20 ก.พ. 2022 เวลา 03:41 • สุขภาพ
R.I.P อาต้อย–เศรษฐา ศิระฉายา
จากโลกนี้ด้วยวัย 77 ปี หลังป่วยด้วยโรคมะเร็งปอด
29
ล่าสุดอี๊ฟ พุทธธิดา ลูกสาวโพสต์รูปท้องฟ้า ระบุ “4.42” ท่ามกลางคนรักอาต้อยมาแสดงความเสียใจในการสูญเสียครั้งนี้
14
4.42 IG: @yvessirachaya
หลังจากที่ต้องกลับเข้าไปรักษาตัวด้วยโรคมะเร็งปอดระยะที่ 4 เพื่อทำคีโมอีกรอบ
1
ซึ่งก่อนหน้านี้อาต้อยมีร่างกายซูบผอมเนื่องจากผลของการทำคีโมทำให้นักแสดงอาวุโสทานอาหารไม่ค่อยได้ จนต้องให้อาหารทางสายยาง
9
มะเร็งปอด
3
มะเร็งปอด คือโรคที่พบมากเป็นอันดับที่ 2 ของมะเร็ง ในผู้ชาย และอันดับที่ 4 ของมะเร็งในผู้หญิง พบมาก ในช่วงอายุ 50-75 ปี มะเร็งปอดมีอยู่หลายชนิด ชนิดที่ร้ายแรงแพร่กระจายเร็วได้แก่ small cell carcinoma
4
สาเหตุ มะเร็งปอด
ร้อยละ 80-90 เกิดจากการสูบบุหรี่ ยิ่งสูบมากและ นานก็ยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้มากขึ้น ร้อยละ 5 เกิดจากการรับควันบุหรี่จากผู้อื่น
4
อาจเกิดจากการสัมผัสสารใยหินหรือแอสเบสตอส จากการทำงาน เช่น การก่อสร้างอาคาร การทำงานที่เกี่ยว กับผ้าเบรก คลัตซ์ ฉนวนกันความร้อน อุตสาหกรรม สิ่งทอ เหมืองแร่ เป็นต้น ซึ่งใช้เวลาสัมผัสนาน 15-35 ปีกว่าจะเป็นมะเร็งปอด ถ้าสูบบุหรี่ด้วยก็ยิ่งเสียงมากขึ้น
3
นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากการสัมผัสเรดอน (radon ซึ่ง เป็นก๊าชกัมมันตรังสีที่เกิดจากการสลายตัวของแร่ยูเรเนียมในหินและดิน กระจายอยู่ในอากาศและน้ำ ใต้ดิน อาจพบตามเหมืองใต้ดิน อาคารที่ใช้วัสดุก่อสร้าง ที่ปนเปื้อนก๊าชนี้) มลพิษทางอากาศ (เช่น ควันพิษจากรถยนต์) โรงงานถลุงเหล็กนิกเกิลโครเมียม แคดเมียม โรงงานน้ำมัน ดินน้ำมัน เขม่าจากโรงงาน การดื่มน้ำที่มี สารหนูเจือปน การกินผักและผลไม้น้อย
6
บางครั้งพบมะเร็งปอดในผู้ป่วยที่มีแผลเป็นใน ปอดจากโรคปอด เช่น วัณโรคปอด ถุงลมโป่งพอง ภาวะเยื่อพังผืด (fibrosis) ในปอด เป็นต้น มักพบในมะเร็งปอดชนิดเซลล์ต่อมเมือก (adenocarcinoma) ในผู้หญิงและผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ (มะเร็งปอดที่พบบ่อยเป็น ชนิดเซลล์เยื่อบุที่เรียกว่า squamous cell carcinoma ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่)
บางรายอาจเป็นมะเร็งปอดโดยไม่มีประวัติการสูบบุหรี่หรือการสัมผัสสารก่อมะเร็งมาก่อนก็ได้
8
อาการ มะเร็งปอด
1
ระยะแรกเริ่มไม่มีอาการ ต่อมาจะมีอาการไอ เรื้อรัง อาจไอมีเลือดปนเสมหะหรือไอออกเป็นเลือดสด จำนวนมาก (หากมะเร็งลามถูกหลอดเลือด) หายใจมี เสียงดังวี้ด (หากหลอดลมถูกอุดกั้นจากก้อนมะเร็ง) หรือเจ็บหน้าอกเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน (หาก ลามไปที่เยื่อหุ้มปอด หรือกระดูกซี่โครง) อาจทำให้เข้าใจ ผิดว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือด
4
ต่อมาผู้ป่วยมักมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หายใจหอบเหนื่อย (จากภาวะมีน้ำในโพรง เยื่อหุ้มปอด) และอาจมีปอดอักเสบ แทรกซ้อน
6
