Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Health Me Now
•
ติดตาม
26 ก.พ. 2022 เวลา 06:36 • ข่าว
พบแล้ว!!! ร่างดาราสาว ‘แตงโม นิดา’ หลังจากเกิดเหตุพลัดตกเรือจมน้ำหายไปในแม่น้ำเจ้าพระยา
64
ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งกับครอบครัวและญาติ
111
ไทยรัฐออนไลน์
วันนี้(26 ก.พ.2565) จากกรณีดาราสาวชื่อดัง "แตงโม" หรือ "แตงโม นิดา" หรือ น.ส.ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ อายุ 37 ปี พลัดตกเรือสปีดโบ๊ตจมหายไปในแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้สะพานพระราม 7 ช่วงท่าเรือพิบูลสงคราม 1 เมื่อช่วง 4 ทุ่มของคืนวันที่ 24 ก.พ.65 ที่ผ่านมา จากการระดมทีมกู้ภัยและนักประดาน้ำออกค้นหานานกว่า 32 ชั่วโมง ล่าสุดพบร่างแล้ว
23
ซึ่งจากการระดมทีมกู้ภัยและนักประดาน้ำออกค้นหานานกว่า 32 ชั่วโมง ตั้งแต่คืนวันที่ 24 ก.พ.65 ที่ผ่านมา จนเข้าสู่วันที่ 2 ล่าสุดพบร่างดาราสาว "แตงโม" หรือ "แตงโม นิดา" หรือ น.ส.ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ อายุ 37 ปี แล้ว
21
โดยเจ้าหน้าที่พบศพ "แตงโม นิดา" ดาราสาวลอยขึ้นมาที่บริเวณห่างจากจุดท่าเรือพิบูลสงคราม 1 ไม่มากนัก (จุดที่ปักหลักค้นหา) เมื่อเวลาประมาณ 13.00 น. รายงานระบุว่า พี่ชายของ แตงโม นิดา เป็นคนพบเอง ตรงจุดที่กำลังโรยดอกไม้กลางแม่น้ำเจ้าพระยา
15
จมน้ำ อันตรายกว่าที่คิด
11
จมน้ำ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยและมีความรุนแรง มักจะทำให้ตายในเวลาเพียงไม่กี่นาที มักเกิดกับเด็กเล็ก และผู้ที่ว่ายน้ำไม่เป็น อาจเกิดจากการตกน้ำทั้งในแหล่งน้ำธรรมชาติและภาชนะกักเก็บน้ำภายในบ้าน จมน้ำ จากอุบัติเหตุ เช่น เรือคว่ำ เรือชน เมาเหล้า โรคลมชัก โรคหัวใจวาย เป็นลม เป็นต้น
1
ผู้ที่จมน้ำมักจะตายเนื่องจากขาดอากาศหายใจ เพราะสำลักน้ำ บางรายอาจตายเนื่องจากภาวะเกร็งของ กล่องเสียง (laryngospasm) ทำให้หายใจไม่ได้ สาเหตุเหล่านี้มักจะทำให้ผู้ที่จมน้ำตายภายใน 5-10 นาที
ผู้ที่จมน้ำถึงแม้จะรอดมาได้ในระยะแรก แต่ก็อาจจะตายเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนในภายหลังได้ เช่น ปอด อักเสบ การเปลี่ยนแปลงของระดับเกลือแร่ในร่างกาย ภาวะเลือดเป็นกรด ภาวะปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) ภาวะปอดไม่ทำงาน (ปอดล้ม ปอดวาย) เป็นต้น ในรายที่ขาดอากาศหายใจเป็นเวลานาน อาจเป็นสมองพิการได้
4
ภาวะเหล่านี้มักเกิดขึ้นไม่ต่างกันมากนัก ทั้งในพวกที่จมน้ำจืด (แม่น้ำ ลำคลอง บ่อ สระน้ำ) และพวกที่จมน้ำทะเล รวมทั้งอาการแสดงและการรักษาก็ไม่ต่างกันมาก
ข้อแตกต่าง คือ น้ำจืดจะมีความเข้มข้นน้อยกว่า เลือด (พลาสมา) ดังนั้น ถ้ามีน้ำอยู่ในปอดจำนวนมาก ก็จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดทันที ทำให้ปริมาตรของ เลือดที่ไหลเวียนเพิ่มจากเดิม (hypervolemia) มีผลทำให้ระดับเกลือแร่(เช่นโซเดียมโพแทสเซียม)ในเลือดลดลง ซึ่งอาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจวายได้ นอกจากนี้ ยังอาจเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก (hemolysis) ได้อีกด้วย
