22 ก.พ. 2022 เวลา 07:55 • ข่าวรอบโลก
(ถ้าเกิด) สงครามยูเครนรัสเซีย จะเป็นอย่างไร?
( บทความนี้ลงไว้เมื่อ 5 วัน ก่อนในเพจ แต่เห็นว่ายังอยู่ในกระแส จึงขอนำมาลงอีกครั้งนะครับ )
“ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2022 ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ได้ต่อสายหารือกับประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน เพื่อหาข้อยุติความขัดแย้ง” อย่างไรก็ตามทั้งสองฝ่ายกลับยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงทางการทูตได้ ส่งผลให้การเสริมกำลังบริเวณชายแดนยังดำเนินต่อไป
7
ณ ปัจจุบันประเทศต่างๆ ได้ออกประกาศเตือนพลเรือนของตนให้อพยพจากยูเครนอย่างรวดเร็วที่สุด หลังจากกองทัพรัสเซียทำการระดมกำลังทหารกว่า 130,000 นาย พร้อมด้วยยุทโธปกรณ์หนักจำนวนมหาศาล มาประจำการบริเวณชายแดนยูเครนและเบลารุส ทำให้หลายฝ่ายแสดงความวิตกว่า “ความขัดแย้งอาจขยายตัวเป็นสงคราม?”
นี่ไม่ใช่การแสดงแสนยานุภาพครั้งแรกของรัสเซียที่ถือไพ่เหนือกว่ายูเครนในวิกฤตความขัดแย้งทุกครั้ง อย่างไรก็ตามหลายฝ่ายเริ่มแสดงท่าทีวิตกว่าสิ้งที่กำลังเกิดขึ้น “อาจกลายเป็นสัญญาณเตือนสุดท้าย ก่อนที่ยูเครนจะกลายเป็นสนามรบแห่งใหม่บนแผ่นดินยุโรปในศตวรรษที่ 21?”
5
*** สัญญาณของสงครามครั้งใหม่? ***
ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนกลายเป็นประเด็นที่ทุกฝ่ายต่างจับตามอง เมื่อผู้นำรัสเซียสั่งระดมกำลังทหารกว่า 1 แสนนาย พร้อมด้วยยุทโธปรณ์หนักต่างๆ ทั้ง รถถัง, ขีปนาวุธพิสัยใกล้, อากาศยานทางทหารต่างๆ, และกองเรือจำนวนมาก เข้าประชิดชายแดนฝั่งตะวันออกของยูเครน
โดยให้เหตุผลว่าพวกเขาจำเป็นต้องปกป้องอธิปไตยของชาติ จากการขยายอำนาจของชาติตะวันตก
ภาพแนบ: การขยายตัวของนาโต้
เพื่อตอบคำถามในประเด็นดังกล่าว… เราจำเป็นต้องเข้าแนวคิดการวางนโยบายด้านความมั่นคงและความกังวลของรัสเซียที่นำไปสู่การแสดงท่าทีแข็งกร้าวบนเวทีระหว่างประเทศ
2
สรุปง่ายๆ คือพวกเขาเห็นการขยายตัวอย่างรวดเร็วขององค์การนาโต้ ซึ่งใช้เวลาเพียง 3 ทศวรรษในการจูงใจให้กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกที่เคยตกอยู่ใต้อำนาจของสหภาพโซเวียตมาเข้ากับตน จนชาติยุโรปตะวันออกมากถึง 14 ประเทศ ต่างหันไปสวามิภักดิ์ฝ่ายตะวันตก
1
ภาพแนบ: กองทัพรัสเซียในสงครามจอร์เจีย - รัสเซีย
การขยายตัวอย่างรวดเร็วนี้ กลายเป็นความกังวลว่ารัสเซียกำลังถูกปิดล้อมทางภูมิศาสตร์ และถ้าหากพวกเขายอมให้ยูเครนดำเนินความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับตะวันตกอยู่อย่างนี้ วันหนึ่งพวกเขาจะไม่เหลือแนวป้องกันด้านภูมิรัฐศาสตร์อีกเลย
12
ส่งผลให้นโยบายการต่างประเทศของรัสเซียต่ออดีตชาติสมาชิกโซเวียตในยุคหลัง (คือยุคปูติน) นั้น ดำเนินไปอย่างเเข็งกร้าว ตัวอย่างซึ่งชัดเจนที่สุดคือ การทำสงครามกับจอร์เจียเมื่อปี 2008 ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของกองทัพรัสเซียในเวลาเพียง 12 วันเท่านั้น!
