24 ก.พ. 2022 เวลา 11:29 • ประวัติศาสตร์
Episodes 3 : อะไรที่ทำให้เผ่าพันธุ์มนุษย์ก้าวขึ้นมาจุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหาร ?
บทความนี้จะมากล่าวถึง : เหตุใดมนุษย์ถึงก้าวขึ้นมาสู่จุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหารได้ จากบทที่แล้วเรากล่าวถึงว่าทำไมครั้งหนึ่งมนุษย์จึงคิดมาตลอดว่าตนเองเป็นสัตว์สปีชีส์เดียวเท่านั้น และเราก็ได้ทราบถึงสาเหตุการวิวัฒนาการมนุษย์จาก
วานรสกุลแรก ชื่อ ออสตราโลพิเธคัส (Austra-lopithecus) จนกระทั่งเมื่อประชากรเหล่านี้ออกเดินทางเพื่อตั้งถิ่นฐานในแถบแอฟริกาเหนือ ยุโรปและเอเชีย
ประชากรเหล่านี้จึงต้องวิวัฒน์จนแตกต่างกันไปจนกระทั่งทำให้เกิดเกิดมนุษย์หลายสปีชีส์ที่แตกต่างกันนั่นเอง
อ่านเพิ่มเติมบทที่สอง : https://www.blockdit.com/posts/62163385bd140e86931b7c8a
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการวิวัฒนาการของมนุษย์ก่อนพวกเขาไม่ได้อยู่ดีๆ ก็สามารถก้าวขึ้นมาสู่จุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหารได้เลย ก่อนหน้านี้หลังจากมีการวิวัฒนาการจนเกิดหลายสปีชีส์ถึงแม้มนุษย์แต่ละสายพันธุ์มีความแตกต่างกันมาก แต่ละสปีชีส์ก็มีลักษณะร่วมกันหลายประการ หนึ่งในลักษณะร่วมที่เห็นได้ชัดนั้นก็คือ "สมองของมนุษย์นั่นเอง"
ทีนี้เรามาทำความความเข้าใจเกี่ยวกับสมองของมนุษย์กันก่อน : กล่าวคือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมน้ำหนัก 60 กิโลกรัม มีขนาดสมองเฉลี่ย 200 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ส่วนมนุษย์รุ่นแรกที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 2.5 ล้านปีมีขนาดสมองประมาณ 600 ลูกบาศก์เซนติเมตร ขณะที่เซเปียนส์ยุคใหม่มีขนาดสมอง 1,200 - 1,400 ลูกบาศก์เซนติเมตร และนีแอลเดอร์ธัลส์ก็มีขนาดสมองใหญ่กว่านั้นไปอีก คำถามคือแล้วขนาดของมันสมองแตกต่างกันอย่างไร ?
ข้อเท็จจริงที่หนึ่ง : คือสมองขนาดใหญ่จะทำให้ร่างกายสูญเสียพลังงานมากและการรับน้ำหนักสมองในกะโหลกศรีษะขนาดใหญ่นั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย และสิ่งที่ยากกว่านั้นคือการสะสมพลังงานเพื่อเสี้ยงสมอง น้ำหนักสมองของโฮโมเซเปียนส์คิดเป็นร้อยละ 2-3 ของน้ำหนักร่างกายแต่มันกลับต้องการพลังงานขณะพักถึงร้อยละ 25 ของพลังงานทั้งหมด เมื่อเทียบกับสมองของวานรอื่นๆ พบว่าพวกมันต้องการพลังงานเพียงแค่ 8 ของพลังงานทั้งหมด มนุษย์โบราณจึงต้องจ่ายค่าตอบแทนในการมีสมองขนาดใหญ่ขึ้น
แบบแรก : คือพวกเขาต้องใช้เวลาในการอาหารมากขึ้น ด้วยขนาดสมองที่ใหญ่จึงจำเป็นต้องการพลังงานมากขึ้นสิ่งที่มนุษย์โบราณทำได้ในตอนนั้นคือการใช้เวลาในการหาอาหารมากขึ้นนั่นเอง
แบบที่สอง : มนุษย์เปลี่ยนพลังงานที่ส่งไปกล้ามเนื้อหน้าแขนท่อนบน (biceps) ไปส่งให้เซลล์ประสาทแทน ส่งผลให้กล้ามเนื้อแขนของพวกเขาฝ่อลีบลง
จึงกล่าวได้ว่าทุกวันนี้สมองของเราตอบแทนข้อแลกเปลี่ยนในอดีตได้เป็นอย่างดีเพราะการที่เราสามารถคิดค้นประดิษฐ์รถยนต์ที่ช่วยให้เราเคลื่อนไหวได้เร็วกว่าชิมแปซี หรือทุกวันนี้เราอาจเห็นหลายๆ ประเทศแข่งขันกันด้านอวกาศ ด้านเทคโนโลยี ก็ล้วนมาจากการวิวัฒนาการสมองเรานั่นเอง จนกระทั่งระบบเครือข่ายประสาทของเราเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ นานกว่า 2 ล้านปีมาแล้ว
