23 ก.พ. 2022 เวลา 09:40 • ปรัชญา
เรื่องของคำว่า ทางสายกลาง เราก็ควรมาดูทำความเข้าใจ ว่าเค้าพูดเรื่องทางสายกลาง นั้นพูดในเรื่องราวของการประพฤติปฏิบัติธรรมธรรม การทำจิตทำใจ ให้เฉยๆ เริ่องราวของจิตที่ไม่ไปยึดถือ ทั้งสิ่งที่มีชีวิตไม่มีชีวิต ที่เกิดมาอาศัยกายสังขารที่ประกอบขึ้นมา มาอาศัยเรือนกายของคุณบิดามารดา เมื่อมาอาศัยเรือนกายนี้ก็มีหน้าที่ดูแล รักษาสังขารนี้ สังขารนี้ให้มีความแข็งแรง เสาะแสวงหาวัตถุปัจจัยมาบำรุงบำเรอสังขาร ที่มีอารมณ์โลภโกรธหลงของบีบบังคับให่จิตนี้ต้องไปเสาะแสวงหา ไปยึดไปถือ เรื่องราวต่างๆ ด้วยอารมณ์ดีและชั่ว ที่ปรุงแต่ง ให้ทิฐิ ให้มีการประพฤติดีหรือชั่วในสิ่งที่เกิดขึ้นภายในกาย ที่นำพาวิญญาณทั้งหกเคลื่อนที่ไป ไปสัมผัสวัตถุสิ่งของที่มีชีวิตไม่มีชีวิต
เมื่อมีการสัมผัสแล้วก็เกิดความอยาก อยากได้อยากมี สมหวัง ไม่สมหวัง ดีใจเสียใจ โมโหโกรธา ยินดี ในสิ่งที่ไปสัมผัส ก็ล้วนเกิดเป็นอารมณ์ขึ้นมาครองกายครองจิตของผู้ที่ที่อาศัยกายไปสัมผัส
คราวนี้ จิตคนเรามันก็เกิดมีเอนเอียงไปตามอารมณ์ที่ปรุงแต่งไปตามทิฐิความคิดเห็นอะไรต่างๆ คำว่า จิตที่เป็นมัชฌิมา มันก็กระทำไม่ได้ มีแต่จิตที่วุ่นวาย หาความสงบไม่ได้ คำว่าทางสายกลางของจิต ที่จะวางตำแหน่ง ให้จิตนั้นเที่ยงธรรม เที่ยงที่จะละดีละชั่วออกไปจากจิต ให้จิตเฉย ดีก็ไม่เอาชั่วก็ไม่เอา เพราะเป็นเรื่องราวของอารมณ์ที่พาไปหาทุกข์ จึงต้องปล่อยวางอารมณ์นั้นไป เมื่อไม่มีอารมณ์เข้ามาปรุงแต่ง จิตก็ไม่อารมณ์มีทิฐิอะไร จิตก็มีธรรมเข้ามาหนุนนำจิต พยุงจิตให้มีสติรู้จักกรรม ชำระสะสางเรื่องรางของกรรม ที่เป็นอุปสรรคดึงจิตให้เอนเอียง ไปจากเส้นทางการสะสมบุญกุศล ช่วยเหลือจิตของตนให้พ้นทุกข์
เรื่องรางของคำว่าทางสายกลาง ในเรื่องของจิตที่พูดถึง ต้องอาศัยเรื่องราวของการประพฤติปฏิบัติธรรมเดินไปตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อาราธนารอยกิริยาของพระ ยืน เดิน นั่ง นอน ทำจิตเป็นมัชฌิมา มาฝึกหัด ฝึกให้สติของเราเป็นสติของจิต ไม่ใช่สติที่ลื่นไหลไปกลับอารมณ์ เป็นสติของจิต ที่จะควบคุมกาย ฝึกควบคุมกายให้นิ่ง มีสติสัมปชัญญะ รักษากายนิ่งในขณะที่ฝึกหัด อะไรเกิดขึ้นก็เฉย สิ่งที่ได้ในกายฝึก ที่เรามีขันติในการฝึกเป็นนิจสิน
ต่อไปจิตก็มีสติเท่าทันอารมณ์ได้มากขึ้น มีความขันติต่ออารมณ์ที่เราไปสัมผัส อารมณ์คนนั้นคนนี้ แล้วก็จิตเราก็จะไม่ไปรับอารมณ์ของผู้อื่น เรื่องราวของการใช้กายวาจาใจ ไปคล้องกรรม คนนั้นคนนี้ก็จะค่อยๆ ลดน้อยลงไปๆ ก็เท่ากับเราเริ่มดูแลจิตของเรา ให้พ้นบ่วงกรรมไปได้เรื่อยๆ เราทำไปเรื่อยๆ เราก็จะรู้จัก การสร้างบุญกุศลบารมี นั้นช่วยเหลือจิตเราอย่างไร ทำแล้วก็สังเกตุขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความเพียร
เรื่องราวของคำว่า จิตมัชฌิมา นั้นต้องอาศัยการประพฤติปฏิบัติธรรมขึ้นมา ให้รู้จักคำว่าจิต รู้จักตัวตนของเราเอง ที่ไม่มีอารมณ์ปรุงแต่งนั้นเป็นอย่างไร เป็นจิตที่ว่างจากอารมณ์นึกคิด จิตนั้นสงบอยู่เฉย ไม่มีร้อนไปเย็นไป เหมือนอากาศสบายๆ เราก็จะรู้จักคำว่าจิตของเรามากขึ้น แต่ทั้งนี้ ต้องอาศัยการประพฤติปฏิบัติธรรมให้เกิดขึ้นกับตัวเราเอง เมื่อไม่ทำ ก็ไม่รู้ กรรมก็เป็นจิตเยี่ยงอย่างปุถุชนคนธรรมดา
โฆษณา