2
ภาพแนบ: ปูตินในการประชุมบูคาเรสต์
*** บทเรียนจากจอร์เจียถึงยูเครน ***
1
โดยก่อนหน้านั้นในปี 2008 ประธานาธิบดีปูตินได้ออกโรงเตือนผู้แทนของชาตินาโต้ ระหว่างการประชุมในกรุงบูคาเรสต์ว่า “การเสนอสถานะสมาชิกนาโต้ให้แก่จอร์เจียคือการคุกคามรัสเซียโดยตรง”
4
ต่อมาเกิดเหตุอากาศยานไร้คนบังคับของจอร์เจียถูกยิงตกเหนือน่านฟ้าอับคาเซีย ซึ่งเป็นบริเวณข้อพิพาทระหว่างกองทัพรัฐบาลและฝ่ายกบฎ
1
รายงานของรัสเซียระบุว่า ทางจอร์เจียดำเนินการเสริมกำลังทหารกว่า 1,500 นายใกล้กับพื้นที่ความขัดแย้ง ส่งผลให้รัสเซียตัดสินใจเพิ่มกำลังของเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพกว่า 2,500 นายเพื่อควบคุมสถานการณ์ อย่างไรก็ตามความขัดแย้งระหว่างทั้งสองฝ่ายกลับมิได้ลดความตึงเครียดลงแม้แต่น้อย
2
ภาพแนบ: ทหารจอร์เจียระหว่างล่าถอย
จากนั้นกองทัพฝ่ายกบฏและรัฐบาลต่างเปิดฉากการต่อสู้อยู่เป็นระยะ จนกระทั่งเกิดเหตุกองทัพจอร์เจียส่งกำลังเข้ารุกรานพื้นที่ของฝ่ายเซาท์ออสซีเตีย เพื่อตอบโต้การโจมตีที่ออกมาจากจุดนั้น แต่การปะทะกลับขยายความรุนแรงขึ้นจนมีเจ้าหน้าที่ของฝ่ายรักษาสันติภาพชาวรัสเซียเสียชีวิตจากการสู้รบ
4
เหตุการณ์ดังกล่าวกลายเป็นความชอบธรรมให้กับรัสเซียในการส่งกำลังเข้าควมคุมบริเวณข้อพิพาทและกดดันให้จอร์เจียถอนกำลัง แน่นอนว่าฝ่ายจอร์เจียนั้นปฏิเสธ ส่งผลให้ผู้นำรัสเซียประกาศสงครามในทันที และใช้กองทัพที่มีศักยภาพมากกว่า บุกเข้าบดขยี้ที่มั่นตามเมืองต่างๆ ของจอร์เจียจนพังพินาศในเวลาสั้นๆ
2
ภาพแนบ: พิธีรำลึกสงครามรัสเซีย-จอร์เจีย
แม้ว่าฝ่ายจอร์เจียจะทำการสู้รบอย่างสุดความสามารถ แต่พวกเขาก็กลายเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในเวลาเพียงไม่กี่วัน ขณะที่ฝ่ายตะวันตกผู้เป็นความหวังในการคานอำนาจกับรัสเซีย สามารถทำได้เพียงรับบทเป็นไกล่เกลี่ยเจรจาเมื่อสงครามยุติลง
2
ความสำเร็จดังกล่าวกลายมาเป็นพื้นฐานของนโยบายการต่างประเทศของรัสเซียที่พร้อมจะใช้มาตรการแข็งกร้าว เพื่อกดดันอดีตประเทศสมาชิกโซเวียตใดๆ ซึ่งพยายามตีตัวออกห่าง เพราะพวกเขาเชื่อว่า “วิธีโหดๆ คือวิธีการเดียวที่จะปกป้องอธิปไตยของตนเองเอาไว้ได้”
3
7. *** ความสำคัญของยูเครน ***
1
เป็นที่ทราบกันดีว่ายูเครนนั้นเป็นประเทศซึ่งมีแผ่นดินกว้างใหญ่ไพศาลและอุดมไปด้วยทรัพยากรที่สำคัญทั้งผลผลิตจากสินค้ากสิกรรมอาทิ น้ำมันดอกทานตะวัน, ข้าวสาลี, และน้ำตาล ทางภาคตะวันตก นอกจากนั้นยังมีโรงงานอุตสาหกกรรมหนักเช่น โรงถลุงเหล็กกล้า, โรงงานผลิตอาวุธสงคราม, อู่ต่อเรือ ฯลฯ อันเป็นมรดกตกทอดจากสมัยสหภาพโซเวียต รวมถึงเป็นทางผ่านของท่อก๊าซธรรมชาติสำคัญ
ภาพแนบ: ทหารเรือรัสเซียระหว่างออกกำลังประจำวัน
อย่างไรก็ตามความสำคัญสูงสุดของดินแดนแห่งนี้คือเป็น “จุดยุทธศาสตร์ป้องกันการปิดล้อมของตะวันตก” ซึ่งกำลังกระชับพื้นที่เข้ามาถึงกลุ่มประเทศบอลติก (ที่ก่อนหน้านี้โซเวียตก็เคยใช้กำลังผนวกมา แต่เสียไป) นอกจากนี้แหลมไครเมียยังเป็นหนึ่งในที่ตั้งฐานทัพเรือของกองเรือทะเลดำ ซึ่งดูแลพื้นที่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการของรัสเซียในตะวันออกกกลางอีกด้วย
ภาพ: การปฏิวัติยูโรไมดาน
ดังนั้นรัสเซียจึงต้องดำเนินยุทธศาสตร์ต่างๆ เพื่อรักษาความได้เปรียบทางภูมิรัฐศาสตร์ดังกล่าวเอาไว้ ไม่ว่าจะด้วยการช่วยเหลือผูกมิตรเหมือนในช่วงรัฐบาลของประธานาธิบดี วิกเตอร์ ยานูโควิช หรือการแทรกแซงด้วยกำลังทหารที่เกิดขึ้นหลังการปฏิวัติยูโรไมดาน เพื่อกดดันไม่ให้ยูเครนดำเนินความสัมพันธ์ใกล้กับตะวันตกจนกลายเป็นภัยคุกคามต่อตน
3
ภาพแนบ: ทหารรัสเซียเข้าควบคุมฐานทัพยูเครนในไครเมีย
*** การตอบโต้ของรัสเซียที่ผ่านมา ***
((( การผนวกไครเมีย (2014) )))
ท่ามกลางวิกฤตทางการเมืองในปี 2014 ประธานาธิบดีปูตินได้ออกคำสั่งให้กองทัพรัสเซียยกกำลังเข้าควบคุมแหลมไครเมีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือทะเลดำซึ่งรัสเซียทำการเช่าพื้นที่ไว้เป็นเวลา 25 ปีในสมัยของประธานาธิบดี วิกเตอร์ ยานูโควิช
1
ครั้งนั้นรัสเซียอาศัยจังหวะที่รัฐบาลกลางของยูเครนกำลังอ่อนแอ บวกกับความนิยมรัสเซียของประชาชนในพื้นที่ ทำให้สามารถส่งหน่วยปฏิบัติการพิเศษเข้ายึดครองสถานที่ต่างๆ อาทิสนามบิน, รัฐสภา, และสถานที่สำคัญอื่นๆ ในเมืองซิมเฟโรโพล หรือเมืองหลวงของไครเมีย โดยไม่มีการต่อต้านใดๆ กองทัพยูเครนในไครเมียนั้นยังแปรพักต์ไปอยู่กับฝ่ายรัสเซียกันไม่น้อย
4
จากนั้นรัสเซียก็ผลักดันกระบวนการลงประชามติหาข้อสรุปในพื้นที่พิพาทในเดือนมีนาคม 2014 โดยมีชาวไครเมียเทคะแนนสนับสนุนการเข้าร่วมกับรัสเซียอย่างล้นหลาม ทำให้ไครเมียถูกผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย แม้ว่าฝ่ายยูเครนจะพยายามประท้วงเรื่องนี้แต่ก็ไม่เป็นผล…
3
แน่นอนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นละเมิดกฎหมายนานาชาติ แต่กฎที่แท้จริงที่โลกเราใช้มาตลอดไม่เคยเปลี่ยนคือ “กฎของกำลัง” และ รัสเซีย อเมริกา และจีน คือสามประเทศที่อยู่เหนือกฏทุกอย่าง เพราะมีกำลังมากที่สุด
9
ไครเมียไม่ใช่พื้นที่เดียว ซึ่งรัสเซียพยายามแทรกแซง พวกเขายังให้การสนับสนุนกลุ่มต่อต้านชาวยูเครนที่โปรรัสเซียในจังหวัดโดเนตสก์ (Donetsk) และลูฮันสก์ (Luhansk) ให้ทำการสู้รบกับกองทัพฝ่ายรัฐบาลจนยกระดับไปเป็นสงครามกลางเมืองในวันที่ 4 เมษายน 2014 เมื่อฝ่ายกบฏระดมกำลังบุกเข้าจู่โจมอาคารของฝ่ายรักษาความมั่นคงภายใน ขณะที่กองทัพรัสเซียเรียกระดมพลกว่า 40,000 บริเวณชายแดนติดกับยูเครน เพื่อส่งสัญญาณว่า “ตูพร้อมทำทุกอย่าง!”
