20 ก.พ. 2022 เวลา 09:21 • สุขภาพ
ผมเข้าอ่านคำถามยอดฮิตเข้าพบคำถามว่า
..เราจะมีวิธีจัดการอย่างกับความเครียดที่ไม่มีทางออก... ก็ได้ตอบปัญหาให้น้องได้ทิศทางแก้ปัญหาขณะเดียวกันก็นำมาแชร์ที่นี่ด้วยเพราะมีประโยชน์กับผู้คน..
..ถ้าเห็นคำถามนี้แล้วข้ามไปโดยไม่ตอบก็ใจดำเกินไป...
..ก่อนอื่นขอแยกแยะคำถามก่อนนะครับว่าต้องการคำตอบอะไรบ้าง..
1 วิธีจัดการกับความเครียด
2 ปัญหาที่ยังแก้ไขไม่ได้
...ประการแรก ความเครียด คืออะไร มีกี่ระดับ รักษาหาทางออกได้หรือไม่
ความเครียด คือสภาวการณ์ทางสุขภาพจิตและกายเกิดการเปลี่ยนแปลงในการสะท้อนปัญหาที่มากระทบ ปัญหาเบาเครียดน้อย ปัญหาหนักเครียดหนัก ระดับความเครียด มีระดับเบา ระดับปานกลาง ระดับมาก การจัดการระดับความเครียดก็จะมีวิธีแตกต่างกันไป
ระดับเบา เกิดขึ้นกับทุกคน เกิดจากความคับข้องใจ ไม่พอใจ ไม่ถูกใจ เกิดขึ้นง่ายหายเร็ว เช่น ก่อนสอบ ก่อนสัมภาษณ์ การพูดหน้าชั้นเรียน หน้าชุมชน การเผชิญหน้ากับอริ เช่นชกมวยบนเวที การประกวดร้องเพลง ฯลฯ
...ความเครียดระดับเบาเมื่อพ้นจากสถานการณ์สิ่งเร้านั้นผ่านไป ความเครียดก็จะลดระดับลงเหมือนน้ำร้อนที่ดับไฟแล้วอุณหภูมิจะค่อยๆลดลง ความเครียดระดับนี้มีส่วนดีคือผู้มีประสบการณ์ความเครียดจะสามารถลดภาวะเครียดโดยมีกลไกป้องกันตัวเองได้คือหากเครียดเพราะการพูดหน้าชุมชนเราก็จะหัดฝึกซ้อมบ่อยๆจนความเครียดไม่มี เป็นต้น ส่วนความเครียดระดับกลาง คือมีปัญหาเพิ่มความสลับซับซ้อนคือปัญหาจากภายนอกจากคนอื่น หรือสิ่งอิ่นที่เราควบคุมไม่ได้ และเกิดความเครียดสะสมใช้เวลาที่มากกว่าระดับเบา เช่นปัญหาระหว่างบุคคลที่ต้องทำงานด้วยกันและต้องทนอยู่ด้วยกันเป็นเวลานานๆ จะเกิดปัญหาสุขภาพจิตสะสมโดยที่คู่กรณีอาจไม่รู้สึกอะไรเลย เครียดระดับนี้เริ่มมีการแปรปรวนทางจิตและกายผสมกันแต่ยังพอรักษาหายด้วยวิธีออกกำลังกาย ดนตรี และกีฬา หรือใช้ยาช่วย เช่นยาคลายเครียด ยารักษาโรคภูมิแพ้
...เพราะหากเราเครียดมากๆเป็นเวลานานๆ อาจเป็นสาเหตุของภูมิแพ้บางอย่างบางประการได้ หรือร่างกายเหนื่อยเพลียตลอดเพราะร่างกายหลั่งสารเคมี ขณะเราตื่นเต้น เครียด ตกใจทำให้เราเหนื่อยอ่อนหมดแรง.
...เครียดระดับหนักมาก ระดับสูง เปรียบ กับสิ่งเหล่านี้คือลูกโป่งที่ถูกเข็ม หรือ เครียดหนักจนไม่สามารถตั้งสติดีพอที่จะเผชิญกับปัญหาที่มากระทบได้ เช่นการมีอาการทางกายผสมเช่น เป็นโรคที่รักษาไม่หาย การสูญเสียของรัก คนรักถูกรังแก ระยะความเครียดและกลไกลดระดับความเครียดขึ้นอยู่กับประสบการณ์และกลไกและทักษะส่วนบุคคลที่สามารถจัดการได้มากน้อยต่างกัน อาการ หลุด คือการขาดสติ และไม่สามารถประคับประคองความคิดความอ่านให้กลับมาดำเนินชีวิตปกติได้....
......การแก้ปัญหา เป็นกลไกธรรมชาติ ..เป็นทักษะที่สามารถฝึกและกลับกลายเป็นคนที่สนุกกับการแก้ปัญหาได้หรือไม่...
...ความคิดแก้ปัญหาและการตัดสินใจ เป็นกระบวนการคิดที่สามารถฝึกได้ครับและเป็นทักษะชีวิตติดตัวและจะถูกนำมาใช้ในภาวะคับขันทันท่วงที โดยอัตโมมัติ ..ทักษะทางจิตก็เหมือนทักษะทางกายยิ่งฝึกยิ่งคมคนส่วนใหญ่ไม่เคยฝึกพอพบเจอปัญหาก็มักจะจนแต้มและยอมแพ้แก่ปัญหาโดยง่ายโทษโชคชะตาไม่เข้าข้าง เป็นต้น แล้วกระบวนการคิดแก้ปัญหาและการตัดสินใจคืออะไร มีวิธีการคิดอย่างไรบ้าง
.. ..ยกตัวอย่างปัญหา เด็กชาย ก มีนิสัยขึ้ขโมยของทุกอย่าง ขาดเรียนเป็นประจำ ไม่ตั้งใจเรียน หายไปนอกห้องบ่อยๆ
ขั้นตอนที่ 1 รวบรวมข้อมูล ครูเรียกเพื่อนที่ใกล้ชิดมาสอบถามเพื่อหาสาเหตุ ไปพบชาวบ้านใกล้เคียง พบผู้ปกครอง
ขั้นตอนที่ 2 พบปัญหา เมื่อไปบ้านพบว่า ดช. ก ถูกพ่อแม่ทอดทิ้งให้อยู่กับยาย และยายกำลังป่วย ข้างที่นอนยายมียาต่างๆ ที่ ดช. ก ขโมยมาให้ยายกินรักษาตัว และ ดช. ก ต้องทำงานเพื่อหาเงินมาเลี้ยงยาย ทำให้ ด.ช. ก ต้องหนีเรียนมารับจ้างดายหญ้า ทำงานจิปาถะเพื่อนำเงินมาเลี้ยงยายที่เลี้ยงตนมา
ขั้นตอนที่ 3 แสวงหาทางออก ได้แก่ การสอนพิเศษ การหางานเสริมรายได้ การขอทุน ฯลฯ
ขั้นตอนที่ 4 การตัดสินใจ จากทางออกที่มีหลายวิธี โดยเลือกทางออกที่เหมาะสมในสถานการณ์โดยจัดลำดับขั้นตอนจากง่ายไปหายากจากน้อยไปหามาก
...เราสามารถหยิบยกปัญหาของผู้อื่นมาเข้ากระบวนการคิดแก้ปัญหาและการตัดสินใจบ่อยๆเพื่อเกิดความเชี่ยวชาญ ชำนาญ คล่องตัวทางความคิด ทุกสิ่งอยู่ที่การฝึกหัดๆบ่อยๆก็จะชินต่อวิธีรับมือกับปัญหาอย่างมีสติ .
..เมื่อใช้ได้ผลแล้วก็ต้องแชร์ให้กับผู้อื่นเพื่อขยายภูมิคุ้มกันปัญหาต่างๆ พอถึงเวลานั้นแล้วเราก็จะคิดว่า ปัญหาง่ายนิดเดียว...
โฆษณา