หากมะเร็งลามไปยังอวัยวะข้างเคียง ก็อาจมีอาการ เสียงแหบ กลืนลำบาก ปวดแขน แขนชาและอ่อนแรง หนังตาตกและรูม่านตาหดเล็กข้างหนึ่ง มีอาการบวมที่ ใบหน้า คอ และหน้าอกส่วนบน หัวใจเต้นผิดจังหวะ
3
ระยะท้าย มะเร็งมักจะลูกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง ที่คอหรือแอ่งไหปลาร้า และอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง (มีอาการปวดศีรษะ สับสน ชัก) ตับ (ตับโต ดีซ่าน ท้องมาน)ไขสันหลัง (ขาชาและอ่อนแรง) กระดูก (ปวดกระดูก) เป็นต้น บางครั้งผู้ป่วยอาจมาปรึกษาแพทย์ด้วยอาการที่มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะเหล่านี้มากกว่า อาการของมะเร็งปอดโดยตรง (ไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด)
1
การรักษา มะเร็งปอด
หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล แพทย์จะทำการ วินิจฉัยโดยการเอกซเรย์ปอด ถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ตรวจหาเซลล์ มะเร็งในเสมหะ ใช้กล้องส่องตรวจหลอดลม (bron-choscopy) การใช้เข็มเจาะเนื้อปอดนำไปตรวจชิ้นเนื้อ (needle biopsy) แพทย์จะให้การรักษาด้วยการผ่าตัด รังสีบำบัด และ/หรือเคมีบำบัด ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดและ ระยะของมะเร็งที่พบ เนื่องจากมะเร็งปอดมักจะลุกลามเร็วและวินิจฉัย
เคมีบำบัด หรือคีโม
5
การรักษาด้วยเคมีบำบัด (Chemotherapy) หมายถึง การให้ยาเพื่อทำลายหรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง การออกฤทธิ์ของยาเคมีบำบัดนั้นอยู่บนพื้นฐานความรู้เรื่องการแบ่งเซลล์ในสิ่งมีชีวิต ดังนั้นหากเราให้ยาเคมีบำบัดที่สามารถไปยับยั้งการแบ่งเซลล์ดังกล่าวนี้ ก็จะสามารถทำลายเซลล์มะเร็งให้หมดไปได้
ยาเคมีบําบัด หรือที่คนโดยส่วนใหญ่เรียกสั้นๆ ว่า “คีโม” ย่อมาจาก “คีโมเทอราปี” (Chemotherapy) หมายถึง สารเคมีหลายชนิดที่ออกฤทธิ์ต้าน หรือทําลายเซลล์มะเร็ง โดยมีเป้าหมายสําคัญ คือ ยาเคมีบําบัดจะออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งหลายรูปแบบที่แบ่งตัวเร็ว และต่อเนื่อง ทําให้เซลล์ไม่สามารถแบ่งตัวต่อไป และตายในที่สุด
1
อย่างไรก็ดีเนื่องจากยาเคมีบำบัดไม่ได้ออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงกับเซลล์มะเร็งเท่านั้น จึงอาจส่งผลกระทบต่อเซลล์ปกติของร่างกายทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้
ในปัจจุบันได้มีการพัฒนายาเคมีบำบัดรุ่นใหม่ๆ จากองค์ความรู้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ได้ยาเคมีบำบัดที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งบางชนิด ที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงกับเซลล์มะเร็งโดยตรง (Targeted Chemotherapy) ทำให้มีประสิทธิภาพในการรักษาดีขึ้นกว่าในอดีต ช่วยลดผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด และทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นอย่างชัดเจน เช่น ในโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
8
ทำไมต้องให้ยาเคมีบำบัด?