1
นอกจากนั้นเชื่อว่ารัสเซียมีการแอบสนับสนุนกบฏ ด้วยการส่งที่ปรึกษาทางทหาร, หน่วยปฏิบัติการพิเศษ, และเจ้าหน้าที่ข่าวกรองมายังพื้นที่พิพาท จนกองกำลังฝ่ายกบฎแข็งแกร่งขึ้นเป็นอันมาก และสามารถเอาชนะกองทัพยูเครนได้ในหลายสมรภูมิ
2
เมื่อสงครามดำเนินไปได้ซักระยะ… ทั้งสองฝ่ายต่างก็เดินหน้าเข้าสู่ขึ้นตอนการเจรจาสงบศึกตามกรอบพิธีสารกรุงมินสก์ครั้งที่ 1 โดยมีใจความสำคัญเพื่อการยุติความขัดแย้งระหว่างคู่สงครามทั้งสองฝ่าย พร้อมกับแลกเปลี่ยนเชลยศึก ภายใต้การสังเกตการณ์ขององค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (OSCE)
2
ซึ่งฝ่ายยูเครนเมื่อขาดการช่วยเหลือจริงจังจากฝ่ายตะวันตก (หรือพูดง่ายๆ ว่าอเมริกา) จึงต้องยอมทำสัญญาเสียเปรียบ ยอมรับสถานะพิเศษของจังหวัดทั้งสองในภูมิภาคดอนบัสให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่น รวมถึงให้มีหน่วยงานท้องถิ่นที่จำเป็นเช่นตำรวจและศาล, และให้มีการตั้งจุดผ่านแดนร่วมกันระหว่างกองกำลังรัสเซียและยูเครน
1
ต่อมาตัวแทนจาก OSCE, ยูเครน, รัสเซีย, โดเนตสก์, และลูฮันสก์ ได้เข้าสู่กระบวนการเจรจาในพิธีสารกรุงมินสก์ครั้งที่ 2 ในปี 2016 เพื่อหาข้อยุติการความขัดแย้งอีก โดยทั้งสองฝ่ายยอมรับข้อตกลงจำนวน 9 จาก 13 ข้อ ซึ่งประกอบด้วย การถอนอาวุธหนักจากบริเวณข้อพิพาท, การนิรโทษกรรมกำลังพลของคู่ขัดแย้ง, การแลกเปลี่ยนเชลยศึกของทั้งสองฝ่าย, การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม, และการยุติการปฏิบัติการของทหารต่างชาติในพื้นที่ดังกล่าว ทั้งนี้ยูเครนเป็นฝ่ายที่เสียเปรียบในข้อตกลงครั้งนี้เช่นกัน
((( สะพานไครเมียและเหตุการณ์ช่องแคบเคิร์ช (2016-2018) )))
เมื่อเข้าครอบครองไครเมียได้ รัฐบาลรัสเซียได้ตัดสินใจสร้างสะพานไครเมียเพื่อเป็นทางเชื่อมต่อ ระหว่างภาคใต้ของรัสเซียกับแหลมไครเมียคร่อมช่องแคบเคิร์ชอันเป็นจุดผ่านทะเลอาซอฟที่ทั้งสองประเทศต่างมีสิทธิตามสนธิสัญญาทวิภาคีที่ลงนามเอาไว้ในปี 2003
2
…ซึ่งการดังกล่าวเป็นการละเมิดสัญญาทวิภาคีนั้น ประดุจว่ารัสเซียเป็นเจ้าของช่องแคบนั้นคนเดียว…
ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2016 รัสเซียได้ทำการยึดเรือของกองทัพยูเครนซึ่งประกอบด้วย เรือลากจูงและเรือหุ้มเกราะติดปืนรวม 3 ลำ ซึ่งพยายามเดินเรือผ่านบริเวณข้อพิพาท ด้วยข้อกล่าวหาว่า “อีกฝ่ายพยายามรุกล้ำน่านน้ำของรัสเซีย” ส่วนยูเครนก็พยายามแสดงสิทธิว่าตนนั้นสามารถเดินเรือผ่านพื้นที่ดังกล่าวได้ตามข้อตกลงทวิภาคี (ที่รัสเซียไม่เคารพ …เพราะโลกเราใช้กฎของกำลังตามที่บอกนะครับ)
3
เหตุการณ์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าแสนยานุภาพทางทหารที่เหนือกว่าของรัสเซียทำให้ยูเครนกลายเป็นฝ่ายต้องยอมถอยแล้วถอยอีกตามเคย
1
((( การขู่รุกรานยูเครน (2021- ปัจจุบัน) )))
1
เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลยูเครนและกลุ่มกบฏที่รัสเซียสนับสนุนเริ่มบานปลาย อีกครั้ง ส่งผลให้ประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ได้ออกคำสั่งให้คงกำลังกว่า 90,000 นายไว้ ใกล้ชายแดนยูเครน หลังเสร็จสิ้นการฝึกประจำปี เพื่อเป็นการส่งสัญญาณไปยังรัฐบาลยูเครนและฝ่ายตะวันตกว่า “อย่าล้ำเส้นอธิปไตยของรัสเซีย หากไม่ต้องการถูกตอบโต้” โดยในระยะแรกหลายฝ่ายประเมินว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าว คงมิได้มีเจตนาทำสงครามตรงๆ เพียงแต่ต้องการใช้เป็นข้อต่อรองเงื่อนไขบางประการบนโต๊ะเจรจา เหมือนที่เคยเกิดขึ้นหลายครั้ง
*** พื้นที่โฆษณา ***
เปิดให้จองแล้ววันนี้ Box Set ซีรีส์ “The Wild Chronicles” ครบชุด 7 เล่ม เปิดให้จองแล้ววันนี้!