ส่วนน้ำทะเลจะมีความเข้มข้นมากกว่าเลือด น้ำ ทะเลที่สำลักอยู่ในปอดจะดูดซึมน้ำเลือด (พลาสมา) จากกระแสเลือดเข้าไปในปอด ทำให้เกิดภาวะปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) ระบบไหลเวียนมีปริมาตรลดลง (hypovolemia) และระดับเกลือแร่ในเลือดเพิ่มสูงขึ้นทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจวาย หรือเกิดภาวะช็อกได้
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จมน้ำมักตายเนื่องจากขาดอากาศหายใจมากกว่าการเปลี่ยนแปลงของระดับเกลือแร่และปริมาตรของเลือด
การจมน้ำยังมีระดับของการเกิดภาวะดังกล่าวในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. Near Drowning คือ ภาวะรอดชีวิตจากการจมน้ำ โดยผู้ป่วยอาจรอดชีวิตเป็นเวลามากกว่า 24 ชั่วโมงหรือรอดชีวิตเพียงชั่วขณะ ภาวะนี้ถือเป็นภาวะก่อนจมน้ำเสียชีวิต ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ
2. Secondary Drowning คือ ภาวะแทรกซ้อนจากการจมน้ำ โดยมีน้ำเข้าไปในปอดผู้ป่วย ทำให้ปอดบวมหรืออักเสบ ส่งผลให้ร่างกายแลกเปลี่ยนออกซิเจนและหายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปได้ยาก ผู้ที่ประสบภาวะนี้จะแสดงอาการออกมาหลังผ่านไปนานกว่า 24 ชั่วโมง
3. Dry Drowning คือ ภาวะจมน้ำที่มีน้ำเข้าปากหรือจมูก ส่งผลให้ระบบทางเดินหายใจกระตุกและปิดลง ภาวะนี้มักเกิดขึ้นทันทีหลังจมน้ำ
4. Immersion Syndrome คือ ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันจากการจมน้ำที่เย็นมาก ซึ่งอาจเกิดจากการตอบสนองของระบบประสาทร่วมกับการบีบตัวของหลอดเลือด
อาการ จมน้ำ
ผู้ที่จมน้ำมักจะมีอาการหมดสติ และหยุดหายใจ บางรายอาจมีภาวะหัวใจหยุดเต้น (คลำชีพจรไม่ได้) ร่วมด้วย
ถ้าไม่ถึงกับหมดสติ ก็อาจมีอาการปวดศีรษะ เจ็บหน้าอก อาเจียน กระวนกระวาย หรือไอมีฟองเลือดเรื่อๆ (ซึ่งแสดงว่ามีภาวะปอดบวมน้ำ)
บางรายอาจตรวจพบภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติหัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตต่ำหรือภาวะช็อก
การป้องกัน จมน้ำ
ควรหาทางป้องกัน โดย
1. ระวังอย่าให้เด็กเล็กเล่นน้ำหรืออยู่ในบริเวณใกล้กับน้ำ เช่น แม่น้ำลำคลอง บ่อน้ำ สระน้ำ รวมทั้งโอ่งน้ำ ถังใส่น้ำภาชนะกักเก็บน้ำภายในบ้านตามลำพัง
2. ควรส่งเสริมให้เด็กฝึกว่ายน้ำให้เป็น
3. เวลาลงเรือหรืออกทะเล ควรเตรียมชูชีพไว้ให้พร้อมเสมอ
4. ผู้ที่เมาเหล้า หรือเป็นโรคลมชัก ห้ามลงแล่นน้ำ
5. วิธีผายปอดแก่ผู้ป่วยจมน้ำที่แนะนำในปัจจุบัน คือ วิธีการเป่าปาก และให้ลงมือทำให้เร็วที่สุด อย่าเสีย เวลาในการจับแบกพาดบ่าเพื่อเอาน้ำออกจากปอดดังที่ เคยแนะนำกันในสมัยก่อน ส่วนการผายปอดด้วยมือ เช่น วิธีของซิลเวลเตอร์ (Silvester method) หรือวิธีของโฮลเกอร์นีล (Holger Nielsen method) เป็นต้น ไม่แนะนำให้ทำเพราะได้ผลน้อย