โดยทั่วไปการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด มีวัตถุประสงค์ดังนี้
3
  • 1.
    รักษาผู้ป่วยให้หายจากโรคมะเร็ง และไม่กลับมาเป็นซ้ำ โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะเริ่มต้น
  • 2.
    ควบคุมโรค ให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลงหรือไม่โตขึ้น และไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น
  • 3.
    บรรเทาอาการจากโรค สำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะแพร่กระจาย เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
  • 4.
    ทั้งนี้ก่อนเริ่มการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะต้องประเมินสภาพร่างกายของผู้ป่วย โรคประจำตัว รวมถึงการทำงานของอวัยวะระบบต่างๆ เพื่อพิจารณาเลือกให้ยาเคมีบำบัด ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากที่สุด และมีผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยน้อยที่สุดด้วย
4
ยาเคมีบำบัดเป็นเช่นไร ?
3
ยาเคมีบําบัด มีหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่เป็นยาฉีดโดยการหยดร่วมกับสารน้ำเข้าทางหลอดเลือดดํา ยาเคมีบําบัดแบบรับประทานช่วยในการบริหารยาสะดวกมากขึ้น ลดการนอนพักเพื่อให้ยาเคมีบําบัดในโรงพยาบาล การให้ยาเคมีบําบัดในรูปแบบอื่นพบไม่บ่อย เช่น การให้ยาเคมีบําบัดทางหลอดเลือดแดง ในโรคมะเร็งตับจะให้ยาเคมีบําบัดทางช่องไขสันหลังที่มีน้ำไขสันหลัง เพื่อจัดการมะเร็งที่กระจายเข้าไปในเยื่อหุ้มสมอง และไขสันหลัง
2
เพราะเหตุใดจึงต้องมีช่วงเวลาพักในการให้ยาเคมีบำบัด?
12
เซลล์ ปกติในร่างกายบางชนิดมีการแบ่งตัวต่อเนื่อง อาทิ เซลล์เม็ดเลือด เซลล์ผิวหนัง เยื่อบุทางเดินอาหาร เส้นผม ดังนั้น การทําลายเซลล์มะเร็งของยาเคมีบําบัด อาจทําลายเซลล์ปกติในร่างกายที่กําลังแบ่งตัวด้วย แต่โดยทั่วไปแล้วเซลล์ปกติของร่างกายจะมีกําลังที่จะสามารถฟื้นตัวได้ในภายหลังจากหยุดพักยาเคมีบําบัดชั่วคราว การให้ยาเคมีบําบัดจึงต้องมีระยะเวลาพักยา เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวจากผลข้างเคียงของยา สูตรยาเคมีบําบัดจึงเป็นการให้ยาเป็นระยะ สำหรับสภาวะร่างกายหลังได้รับยาเคมีบำบัดการฟื้นตัว
อาการจากผลข้างเคียงของยาเคมีบําบัดที่จะเกิดขึ้นในแต่ละคนอาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของเคมีบําบัดที่ได้รับ สภาพร่างกายก่อนที่ได้รับยาเคมีบําบัด ชนิด และระยะของโรคมะเร็ง จะพบว่าผลข้างเคียงที่มักพบได้ในผู้ป่วยส่วนใหญ่คือ อาการอ่อนเพลีย ซึ่งอาจจะเกิดประมาณ 3-7 วันหลังจากได้รับยาเคมีบําบัด หากผู้ป่วยรู้สึกว่าหายจากอาการอ่อนเพลีย และผลข้างเคียงต่างๆ จากยาเคมีบําบัด ก็สามารถทำงานที่รับผิดชอบได้ตามปกติ
3
ประวัติ
3