อีกหนึ่งลักษณะร่วมของมนุษย์อีกประการหนึ่งคือ เราเดินตัวตรงบนขาทั้งสองข้าง การลุกขึ้นยืนทำให้เราสามารถตรวจตรามองหาเหยื่อหรือศัตรูในทุ่งหญ้าสะวันนาห์ได้ง่ายขึ้น แขนที่ไม่มีความจำเป็นสำหรับการเคลื่อนที่ก็ใช้งานอย่างอื่นแทน เช่น ขว้างก้อนหินหรือจับอาวุธและยังมีอีกหลายอย่างที่ใช้มือทั้งสองข้างทำได้ ยิ่งใช้งานได้ดีก็ยิ่งทำให้เกิดแรงกดดันทางวิวัฒนาการจนทำให้เกิดการเพิ่มกระแสประสาทและมีกล้ามเนื้อของฝ่ามือและนิ้วที่ปรับการทำงานได้อย่างละเอียดละอ่อนมากยิ่งขึ้น ผลลัพธ์ก็คือพวกเขาสามารถใช้มือทำอะไรหลายๆ สิ่งที่ซับซ้อนและละเอียดได้นั่นเอง
แต่ก็นั่นก็ไม่ใช่สิ่งมนุษย์ได้มาฟรีๆ การเดินตัวตรงก็มีข้อเสียเช่นกัน โครงกระดูกของไพรเมตต้นตระกลูของมนุษย์พัฒนามาเป็นล้านๆ ปี เพื่อรองรับการเดินด้วยแขนขาทั่งสี่ข้างและศีรษะที่ค่อนข้างเล็ก ดังนั้น การปรับตัวสู่การยืนสองขาจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างท้าทาย โดยเฉพาะโครงกระดูกที่ต้องรองรับกะโหลกศีรษะอันมหึมา
มนนุษย์จึงต้องแลกกับการมีทัศนวิสัยแบบมุมสูงและการมีมือที่คล่องแคล่วด้วยอาการปวดหลังและการเมื่อยคอ
จนเมื่อ 400,000 ปีมานี่เองที่มนุษย์หลายสปีชีส์เริ่มล่าสัตว์ใหญ่เป็นเป็นประกิจวัตร และเพียงแค่ 100,000 ปีมานี่เองที่โฮโมเซเปียนส์ถือกำเนิดขึ้นและมนุษย์ก็ก้าวกระโดดขึ้นสู่ยอดห่วงโซ่อาหาร เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ?
การก้าวกระโดดจากกึ่งกลางสู่จุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหารอันน่าประทับใจนี้ส่งผลตามมาอย่างมหาศาล สัตว์อื่นๆ บนยอดพีระมิด เช่น สิงโตและฉลาม วิวัฒน์ตนเองอย่างช้าๆ ใช้เวลาร่วมเกือบล้านๆ ปี กว่าจะถึงจุดนั้น จึงทำให้ระบบนิเวศสามารถพัฒนาวิธีการควบคุมและคงความสมดุลไว้ได้ ช่วยป้องกันไม่ให้สิงโตและฉลาม
สร้างความเสียหายจนเกินไป ไฮยีน่าทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ดีขึ้น กวางเกเซลล์ก็วิวัฒน์จนวิ่งได้เร็วมากขึ้นเพื่อเอาตัวรอดจาก สิงโต ไฮยีน่าหรือแม้แต่สัตว์ที่อยู่บนห่วงโซอาหารทั้งหลาย
ในทางตรงกันข้าม มนุษย์กลับก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหารอย่างรวดเร็วจนเกินไป ทำให้ระบบนิเวศมีเวลาไม่พอในการปรับสมดุล ส่งผลให้มนุษย์มีอิทธิพลเหนือสัตว์อื่นๆ ที่น่าเกรงขาม นานนับล้านๆ ปี ส่งเสริมให้พวกมันมีความมั่นใจในตนเองมากยิ่งขึ้นจึงทำให้ระบบนิเวศไม่สามารถคงความสมดุลไว้ได้
ดังนั้นจึงสันนิษฐานได้ว่าสมองขนาดใหญ่ การเดินตัวตรงเพื่อทัศนวิสัยแบบมุมสูงและมีมือที่คล่องแคล่ว หรือแม้แต่ การใช้เครื่องมือความสามารถในการเรียนรู้ที่เหนือกว่า และโครงสร้างทางสังคมอันซับซ้อนถือว่าเป็นความได้เปรียบอย่างมหาศาล เป็นหลักฐานบ่งชี้ในตัวมันเองว่าสิ่งเหล่านี้ทำให้มนุษยชาติเป็นสัตว์ที่ทรงพลังมากที่สุด
นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติของเราเองทุกครั้งที่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์จะทำให้เราเข้าใจปัจจุบัน และเข้าใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกันมากยิ่งขึ้น น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีหนังสือดีๆ อย่าง เปียนส์ประวัติย่อมนุษยชาติ ที่ผมได้อ่านและเอามาย่อยให้ฟังเป็นตอนๆ
บทความต่อไปจะมากล่าวถึงว่า : เมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักการใช้ไฟและสามารถควบคุมไฟได้พวกเขาก็สามารถควบคุมแรงกำลังที่มีศักยภาพอันไร้ขีดจำกัดให้เชื่อฟังและอยู่ใต้อำนาจได้
อ้างอิงจาก : หนังสือ เซเปียนส์ประวัติย่อมนุษยชาติ
โฆษณา