6. ผู้ป่วยที่จมน้ำทุกรายไม่ว่าจะหมดสติหรือหยุดหายใจหรือไม่ก็ตาม ควรพักรักษาตัวในโรงพยาบาลอย่างน้อย 24-27 ชั่วโมง เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในเวลาต่อมา
การรักษา จมน้ำ
แพทย์จะรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาลทุกรายไม่ว่าจะมีอาการหนักเบาเพียงใด เพื่อเฝ้าสังเกตอาการ และหาทางป้องกันและแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
มักจะทำการเจาะเลือดตรวจระดับแก็สในเลือด และตรวจหาความเข้มข้นของเกลือแร่ เอกซเรย์ดูว่ามี การอักเสบของปอดหรือปอดแฟบหรือไม่ หรือตรวจ พิเศษอื่น ๆ
การรักษา ให้ออกซิเจน ต่อเครื่องช่วยหายใจ ให้ น้ำเกลือ พลาสมาหรือเลือด ถ้ามีภาวะหัวใจวายก็จะให้ยาขับปัสสาวะและยารักษาโรคหัวใจ (เช่น ไดออกซิน) ถ้ามีปอดอักเสบ จะให้ยาปฏิชีวนะ และสตี-รอยด์
การวินิจฉัยการจมน้ำ
ผู้ที่พบเห็นคนจมน้ำ ควรรีบเข้าช่วยเหลือ รวมทั้งสังเกตว่าเกิดอาการผิดปกติอื่น ๆ หรือไม่ หากพบต้องนำตัวส่งโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาต่อไป โดยแพทย์จะบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับการจมน้ำของผู้ป่วย ได้แก่ ระยะเวลาที่จมน้ำ ชนิดและอุณหภูมิของน้ำ เวลาที่ใช้ในการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพหรือซีพีอาร์ ช่วงเวลาที่เริ่มหายใจได้เอง ช่วงเวลาที่หัวใจกลับไปสูบฉีดเลือด การอาเจียน รวมทั้งการกระทบกระเทือนหรือปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ แพทย์จะตรวจอาการต่าง ๆ เพื่อวินิจฉัยผู้ป่วย ได้แก่ อุณหภูมิร่างกาย ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด จังหวะการเต้นของหัวใจ ลักษณะการหายใจ อาการปอดบวม การได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะหรือคอ การได้รับบาดเจ็บบริเวณทรวงอกหรือภายในช่องท้อง (ในกรณีจมน้ำจากการตกจากที่สูง) การทำงานของระบบประสาท โดยแพทย์จะตรวจด้วยวิธีต่อไปนี้
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ วิธีนี้จะใช้ตรวจอัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจ รวมทั้งตรวจดูว่าผู้ป่วยเกิดภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจหรือภาวะตัวเย็นเกินหรือไม่
การตรวจเลือด วิธีนี้ใช้ตรวจวิเคราะห์ก๊าซในหลอดเลือดแดง (Arterial Bleed Gas Analysis) เกลือแร่ในเลือด การทำงานของไต ระดับกลูโคส ระดับแอลกอฮอล์ ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด การทำงานของตับ หรือการแข็งตัวของเลือด
การตรวจด้วยรังสี แพทย์อาจเอกซเรย์ทรวงอก รวมทั้งเอกซเรย์หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณกระดูกสันหลังคอหรือศีรษะ เพื่อดูว่าได้รับบาดเจ็บหรือเกิดการกระทบกระเทือนบริเวณดังกล่าวหรือไม่
เรียนรู้เพิ่มเติม
healthmenowth.com
จมน้ำ: Health Me Now
จมน้ำ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยและมีความรุนแรง มักจะทำใ...
