวรวบรวมกรรมประกอบขึ้นมา จากกรรมที่ทำไว้ เป็นสังขารกรรม
ลึกลงไปจากสังขารกรรม คือสังขตเป็นจิตที่พัวพันกับธาตุ สี่ ..อายตนะ..อารมณ์ ..เป็นจิตที่ต้องใช้กรรมกับธาตุทั้งสี่
รู้จักสังขตรู้จักสังขารกรรม ก็นำจิตมาประพฤติปฏิบัติธรรมในกิริยาพระห้าประการ ยืนสมาธิ เดินสมาธิ นั่งสมาธิ ไสยาสน์สมาธิ ด้วยจิตที่เป็นมัชฌิมา (จิตเฉย)
 
สังขารคือโลก สังขตนั้นเป็นจิต
เมื่อรู้จักสังขารก็นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์
ปลงวิญญาณ
ตาเห็นรูป จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส หูได้ยินเสียง นั้นเป็นวิญญาณ สัมผัสการรับรู้ทั้งหมดที่เป็นคือธรรมารมณ์ มีอวิชชา มีอุปทาน วิบากกรรม ปรุงแต่งเป็นกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
ลึกลงไปคือให้รู้ทันเรื่องที่เกิดในวิญญาณ เห็นวิญญาณเป็นเรื่องของทุกข์
เช่นทุกข์ที่ตาเห็นเขาผิดเห็นรูปนั้นไม่ดีเพราะวิญญาณของเรานั้นเป็นวิญญาณร้าย วิญญาณเราจีงไม่เห็นเขาดี เมื่อเรามีวิญญาณร้ายอยู่เราก็ต้องแก้ไขวิญญาณของเรา ทำให้ดีทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตน
 
รู้จักขันธ์ห้าก็นำ ศีล สมาธิ ปัญญา ควบคุมพฤติกรรมกาย วาจา ใจ ของตนไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น รักษาจิตของตนให้พ้นบ่วงของกรรม พ้นนิสัยโลกที่ปกคลุมจิต ให้จิตของตนผ่านพ้นทุกข์ ผ่านพ้นอวิชชาอปุทานวิบากกรรม ด้วยสติธรรมที่ตนรู้และเข้าใจ
หมายเหตุ ..กิริยานั่ง เพื่อขอเรียนศึกษาทำ กราบพระก่อน ทำจิตเหมือนเราอยู่หน้าพระพักตร์ขององค์พระสัมมาสัมพุทธะเจ้า ต้องนอบน้อมถ่อมตน เปรียบเหมือน จิตเราเป็นจิตน้อย เข้าไปหาผู้ใหญ่ เทพอินทร์ท่านก็นั่งพับเพียบ คนธรรพ์ก็นั่งพับเพียบเรียบร้อย เราต้องนอบน้อมถ่อมตน เพราะเรายังไม่รู้จักอะไรเลย เรื่องราวที่แท้จริง หูทิพย์ตาทิพย์เค้ามองดูการกระทำของเรา ว่าจะทำจริงมั้ย เราสำรวจตัวเอง ทั้งกายทั้งจิต ไม่ต้องไปนึกคืออะไร เมื่อพร้อม สำรวจกายบิดามารดาที่จิตเราอาศัยอยู่ เรียบดีแล้วจึง หลับตาภาวนาพุทโธขึ้น ทำไปเรื่อยจนครบเวลาที่เรา กำหนดขึ้นเป็นเวลาของธรรม (ไม่ใช่เวลาทำมาหากิน) เราต้องบอกเตือนตัวเราเอง แล้วอย่ากระทำแบบเป็นของเล่น เป็นเด็กผมแกะผมจุกที่จะทำให้เราไม่ได้อะไรเลย เป็นจิตเด็กผมแกะผมจุกอยู่อย่างนั้น ทุกครั้งที่กระทำปฏิบัติธรรมต้องกราบเสียก่อน ออกจากสมาธิก็ต้องกราบลา ฝากการกระไว้กับดินฟ้าอากาศ
โฆษณา