เศรษฐา ศิระฉายา มีชือเล่นว่า ต้อย เกิดเมื่อวันที่ 6 พ.ย. พุทธศักราช 2487จบมัธยมปลายจากโรงเรียนวัดบวรนิเวศ เข้าสู่วงการบันเทิงตั้งแต่อายุประมาณ 16 ปี ด้วยการขนเครื่องดนตรีในวงดนตรีตามคำชักชวนของน้าชายของเขา สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ อดีตพระเอกภาพยนตร์ชื่อดังในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาเศรษฐาได้ฝึกหัดทักษะด้านดนตรีแบบครูพักลักจำ จนกระทั่งได้ก้าวขึ้นมาเป็นนักร้องตามสถานบันเทิงต่าง ๆ เช่น ตั้งวงหลุยส์กีต้าร์เกิร์ล กระทั่งได้รวมตัวกับเพื่อน ๆ นักดนตรีตั้งวงดนตรี Holiday J-3 ร่วมกับวินัย พันธุรักษ์, พิชัย ทองเนียม, อนุสรณ์ พัฒนกุล และสุเมธ อินทรสูต
10
ต่อมา เปลี่ยนชื่อเป็น Joint Reaction และเปลี่ยนอีกครั้งในชื่อ The Impossibles ซึ่งเป็นชื่อการ์ตูนชื่อดังของอเมริกาในสมัยนั้น โดยเขารับบทบาทเป็นนักร้องนำ ปี พ.ศ. 2512 ดิอิมพอสซิเบิ้ลสามารถคว้าถ้วยพระราชทานรางวัลชนะเลิศการประกวดวงสตริงคอมโบ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ส่งผลให้เริ่มเป็นที่นิยมและเป็นจุดเปลี่ยนให้เศรษฐาได้เข้ามาสัมผัสโลกภาพยนตร์เป็นครั้งแรก เมื่อเขาและเพื่อน ๆ ได้รับการทาบทามจาก เปี๊ยก โปสเตอร์ ให้มาร่วมบรรเลงเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง โทน
9
ทั้งนี้ เศรษฐา จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ หลักสูตรโครงการพิเศษ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ระดับปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ สาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต MBA มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีและปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ดิอิมพอสซิเบิ้ลยังคงชนะเลิศการประกวดวงสตริงคอมโบอีก 2 ครั้งติดต่อกัน หลังจากนั้นและได้บรรเลงเพลงประกอบภาพยนตร์อีกหลายเรื่อง อาทิ ดวง (2514), สวนสน (2514), ระเริงชล (2515), ตัดเหลี่ยมเพชร (2518) ฯลฯ กลายเป็นวงที่มีชื่อเสียงโด่งดัง
9
ปี พ.ศ. 2518 หลังกลับมาจากการไปทัวร์ที่ต่างประเทศ เศรษฐาก็ได้รับการชักชวนจาก จุรี โอศิริ ให้มาแสดงภาพยนตร์อย่างจริงจังครั้งแรกคือเรื่อง ฝ้ายแกมเพชร (2518) แต่ก็ได้รับรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมมาครองจากผลงานดังกล่าวได้ทันที
1
ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ดิอิมพอสซิเบิ้ลประกาศยุบวงอย่างเป็นทางการ เศรษฐาจึงก้าวเข้าสู่โลกมายาอย่างเต็มตัว มีบทบาทโดดเด่นทั้งการเป็นพิธีกรและนักแสดง นับเป็นดารายอดฝีมือคนหนึ่งซึ่งสามารถรับบทบาทได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นบทดี บทร้าย บทตลก ส่งผลให้มีผลงานออกมามากมายจวบจนปัจจุบัน โดยเรื่องที่โดดเด่นที่สุดเรื่องหนึ่งคือชื่นรัก(2522) ซึ่งเขาได้รับบทพระเอกประกบคู่กับ อรัญญา นามวงศ์ นางเอกชื่อดัง เป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ให้ทั้งคู่กลายเป็นคู่ชีวิตกันในเวลาต่อมา
9
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2554 เศรษฐา ศิระฉายา ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สายาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง) และมีผลงานต่างๆทั้งร้องเพลงและการแสดงเรื่อยมา
9
โฆษณา