หลังจากหนังสือชุด The Wilds Chronicles ที่พิมพ์ครั้งก่อนทุกเล่มขายหมดจากตลาดไปนานแล้ว ผมจึงมีแผนจะพิมพ์ใหม่ทั้งหมด โดยปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมให้ดียิ่งขึ้น เป็นปัจจุบันมากขึ้น
และนอกจากนั้นแล้ว เพื่อเป็นการขอบคุณท่านผู้อ่านที่ติดตามกันมานาน ผมได้จัดทำ Box Set ขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อรวมหนังสือทั้งเก่าใหม่ไว้ด้วยกัน
1
หนังสือในเซ็ต มีดังต่อไปนี้นะครับ:
1. พยัคฆ์ทมิฬสิ้นชาติ: เรื่องกบฏพยัคฆ์ทมิฬในศรีลังกาเหนือ ต้นกำเนิดของการก่อการร้ายยุคใหม่
2. เชือดเช็ดเชเชน: เรื่องกบฏชาวเชเชนในรัสเซียใต้ ที่ต้องเผชิญการปราบปรามอย่างโหดสัสรัสเซีย
3. อสุราอาหม: เรื่องประวัติศาสตร์ชาวไทอาหมในอินเดียเหนือ บรรพบุรุษสุดโหดของชาวไทยในปัจจุบัน
4. โลหิตอิสราเอล: เรื่องประวัติศาสตร์การดิ้นรนของชาวยิว และดินแดนอิสราเอล แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ที่นองเลือดมานานกว่าพันปี
5. ประวัติย่อก่อการร้าย: ที่มาที่ไปของการก่อการร้ายตั้งแต่อดีตกาล และสงครามก่อการร้ายที่ยังส่งผลมาจนถึงปัจจุบัน
6. สุริยันพันธุ์เคิร์ด: เรื่องของชนกลุ่มน้อยเคิร์ดอิรักที่ลุกขึ้นสู้กับมหาอำนาจตะวันออกกลางเพื่อความฝันในการตั้งประเทศของตัวเอง
7. ดาวแดงแห่งเคิร์ด: เรื่องของชนกลุ่มน้อยเคิร์ดซีเรียที่ขับเคลื่อนด้วยพลังของสตรี
ทั้งหมดนี้รวมค่าส่งในราคา 3,150 บาทเท่านั้น! (เฉพาะในประเทศนะครับ ส่วนต่างประเทศคิดราคาตามจริง)
ท่านไหนที่สนใจ สามารถชำระและใส่ที่อยู่ที่ link แนบได้เลย (ระบบนี้จะมีเมลคอนเฟิร์มไปด้วยแต่ช้าหน่อยนะครับ)
*** สินค้าพร้อมส่งมอบในช่วงเมษายนครับ ***
อนึ่งท่านที่ซื้อหนังสือหรือสั่งจองบางเล่มแยกไปแล้วอยากเปลี่ยนเป็นเซ็ตนี้ สามารถติดต่อทาง Line OA https://lin.ee/fNEO1jr หรือ Inbox ของเพจเพื่ออัพเกรดได้นะครับ โดยจะคิดราคาตามจริงลดหลั่นไปตามเล่ม ส่วนราคากล่องอย่างเดียว 375 บาท (จะส่งไปแบบพับ ลดปัญหากล่องมุมยับ)
อย่างไรก็ตาม… ในเวลาไม่ถึงเดือนปูตินก็ได้สั่งให้เพิ่มจำนวนทหารรัสเซียกว่า 127,000 นาย รวมทั้งอาวุธหนักต่างๆ เข้าไปบริเวณชายแดนรัสเซียและดินแดนที่อยู่ใต้อิทธิพลของรัสเซียทั้งไครเมีย ดินแดนดอนบัส และประเทศเบลารุส ส่งผลให้นักวิเคราะห์ฝ่ายตะวันตกจำนวนหนึ่งวิเคราะห์ว่า รัสเซียอาจจะพิจารณาการรุกรานยูเครนด้วยกำลังทหาร
ภาพแนบ: ขีปนาวุธระยะสั้นรุ่น 9K720 Iskanger
*** การเปรียบเทียบกำลังรบรัสเซีย-ยูเครน ***
หากเปรียบเทียบกำลังรบของยูเครนแบบหมัดต่อหมัดแล้ว กองทัพยูเครนตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในเกือบทุกมิติ ลำพังเพียงกำลังที่ชายแดนรัสเซียก็มีไพร่พลเกือบเท่ากองทัพยูเครนทั้งหมดแล้ว
2
นอกจากนี้รัสเซียยังทำการเสริมอาวุธหนักต่างๆ ทั้ง ยานเกราะ, ปืนใหญ่, จรวดหลายลำกล้อง, และขีปนาวุธระยะสั้นรุ่น 9K720 Iskanger ซึ่งถูกย้ายไปประจำการบริเวณชายแดนใกล้กับยูเครนราว 250 กิโลเมตร
ภาพแนบ: ขีปนาวุธ Grom 2 ของยูเครน
ขณะที่ฝ่ายยูเครนเองก็พยายามพัฒนาศักยภาพทั้งการสั่งซื้ออาวุธทันสมัยจากต่างประเทศ อาทิ จรวดต่อต้านรถถัง Javelin จากสหรัฐ, อากาศยานไร้คับบังคับติดอาวุธรุ่น TB-2 ของตุรกี, และหันมาพัฒนาขีปนาวุธพิสัยใกล้อย่าง Grom 2 ซึ่งสามารถโจมตีเป้าหมายในดินแดนของรัสเซียได้ อย่างไรก็ตามความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว “ช้า และ น้อย” เกินกว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงผลในการทำสงครามเต็มรูปแบบกับรัสเซียได้
4
ภาพแนบ: มิก 29 ของ ทอ. ยูเครน
นอกจากความได้เปรียบทางด้านจำนวนแล้ว รัสเซียยังมีกองทัพอากาศที่ทันสมัยและแข็งแกร่งกว่ายูเครนมาก
1
คืออากาศยานส่วนมากของยูเครนเป็นของที่ได้รับการส่งมอบมาจากยุคสงครามเย็นอย่างเครื่องบินขับไล่
Su-27 Flanker และ Mig-29 Falcrum ซึ่งแม้จะได้รับการอัพเกรด แต่ไม่สามารถเทียบประสิทธิภาพกับอากาศยานรุ่นใหม่กว่าของรัสเซียอย่าง Su-30 หรือ Su-35 ได้