ซึ่งช่วงชีวิตที่ผ่านมาของ แตงโม นิดา นั้นผ่านอะไรมาเยอะแยะมากมาย ทั้งเรื่องดราม่า ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต และอุบัติเหตุหนัก แต่ แตงโม ก็ผ่านมาได้ จนหลายคนได้ตั้งฉายาให้ว่า แมว 9 ชีวิต
1. ตอนอายุ 23 ปี แตงโม ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ เพราะเกิดหลับในระหว่างขับรถกลับบ้านหลังจากถ่ายละครเสร็จ ทำให้ได้รับบาดเจ็บสาหัส ใบหน้าไถลครูดไปกับถนนจนต้องเย็บบริเวณใบหน้ามากถึง 140 เข็ม
2. แตงโม พบรักครั้งใหม่กับ โตโน่ ภาคิน และเข้าพิธีแต่งงานกันเงียบๆ ก่อนจะเป็นข่าวใหญ่โต ซึ่งชีวิตของทั้งคู่ราบรื่นมาตลอด กระทั่งมีข่าวออกมาว่า แตงโม พยายามทำร้ายตัวเอง หลังได้หย่าขาดจาก โตโน่ อดีตสามี
4
3. แตงโม ยังกลายเป็นข่าวพาดหัวทั้งเรื่องที่เป็นโรคซึมเศร้า พยายามทำร้ายตัวเองหลังหย่าขาดจาก โตโน่ ภาคิน อดีตสามี
1
4. แตงโม ก็ผ่านมาได้ จนเธอมีชีวิตใหม่ มีงานเข้ามา แม้ แตงโม จะผิดหวังกับเรื่องความรักอยู่บ่อยครั้ง แต่ก็ผ่านมาได้ มีคนรอบข้างคอยให้กำลังใจอยู่เสมอ รวมไปถึง คุณพ่อโสภณ ที่อยู่ข้างๆ คอยให้กำลังใจ แตงโม มาตลอด
5. แต่แล้วเหมือนฟ้ากลั่นแกล้ง เมื่อ คุณพ่อโสภณ ได้พบว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ต้องเข้าออกโรงพยาบาลอยู่บ่อยครั้ง แต่ แตงโม ก็ยังคอยดูแล ให้กำลังใจเคียงข้างคุณพ่อเสมอมา พยายามทำงานหาเงินเพื่อมาเป็นค่ารักษาพยาบาลให้กับคุณพ่อ
6. และเมื่อช่วงกลางดึกคืนวันที่ 19 กันยายน 2563 คุณพ่อโสภณ ได้จากไปอย่างสงบด้วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ทำให้ แตงโม รู้สึกเคว้งอย่างมาก
7. แตงโม นิดา ได้เงียบหายไปจากวงการบันเทิงประมาณ 2 ปี เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดหนัก และเจ้าตัวก็ได้เก็บตัวอยู่แต่กับบ้าน
5
8. แตงโม เปิดเผยว่าเจอพิษจากศัลยกรรมอย่างหนัก ทำให้ใบหน้าและจมูกผิดรูป มีอาการชาบริเวณริมฝีปากเพราะเส้นประสาทได้รับความกระทบกระเทือน ริมฝีปากสองข้างไม่เท่ากัน ทำให้มีปัญหาในการพูด รวมถึงสีหน้าการแสดงอารมณ์ด้วย จึงเป็นปัญหาอย่างมากในการทำงานในวงการบันเทิงที่ต้องใช้หน้าตาเป็นหลัก แตงโม จึงตัดสินใจพักงานเพื่อรักษาตัวเองให้หาย โดยใช้เวลากว่า 2 ปี
6
9. แตงโม ได้เล่าถึงสภาพจิตใจตัวเองในตอนนั้นผ่านทางรายการ โหนกระแส ว่า "ช่วงแรกๆ ที่เป็นก็เกือบตาย ไม่เคยพูดที่ไหนเลยนะคะ ปกติสัมภาษณ์รายการอื่นจะพูดทิศทางที่บวก แต่วันนี้ขอพูดอีกมุมนึง ในมุมลึกๆ คุณพ่อเราเพิ่งเสียและหนักมามากๆ กับช่วงเวลาก่อนคุณพ่อป่วยเราเป็นต่อมหมวกไตล้า เป็นโรคซึมเศร้าอยู่แล้ว
4
#แตงโม #แตงโมนิดา #จมน้ำ
5
healthmenow
สุขภาพ
ข่าว
2 บันทึก
7
2
2
7
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย