23 ก.พ. 2022 เวลา 13:15 • ประวัติศาสตร์
Episodes 2 : ทำไมครั้งหนึ่งเราถึงเคยคิดว่าเราเป็นเพียงมนุษย์สปีชีส์เดียวเท่านั้น?
หากใครยังไม่ได้อ่าน episodes 1 ​: ว่าทำไมโฮโมเซเปียนส์ถึงได้คิดมาตลอดว่าตนเองต่างจากสัตว์ชนิดอื่น https://www.blockdit.com/posts/6214e55f845922a0219f6c3e
เล่าให้ฟังแนะนำให้ไปอ่านบทที่ 1 ก่อนนะฮะจะได้ต่อเนื่อง
มีความลับของโฮโมเซเปียนส์อีกเรื่องหนึ่งที่กวนใจยิ่งกว่าและถูกซุกซ่อนไว้คือ ไม่เพียงแต่เราจะมีญาติจำนวนมากที่ล้าหลังไร้วัฒนธรรม แต่ครั้งหนึ่งเราเคยมีพี่น้องอยู่สองสามคนด้วย ทำไมเราถึงคิดว่าเราเป็นเพียงมนุษย์สปีชีส์เดียวเท่านั้น ?
คำตอบของคำถามอยู่นี่แล้ว: เหตุผลเพราะว่าในช่วง 10,000 ปีมานี้เราพบแต่มนุษย์เพียงสปีชีส์เดียวคือเรา แต่ความหมายจริงๆ แล้วของคำว่า 'มนุษย์' คือ
"สัตว์ชนิดหนึ่งในสกุลโฮโม" ด้วยเหตุผลที่เคยมีสปีชีส์อื่นๆ อีกมากมายในสกุลนี้ นอกเหนือจากโฮโมเซเปียนส์ ซึ่งไม่ต่างอะไรกับสัตว์ในปัจจุบันที่มีหลากหลายสปีชีส์ด้วยกันบนโลกใบนี้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะฉะนั้นมนุษย์เราจึงไม่ใช่มนุษย์เพียงสปีชีส์เดียว คำถามคือแล้วถ้าเราไม่ใช่มนุษย์เพียงสปีชีส์เดียวแล้วต้นตอบรรพบุรุษเราวิวัฒน์มาจากที่ไหน ? ทำไมเราถึงมีหลากหลายสายพันธุ์นัก ?
วิวัฒนาการทำให้เกิดมนุษย์ขึ้นครั้งแรกในแอฟริกาตะวันออกเมื่อราวๆ 2.5 ล้านปีมาแล้ว จากวานรสกุลแรกๆ 'ชื่อออสตราโลพิเธคัส' (Austra-lopithecus) ซึ่งแปลว่า "วานรแดนใต้" ต่อมาประมาณ 2 ล้านปีมาแล้วมนุษย์โบราณเหล่านี้บางคนได้ละทิ้งบ้านเกิดเพื่อออกเดินทางและตั้งถิ่นฐานครอบคลุมอาณาเขตบริเวณกว้างขวางในแอฟริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย
1
เนื่องจากการที่จะมีชีวิตอยู่รอดจากทุ่งหิมะของยุโรปตอนเหนือกับป่าดิบชื้นในอินโดนีเซียต้องการลักษณะสืบสายพันธุ์ หรือ (trait) ที่แปลว่า "ลักษณะนิสัย" ที่แตกต่างกัน ประชากรมนุษย์เหล่านี้จึงต้องวิวัฒน์จนแตกต่างกันไป ผลลัพธ์ก็คือได้เป็นมนุษย์หลายสปีชีส์ที่แตกต่างกันไป โดยแต่ละสปีชีส์นักวิทยาศาสตร์ก็ตั้งชื่อในภาษาลาตินให้อย่างหรูหรา
เรามาทำความรู้จักแต่ละสปีชีส์กันเลยดีกว่า เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา
1. โฮโมนีแอนเดอร์ธัลเลนซิส
(Homo neanderthalensis: มนุษย์จากหุบเขานีแอนเดอร์)
Homo neanderthalensis: มนุษย์จากหุบเขานีแอนเดอร์
ในยุโรปและเอเชียตะวันตกวิวัฒน์ไปเป็นโฮโมนีแอนเดอร์ธัลเลนซิส
(Homo neanderthalensis: มนุษย์จากหุบเขานีแอนเดอร์) หรือที่รู้จักันดีในชื่อ
'นีแอนเดอร์ธัลส์' มีลักษณะกำยำล่ำสันมากกว่าเซเปียนส์สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศอันหนาวเหน็บในยุคน้ำแข็งของยูเรเซียตะวันตกได้เป็นอย่างดี
4
2. โฮโมอีเร็กตัส (Homo erectus: มนุษย์ตัวตรง)
Homo erectus: มนุษย์ตัวตรง
ส่วนทางตะวันออกถัดมาของทวีปเอเชียถูกครอบครองโดยโฮโมอีเร็กตัส
(Homo erectus: มนุษย์ตัวตรง) ซึ่งมีชีวิตอยู่รอดยาวนานถึงเกือบ 2 ล้านปี เรียกได้ว่านานสุดๆ ถือเป็นสปีชีส์มนุษย์ที่สถาวรที่สุดเท่าที่เคยมีมาเลยทีเดียว หากเทียบกับสายพันธุ์เซเปียนส์อย่างเราแทบจะเทียบอะไรไม่ได้เลย (แต่ไม่แน่หากมีองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านมานุษยวิทยา และชีววิทยามากพอเซเปียนส์อย่างเราก็อาจดำรงเผ่าพันธุ์ไปได้อีกล้านๆ ปี และเล่าให้ฟังคิดว่าอนาคตเราคงจะไม่ใช่เซเปียนส์บริสุทธิ์อีกต่อไป)
1
3. โฮโมโซโลเอนซิส (Homo Soloensis: มนุษย์จากหุบเขาโซโล)
1
Homo Soloensis: มนุษย์จากหุบเขาโซโล
เกาะชวาในอินโดนีเซียเป็นถิ่นฐานของโฮโมโซโลเอนซิส (Homo soloensis: มนุษย์จากหุบเขาโซโล) ผู้ที่เหมาะจะดำรงชีพอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร
4. โฮโมฟลอเรไซเอนซิส (Homo flo-resiensis)
Homo flo-resiensis
ส่วนบนเกาะฟลอเรส (Flores island) ที่มีขนาดเล็ก มนุษย์โบราณกลุ่มหนึ่งได้วิวัฒน์ไปจนกลายเป็นคนแคระ พวกเขาเดินทางไปถึงเกาะฟลอเรสเป็นครั้งแรกขณะที่น้ำทะเลลดต่ำลงอย่างมากจนสามารถเดินเท้าจากแผ่นดินใหญ่ไปได้อย่างง่ายดาย จนเมื่อระดับนน้ำสูงขึ้นอีกครั้งบางคนจึงติดอยู่บนเกาะที่มีทรัพยากรจำกัดนี้ ส่งผลให้คนตัวใหญ่ที่ต้องการอาหารจำนวนมากล้มตายลงก่อน จึงเป็นเหตุให้สมาชิกตัวเล็กรอดชีวิตได้มากกว่า เมื่อเวลาผ่านไปรุ่นแล้วรุ่นเล่า ผู้คนบนเกาะฟลอเรสจึงกลายเป็นคนแคระ โดยคนที่สูงมากที่สุดสูงเพียง 1 เมตร มีน้ำหนักไม่เกิน 25 กิโลกรัม และช้างบนเกาะก็เป็นช้างแคระเช่นกัน
1
5. โฮโมเดนิสโซวา (Homo denisova)
Homo denisova
จนกระทั่งในปี 2010 ก็มีการค้นพบญาติที่สาบสูญของเราอีกสปีชีส์หนึ่งเมื่อนักมานุษยวิทยาขุดค้นที่ถ้ำเดนิสโซวา (Denisova Cave) ในไซบีเรียและค้นพบซากฟอสซิลกระดูกนิ้วมือ ซึ่งการวิเคราะห์พันธุกรรมชี้ให้เห็นว่าเป็นกระดูกนิ้วมือของสปีชีส์ที่ยังไม่เคยค้นพบมาก่อน จึงได้รับการขนานนามว่า "โฮโมเดนิสโซวา" (Homo denisova)
ในขณะที่มนุษย์เหล่านี้กำลังวิวัฒน์อยู่ในยุโรปและเอเชีย วิวัฒนาการในแอฟริกาตะวันตกก็ไม่ได้หยุดยั้ง แผ่นดินแม่แห่งมวลมนุษยชาติแห่งนี้ยังคงดูแลอุ้มชูมนุษย์สายพันธุ์ใหม่ๆ จำนวนมาก เช่น โฮโมดอล์ฟเฟนซิส (Homo rudolfensis) 'มนุษย์จากทะเลสาบรูดอล์ฟ' , โฮโมเออร์แกสเตอร์ (Homo ergaster) 'มนุษย์งาน' , และในที่สุดก็ถือกำเนิดสปีชีส์ของเราเอง ซึ่งขนานนามตัวเองอย่างหยิ่งผยองว่า โฮโมเซเปียนส์ (Homo sapiens) 'มนุษย์ผู้มีสติปัญญา' สมาชิกกลุ่มนี้บ้างก็ตัวใหญ่ บ้างก็เป็นคนแคระ บ้างก็เป็นนักล่าที่น่ากลัว บ้างก็เป็นนักเก็บของป่าผู้อ่อนโยน บ้างอาศัยอยู่บนเกาะอันโดดเดี่ยว ขณะที่อีกหลายคนก็ท่องเที่ยวไปทั่วทวีป แต่ทั้งหมดล้วนอยู่ในสกุลโฮโมเซเปียนส์ทั้งสิ้น
3
คำถามชวนคิดท้ายบท: เมื่อโลกแสนปีก่อนมีมนุษย์อย่างน้อย 6 สปีชีส์ที่แตกต่างกัน จึงถือเป็นเรื่องแปลกที่กลับมีแต่เซเปียนส์อย่างเราเท่านั้นในปัจจุบัน ไม่มีมากมายหลายสปีชีส์เหมือนในอดีต ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?
1
บทต่อไปจะมากล่าวถึง : อะไรที่ทำให้เผ่าพันธุ์มนุษย์ก้าวขึ้นมาสู่ยอดสูงสุดของห่วงโซ่อาหาร
โฆษณา