นอกจากนี้กองทัพอากาศยูเครนยังขาดแคลนบุคลากร ส่งผลให้ไม่สามารถทำภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพได้
1
ภาพแนบ: เปรียบเทียบกำลังรบของกองทัพเรือรัสเซียและยูเครน (ปัจจุบันกองทัพเรือยูเครนเล็กกว่าในภาพมาก)
ท้ายที่สุดคือกองทัพเรือยูเครนซึ่งต้องทำหน้าที่ต้องควบคุมจุดยุทธศาสตร์ชายฝั่งที่มีความสำคัญมาก แต่กลับกลายเป็นกองทัพซึ่งอ่อนแอที่สุด โดยเรือหลักของยูเครนคือ เรือฟริเกตชั้น Krivak III และเรือเร็วติดจรวดต่อต้านเรือผิวน้ำชั้น Matka (ที่ไม่ทราบสถานะของอาวุธบนเรือ) ทั้งหมดนี้ตกทอดมาจากยุคสหภาพโซเวียต ไม่สามารถเทียบประสิทธิภาพกับเรือลาดตระเวณขีปนาวุธชั้น Slava ที่เป็นเรือธงของกองเรือรัสเซียในทะเลดำด้วยซ้ำ
1
แม้ตลอดเวลาที่ผ่านมายูเครนจะพยายามนำเข้า และต่อเรือใหม่ทดแทนอาทิ เรือคอร์เวตจากตุรกี, เรือเร็วติดจรวดต่อต้านเรือผิวน้ำจากอังกฤษ, รวมทั้งพัฒนาจรวดต่อต้านเรือผิวน้ำรุ่น Neptune ซึ่งสามารถปล่อยจากฐานยิงบนบกได้ แต่โครงการเหล่านี้ยังอยู่ในขั้นตอนการผลิตหรือทดสอบแทบทั้งสิ้น
2
ภาพแนบ: ทหารไม่ทราบฝ่ายในภาคตะวันออกของยูเครน
*** ยุทธศาสตร์ของรัสเซีย ***
1
รายงานของสถาบันวิจัยนโยบายการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ (CSIS) ระบุว่า รัสเซียอาจเล่นเกมใน 5 ระดับ ขึ้นอยู่กับผลการเจรจาว่าฝ่ายตะวันตกจะสามารถตอบสนองผลประโยชน์ที่ต้องการได้หรือไม่?
1
ระดับแรก หากการเจรจาผ่านไปด้วยดี ฝ่ายรัสเซียอาจลดกำลังทหารในดินแดนของตน แต่ยังสนับสนุนการต่อสู้ของฝ่ายกบฏด้วยการส่งยุทโธปกรณ์, ที่ปรึกษาทางทหาร, และหน่วยปฏิบัติการพิเศษ มายังภาคตะวันออกของยูเครนให้ทำการสู้รบกับรัฐบาลยูเครนต่อไป
ระดับสองคือ การส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปบริเวณดินแดนข้อพิพาทในเขตดอนบัส จนกว่าจะได้ข้อตกลงใหม่ ซึ่งอื้อประโยชน์ให้กับสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสค์ และลูฮันสค์ เหมือนกับข้อตกลงในพิธีสารกรุงมินสก์
1
ระดับสามคือ การเลือกทำสงครามระยะสั้นโดยใช้การเคลื่อนพลจากดินแดนฝ่ายโปรรัสเซียทั้งในไครเมีย, ภูมิภาคดอนบัส, และประเทศเบลารุส เข้าโจมตีแนวตั้งรับของยูเครนอย่างรวดเร็วจากหลายทิศทาง โดยมีจุดประสงค์หลักคือการยึดครองดินแดนใกล้กับแม่น้ำนีเปอร์รวมถึงพื้นที่อื่นๆ ในภาคตะวันออกของยูเครนที่มีทรัพยากรสำคัญมากมาย และประชากรจำนวนมากมีแนวคิดโปรรัสเซีย
8
นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ว่ารัสเซียอาจจะพยายามปิดล้อมกรุงเคียฟเมืองหลวงของยูเครนเพื่อกดดันอีกด้วย โดยจะทำการเว้นช่วงดังกล่าว เพื่อเจรจากับยูเครนและชาติตะวันตกในการยอมยกดินแดนที่ถูกยึดครองให้แก่รัสเซีย
1
ระดับสี่ หากการเจรจาไม่ได้ผลกองเรือทะเลดำของรัสเซียจะเริ่มปฏิบัติการจู่โจมเมืองโอเดสซ่า ด้วยการขนาบเข้าตีจากทางบกและทางน้ำเพื่อบดขยี้กองทัพเรือขนาดเล็กของยูเครนให้สิ้นสภาพ ก่อนยึดครองเมืองท่าสำคัญเพื่อปิดกั้นทางเข้าทะเลดำของยูเครน จากนั้นฝ่ายรัสเซียจะดำเนินการเคลื่อนพลต่อไปยังภูมิภาคทรานส์นีสเตรีย ซึ่งแยกตัวจากมอลโดวาเพื่อขยายเขตแดนของตนเอง โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการปิดทางออกทะเลของยูเครนและควบคุมแหล่งน้ำจืด แต่ยังหลีกเลี่ยงการยึดครองเมืองขนาดใหญ่อย่างคาร์คิฟและเคียฟ
2
มาถึงขั้นนี้ถ้ายูเครนยังพยายามจะต่อต้าน กองทัพรัสเซียจะนำกำลังเข้าเผด็จศึกขั้นสุดท้ายด้วยการปิดล้อมกรุงเคียฟและคาร์คิฟ เพื่อกดดันให้รัฐบาลยูเครนยอมศิโรราบแบบไม่มีเงื่อนไข ซึ่งเป็นระดับที่ 5
2
อย่างไรก็ตามหลายฝ่ายต่างเห็นตรงกันว่าอย่างมากสุดมันไปได้ถึงแค่ระดับสี่ และมีความเป็นไปได้มากว่าจะหยุดแค่ระดับสอง
รัสเซียน่าจะพยายามทุกวิธีทางในการจำกัดความขัดแย้งให้อยู่บนโต๊ะเจรจาหรือศึกระยะสั้น ซึ่งตนเองสามารถเอาชนะฝ่ายตรงข้ามด้วยกำลังรบที่เหนือกว่าในทุกมิติ แล้วหันมาบ่อนทำลายอำนาจของรัฐบาลกลางยูเครนแบบช้าๆ โดยไม่ต้องเผชิญหน้ากับสงครามเต็มรูปแบบ เพราะการจัดการประเทศที่มีดินแดนกว้างใหญ่อย่างยูเครนก็ต้องใช้ทรัพยากรมาก
2
*** ยุทธศาสตร์ของยูเครน ***
1
ขณะที่ฝ่ายรัสเซียสามารถเลือกแนวทางการรบและควบคุมระดับความรุนแรงได้ ทางยูเครนทำได้เพียงหาทางตั้งรับเพื่อยื้อเวลาฝ่ายผู้รุกรานให้นานที่สุด โดยการใช้กำลังสำรองและกองกำลังอาสาที่มีจำนวนราว 400,000 คน นอกจากนี้ประชากรราว 1 ใน 3 ของประเทศกล่าวว่า พวกเขาพร้อมจะจับอาวุธขึ้นป้องกันบ้านเกิดของตนเอง
4
ยูเครนยังมียุทโธปกรณ์จำนวนมากที่ได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรตะวันตกเช่น จรวดต่อต้านรถถังแบบ Javelin และ NLAW รวมถึงจรวดต่อต้านอากาศยานประทับบ่า Stinger ไม่เพียงเท่านั้นดินแดนยูเครนยังมีพรมแดนฝั่งตะวันตกติดกับโปแลนด์ ซึ่งเป็นสมาชิกนาโต้ที่มีนโยบายต่อต้านรัสเซียที่รุนแรง ส่งผลให้โปแลนด์น่าจะช่วยยูเครนมากหากเกิดสงครามจริง
1
ทั้งนี้ทั้งนั้นความที่ยูเครนมีกำลังด้อยกว่า พวกเขาจึงต้องตกอยู่ในสถานะผู้ปองกันในสมรภูมิที่ที่รัสเซียเป็นผู้เลือก…
…มันจึงเป็นสงครามที่พวกเขาเลือกได้เพียงสูญเสียดินแดนมากหรือน้อยเท่านั้น…
2
*** การตอบโต้ของตะวันตก ***
เมื่อรัสเซียประกาศเสริมกำลังจำนวนมากบริเวณชายแดนของประเทศยูเครน กลุ่มประเทศตะวันตกต่างออกมาแสดงท่าทีสนับสนุนรัฐบาลยูเครนในระดับที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 แนวทางคือ: แนวทางสนับสนุนอาวุธให้กับกองทัพยูเครน, แนวทางแสดงออกผ่านการเสริมกำลังในเขตอิทธิพลตนเอง, และแนวทางดำเนินนโยบายทางการทูต
สำหรับประเทศนาโต้กลุ่มแรกนั้นมีสหรัฐเป็นหัวเรือใหญ่ พวกเขาสนับสนุนด้านความมั่นคงให้กับฝ่ายยูเครนมาโดยตลอด และยังส่งสัญญาณว่าพวกเขาพร้อมจะดำเนินนโยบายคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจรัสเซียหากเกิดสงครามขึ้น โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐออกมายืนยันอย่างหนักแน่นว่า พวกเขาพร้อมเดินหน้าเจรจาและตอบรับข้อเสนอบางส่วนของรัสเซียอาทิ “การลดความถี่ของการฝึกระหว่างชาตินาโต้ต่างๆ และลดจำนวนระบบป้องกันขีปนาวุธในยุโรปตะวันออก” แต่ปฏิเสธการถอนกำลังออกจากชาติพันธมิตรในยุโรปตะวันออก
นอกจากนี้ยังมีคำสั่งให้กองกำลังสหรัฐในยุโรปเตรียมความพร้อมสูงสุดและเคลื่อนกำลังส่วนหนึ่งจากเยอรมนีไปยังโรมาเนีย รวมถึงส่งทหารหลายพันนายไปยังโปแลนด์ เพื่อส่งสัญญานว่าสหรัฐพร้อมปกป้องชาติสมาชิกนาโต้ในยุโรปตะวันออก พร้อมกับอนุมัติการส่งอาวุธและที่ปรึกษาทางทหารเพื่อสนับสนุนกองทัพยูเครน
อย่างไรก็ตามการแสดงออกของสหรัฐถูกวิจารณ์ว่าเป็นการแสดงออกทางสัญลักษณ์มากกว่าการเผชิญหน้ากับรัสเซีย อีกทั้งจำนวนอาวุธที่ถูกส่งไปยังห่างไกลความเพียงพอหากสงครามเกิดขึ้นจริง
อังกฤษถือเป็นอีกประเทศหนึ่งที่แสดงออกว่าจะสนับสนุนยูเครนทั้งในด้านการทูตและการทหาร โดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลอังกฤษได้ดำเนินการกดดันรัสเซียผ่านโต๊ะเจรจา ขณะที่ฝ่ายกองทัพอังกฤษก็ทำการส่งอาวุธต่างๆ ให้ยูเครนเพื่อใช้ในสนามรบ นอกเหนือจากการสนับสนุนด้านการเมืองและการทหารแล้ว อังกฤษยังหันมาจับมือกับโปแลนด์เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการทหารในการสกัดกั้นอิทธิพลของฝ่ายรัสเซียอีกด้วย
กลุ่มที่สองอย่างเดนมาร์ก, เนเธอแลนด์, และสเปน ได้ทำการเคลื่อนกำลังของตนไปยังพรมแดนหน้าด่านในยุโรป ตะวันออกและบอลติก เพื่อแสดงพลังว่าพวกเขาพร้อมจะปกป้องประเทศสมาชิกนาโต้ แต่จะไม่เข้าไปแทรกแซงความขัดแย้งในยูเครนโดยตรง
1
นอกจากนั้นยังมีชาติที่ดำเนินการเจรจาเพื่อหาข้อยุติปัญหาด้วยนโยบายทางการทูต ซึ่งมีแกนนำสำคัญคือ ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศสผู้เดินทางไปพบกับปูตินด้วยตนเอง โดยได้รับการสนับสนุนจากนายกรัฐมนตรี โอลาฟ ชอลซ์ ของเยอรมนีและประธานาธิบดี อังเดรซ ดูดา ของโปแลนด์ ด้วยการยื่นข้อเสนอสำคัญคือ “กรอบการเจรจานอร์มังดี” โดยให้คู่ขัดแย้งคือ ยูเครนและรัสเซีย มาต้องเจรจาเพื่อหาข้อยุติ
6
โดยมีฝรั่งเศสและเยอรมนีเป็นตัวกลางช่วยไกล่เกลี่ย ซึ่งทางสหรัฐได้ออกมาแสดงท่าทีสนับสนุนความพยายามดังกล่าว แต่ยังแสดงความไม่ไว้วางใจจนกว่าฝ่ายรัสเซียจะเลิกแสดงท่าทีคุกคามยูเครน
4
** ความน่าจะเป็นในอนาคต ***
จากข้อมูลทั้งหมดจะเห็นได้ว่าประเทศสมาชิกนาโต้ต่างดำเนินยุทธศาสตร์ที่แตกต่างกันออกไป แต่จุดประสงค์ของชาติเหล่านี้คล้ายคลึงกันคือ การพยายามสกัดการแผ่ขยายอิทธิพลของรัสเซีย ขณะที่รัสเซียเองก็มองว่านาโต้กำลังเข้าแทรกแซงความมั่นคงในเขตอิทธิพลของตนเอง
แม้ว่าสงครามเต็มรูปแบบอาจไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้ ทว่าสถานการณ์ระหว่างรัสเซียและยูเครนน่าจะคงความตึงเครียดไปอีกระยะใหญ่ และรัฐบาลยูเครนเองจะต้องเผชิญหน้ากับการแทรกแซงทั้งการส่งกำลังทหารเข้ามายังบริเวณข้อพิพาทในเขตดอนบัส รวมถึงการบั่นทอนความมั่นคงในรูปแบบอื่นๆ ไปจนกว่าชาติมหาอำนาจจะสามารถหาข้อยุติความขัดแย้งกันได้สำเร็จ
ล่าสุดทางการรัสเซียได้ออกมาระบุว่า มีคำสั่งให้ทหารบางส่วนถอนกำลังกลับสู่ที่ตั้ง เนื่องจากเสร็จสิ้นการฝึกแล้ว อย่างก็ตามเราคงต้องจับตาดูสถานการณ์ที่เกิดขึ้นต่อไปอย่างใกล้ชิด
สุดท้ายนี้… เรื่องราวของยูเครนอาจย้ำเตือนให้เราตระหนักว่า “กฎของโลกคือกฎของกำลัง” และ “ใจความสำคัญของนโยบายการต่างประเทศล้วนถูกเขียนไว้เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับประเทศของตน”
2
อีกครั้งนะครับ Box Set ซีรีส์ “The Wild Chronicles” ครบชุด 7 เล่ม เปิดให้จองแล้ววันนี้!
หลังจากหนังสือชุด The Wilds Chronicles ที่พิมพ์ครั้งก่อนทุกเล่มขายหมดจากตลาดไปนานแล้ว ผมจึงมีแผนจะพิมพ์ใหม่ทั้งหมด โดยปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมให้ดียิ่งขึ้น เป็นปัจจุบันมากขึ้น
และนอกจากนั้นแล้ว เพื่อเป็นการขอบคุณท่านผู้อ่านที่ติดตามกันมานาน ผมได้จัดทำ Box Set ขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อรวมหนังสือทั้งเก่าใหม่ไว้ด้วยกัน
1
หนังสือในเซ็ต มีดังต่อไปนี้นะครับ:
1. พยัคฆ์ทมิฬสิ้นชาติ: เรื่องกบฏพยัคฆ์ทมิฬในศรีลังกาเหนือ ต้นกำเนิดของการก่อการร้ายยุคใหม่
2. เชือดเช็ดเชเชน: เรื่องกบฏชาวเชเชนในรัสเซียใต้ ที่ต้องเผชิญการปราบปรามอย่างโหดสัสรัสเซีย
3. อสุราอาหม: เรื่องประวัติศาสตร์ชาวไทอาหมในอินเดียเหนือ บรรพบุรุษสุดโหดของชาวไทยในปัจจุบัน
4. โลหิตอิสราเอล: เรื่องประวัติศาสตร์การดิ้นรนของชาวยิว และดินแดนอิสราเอล แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ที่นองเลือดมานานกว่าพันปี
5. ประวัติย่อก่อการร้าย: ที่มาที่ไปของการก่อการร้ายตั้งแต่อดีตกาล และสงครามก่อการร้ายที่ยังส่งผลมาจนถึงปัจจุบัน
6. สุริยันพันธุ์เคิร์ด: เรื่องของชนกลุ่มน้อยเคิร์ดอิรักที่ลุกขึ้นสู้กับมหาอำนาจตะวันออกกลางเพื่อความฝันในการตั้งประเทศของตัวเอง
7. ดาวแดงแห่งเคิร์ด: เรื่องของชนกลุ่มน้อยเคิร์ดซีเรียที่ขับเคลื่อนด้วยพลังของสตรี
1
ทั้งหมดนี้รวมค่าส่งในราคา 3,150 บาทเท่านั้น! (เฉพาะในประเทศนะครับ ส่วนต่างประเทศคิดราคาตามจริง)
ท่านไหนที่สนใจ สามารถชำระและใส่ที่อยู่ที่ link แนบได้เลย (ระบบนี้จะมีเมลคอนเฟิร์มไปด้วยแต่ช้าหน่อยนะครับ)
*** สินค้าพร้อมส่งมอบในช่วงเมษายนนี้ครับ ***
อนึ่งท่านที่ซื้อหนังสือหรือสั่งจองบางเล่มแยกไปแล้วอยากเปลี่ยนเป็นเซ็ตนี้ สามารถติดต่อทาง Line OA https://lin.ee/fNEO1jr หรือ Inbox ของเพจเพื่ออัพเกรดได้นะครับ โดยจะคิดราคาตามจริงลดหลั่นไปตามเล่ม ส่วนราคากล่องอย่างเดียว 375 บาท (จะส่งไปแบบพับ ลดปัญหากล่องมุมยับ)
ท่านที่สนใจอ่านเรื่องราวแปลกๆ จากรอบโลกสามารถสมัครเข้ากลุ่ม illumicorgi
อนึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่ม exclusive ผมจะใช้ลงบทความพิเศษ ซึ่งมีเนื้อหาเจาะลึกกว่าที่ลงในเพจ The Wild Chronicles และบทความส่วนใหญ่ในกลุ่มจะเกี่ยวกับธีมของหนังสือที่ผมกำลังเขียน
*** พิเศษ! โปรเนื่องในเทศกาลแห่งความรัก ต่ออายุสมาชิก illumicorgi ตั้งแต่วันนี้ถึ้งสิ้น ก.พ. รับเลยของแถมและส่วนลดพิเศษ! ***
1
ทางเพจ The Wild Chronicles ได้จัดโปรโมชั่นพิเศษเพื่อตอบแทนสมาชิกนะครับ หากท่านสมัครสมาชิกตั้งแต่วันนี้ถึง 28 ก.พ. 2565 จะมีโปรดังนี้:
สมัครสมาชิกใหม่กลุ่ม illumicorgi ทุกระดับเป็นเวลาครึ่งปี ลดราคา 5%
สมัครสมาชิกใหม่กลุ่ม illumicorgi ทุกระดับตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ลดราคา 10%
หากท่านที่เป็นสมาชิกระดับ Corgi Master หรือ illuminated Corgi มาแล้ว 1 ปี หากต่ออีก 1 ปีขึ้นไป จะลดเพิ่มหนังสือให้ 1 เล่ม (ปกติจะได้สองเล่ม จะได้เป็นสามเล่ม)
อนึ่งกลุ่ม illumicorgi (illumicorgi) ซึ่งเป็นกลุ่มสำหรับลง content พิเศษของเรา สมาชิกจะได้บทความพิเศษอ่านอาทิตย์และอย่างน้อยหนึ่งบทความ และบทความย่อยๆ ลงเรื่อยๆ ตลอดจนได้สิทธิพิเศษอื่นๆ
ผู้ที่ต้องการต่ออายุสมาชิก สามารถติดต่อทาง Line OA https://lin.ee/fNEO1jr หรือ Inbox เพจ m.me/pongsorn.bhumiwat เพื่อสอบถามเพิ่มเติมได้นะครับ
::: รายละเอียดสมาชิก :::
สมาชิกจะมีสามระดับได้แก่ Corgi Mason, Corgi Master และ Illuminated Corgi ซึ่งแต่ละระดับจะมีค่าสมาชิก และสิทธิประโยชน์แตกต่างกันไป
>> สมาชิกประเภทที่ 1 “Corgi Mason" (คอร์กี้เมสัน)
คุณคือ “นายช่าง” ที่ช่วยเหลือในการรังสรรค์ The Wild Chronicles เป็นผู้ที่สร้างให้เกิดผลงานต่างๆ และเป็นกลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนกลุ่มนั่นเอง
สิทธิประโยชน์ที่ได้:
• ได้เข้าถึงเนื้อหากลุ่ม illumicorgi ที่มีบทความย่อยลงอยู่เสมอ และบทความใหญ่ลงอย่างน้อยอาทิตย์ละตอน
• ส่วนลดในสินค้าของกลุ่ม The Wild Chronicles ที่จะวางจำหน่ายต่อไป
• Priority ในการรับข่าวสารและกิจกรรมของ The Wild Chronicles
ค่าสมาชิก:
1 เดือน: 50 บาท
6 เดือน: 266 บาท (จากปกติ 280 บาท)
1 ปี: 495 บาท (จากปกติ 550 บาท)
>> สมาชิกประเภทที่ 2 “Corgi Master" (คอร์กี้มาสเตอร์)
คุณคือ “อัศวิน” ที่คุ้มครองและนำพา The Wild Chronicles ไปสู่จุดมุ่งหมาย เป็นบุคคลสำคัญที่จะขาดมิได้ในการส่งแสงสว่างนำทางพลพรรคของเรา
สิทธิประโยชน์ที่ได้:
• ทั้งหมดที่ Corgi Mason ได้ และ:
• ทุกๆ รอบหกเดือนจะได้รับหนังสือเล่มหนึ่ง ส่งให้ถึงบ้านพร้อมลายเซ็นของผม หรือจะเปลี่ยนเอาหนังสือเล่มอื่นที่ยังมีใน stock ก็ได้นะครับ)
• พิเศษ ถ้าเป็นสมาชิกระดับ Corgi Master หรือ illuminated Corgi มาแล้ว 1 ปี หากต่ออีก 1 ปีขึ้นไป จะลดเพิ่มหนังสือให้ 1 เล่ม (ปกติจะได้สองเล่ม จะได้เป็นสามเล่ม)
ค่าสมาชิก:
6 เดือน: 570 บาท (จากปกติ 600 บาท)
1 ปี: 990 บาท (จากปกติ 1,100 บาท)
>> สมาชิกประเภทที่ 3 “Illuminated Corgi" (อิลลูมิเนตคอกิ)
คุณคือหนึ่งใน “เจ้าผู้ครองนคร” แห่ง The Wild Chronicles เป็นสมาชิกที่สำคัญที่สุดซึ่งคอยดูแลกลุ่มของเราอยู่
สิทธิประโยชน์ที่ได้:
• ทั้งหมดที่ Corgi Master ได้ และ:
• ได้รับของที่ระลึกที่ได้จากการไปผจญภัยในสถานที่จริงที่นำมาเขียนหนังสือ เช่นโปสการ์ดจากครอบครัวของประภาการัน ผู้นำกบฏพยัคฆ์ทมิฬ, แบงค์รุ่นซัดดัมที่พบในเคอร์ดิสถานอิรัก, หรือทรายและเศษเหล็กจากหาด No Fire Zone
• มีชื่ออยู่ในหนังสือเล่มหนึ่ง ในฐานะผู้สนับสนุน
• พิเศษ ถ้าเป็นสมาชิกระดับ Corgi Master หรือ illuminated Corgi มาแล้ว 1 ปี หากต่ออีก 1 ปีขึ้นไป จะลดเพิ่มหนังสือให้ 1 เล่ม (ปกติจะได้สองเล่ม จะได้เป็นสามเล่ม)
ค่าสมาชิก:
1 ปี: 2,700 บาท (จากปกติ 3,000 บาท)
::: ::: :::
ประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ กดติดตาม เพจ The Wild Chronicles ได้เลยนะครับ https://facebook.com/pongsorn.bhumiwat
โฆษณา