1 มี.ค. 2022 เวลา 12:19 • ปรัชญา
ปัญหาเหมือนกัน มุมมองต่างกัน คำตอบต่างกัน [Communication] <> เวลาอ่าน ประมาณ 6 นาที
ครั้งหนึ่งในสักเมือง มีเด็กหญิงน้อยคนหนึ่ง ผู้ที่ซึ่งชื่นชอบการเรียนหนังสือ และเป็นคนที่ใฝ่รู้และเรียนรู้สิ่งใหม่เป็นงานอดิเรก แต่กลับรู้สึกรำคาญเมื่อเห็นวิธีที่ผู้สอนใช้สอน จนกระทั่งวันหนึ่งเธอมากลายเป็นครูซะเอง...
ครั้งหนึ่งในสักเมือง มีเด็กหญิงน้อยคนหนึ่ง ผู้ที่ซึ่งชื่นชอบการเรียนหนังสือ และเป็นคนที่ใฝ่รู้และเรียนรู้สิ่งใหม่เป็นงานอดิเรก แต่กลับรู้สึกรำคาญเมื่อเห็นวิธีที่ผู้สอนใช้สอน
.
เพราะไม่เคยมีตัวอย่างในทางปฏิบัติ เมื่อเรียนคณิตศาสตร์ หรือวิชาที่ให้คิดคำนวณเลย ทั้งหมดมันเป็นทฤษฎีเสมอ
.
เด็กหญิงน้อยมีมุมมองที่ต่างออกไปว่า โรงเรียนและการเรียนการสอนควรจะเป็นแบบไหน เพื่อให้เด็ก ๆ เข้าใจได้ง่าย
.
และถึงแม้ว่าตอนนี้เธอยังเด็กมาก แต่เธอก็ตั้งเป้าหมายได้แล้วว่า เธอจะกลายเป็นผู้สอน และจะเป็นผู้สอนที่ดีที่สุดให้ได้ เธอจะทำให้การเรียนการสอนมีความน่าสนใจสำหรับเด็กทุกคน
.
ดังนั้น เธอจึงเรียนหนักมาก และเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนสอบเข้ามหา’ลัยแห่งหนึ่งได้ ผ่านไป 4 ปี เธอก็เรียนจบไปพร้อมเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
และความฝันก็ไม่ใช่ความฝันอีกต่อไป เพราะในที่สุด เธอก็ได้เป็นผู้สอนจนได้! ถึงแม้ว่าจะเริ่มจากการเป็นผู้ช่วยสอนก็ตาม ทุกอย่างต้องเริ่มจากศูนย์ก่อนเสมอ
..
..
เธออุทิศเวลาและชีวิตไปกับการเรียนรู้จากการเป็นผู้ช่วยสอนอย่างมาก จนวันนั้นมาถึง เธอได้บรรจุเป็นผู้สอนแบบเต็มตัว! และเลือกมาเป็นผู้สอนที่โรงเรียนในวัยเด็ก ที่ที่ซึ่งเธอเคยรำคาญวิธีการสอนของผู้สอนวิชาคำนวณของที่นี่
..
..
หลังจากสอนในโรงเรียนเก่ามาสักพักแล้ว ผู้สอนคนอื่นก็เห็นว่าวิธีการสอนของเธอมีคุณภาพกว่ามาก จึงเริ่มนำวิธีการสอนนั้นมาสอนในชั้นเรียนของตน
..
..
จากเด็กหญิงน้อย กลายมาเป็นผู้สอนตามที่ใจปรารถนา และเธอก็ภูมิใจในตัวเองมากที่มีวิธีการสอน วิธีอธิบายที่สามารถทำให้เด็ก ๆ เข้าใจได้เป็นอย่างดี
..
..
นอกจากเด็ก ๆ แล้ว เธอยังสอนผู้ปกครองของพวกเค้า ถึงวิธีการอธิบายสิ่งต่าง ๆ ให้ลูก ๆ สามารถเข้าใจโดยง่ายอีกด้วย และตอนนี้ทุกสิ่งดำเนินไปตามแผนที่เธอวางไว้ตั้งแต่เด็กแล้ว
ณ คาบเรียนคณิตศาสตร์ของเช้าวันนึง เธอกำลังสอนให้กับเด็กอายุ 6 ขวบ เธอมีตัวอย่างให้เด็ก ๆ ดู มันเป็นตัวอย่างง่าย ๆ
...
...
...
โดยถามเด็กทุกคนว่าผลไม้ที่พวกเค้าชื่นชอบที่สุดคืออะไร และให้เด็กแต่ละคนบวกจำนวนของผลไม้เข้าด้วยกัน และตอบว่ารวมได้เท่าไหร่ จนถึงคิวเด็กชายคนหนึ่งที่ชื่อว่า ‘ทองเจือ’
...
...
...
เธอถามทองเจือ “หากครูให้ส้มเธอหนึ่งผล และให้เพิ่มอีก 1 ผล และอีก 1 ผล เธอจะมีส้มในกระเป๋าทั้งหมดเท่าไหร่จ๊ะ” ทองเจือตอบอย่างมั่นใจเลยว่า “สี่ ฮับ”
...
...
...
เธอประหลาดใจที่ได้ยินว่า 4 แทนที่จะเป็น 3 ไม่เป็นไร เธอถามอีกครั้ง คราวนี้เธอช่วยทองเจือ โดยการนับนิ้วมือไปด้วย
...
...
...
เธอถามทวนคำถามอีกรอบ “ฟังดีดีนะจ๊ะ แล้วมองตามนิ้วครูนะ” เธอยกมือขวาขึ้นมา “หากครูให้ส้มเธอหนึ่งผล และให้เพิ่มอีก 1 ผล และอีก 1 ผล เธอจะมีส้มในกระเป๋าเท่าไหร่จ๊ะ” เธอพูดพร้อมยกนิ้วขึ้นมาทีละนิ้ว จนครบ 3 นิ้วตามจำนวนผลไม้
...
...
...
ทองเจือมองนิ้วของเธอ และหันไปมองกระเป๋าของเขา และหันกลับมามองหน้าเธอที่ตอนนี้เริ่มออกอาการผิดหวังแล้ว ทองเจือเลยตอบด้วยความไม่แน่ใจว่า “สะ..สี่ ฮะ...ฮับ”
เพี๊ย! เธอตบหน้าผากตัวเองในใจ เพราะนึกขึ้นได้ว่าทองเจือชอบสตรอเบอรี่นี่น่า เอาล่ะ เธอเลยเปลี่ยนคำถามใหม่ “ทองเจือ หากครูมีสตรอเบอรี่ให้เธอ 1 ลูก และให้เพิ่มอีก 1 และอีก 1 ในกระเป๋าเธอตอนนี้จะมีสตรอเบอรี่จำนวนเท่าไหร่”
....
....
....
....
ทองเจือนับเลขอย่างพินิจ พร้อมรอยยิ้มไม่มั่นใจนัก และตอบว่า “สา..ม” นั่นแหละทองเจือ! เธอยิ้มอย่างมีสุขที่ในที่สุดเธอก็ทำให้ทองเจือเข้าใจจนได้
....
....
....
....
เธอถามทองเจือ “งั้นคราวนี้ ถ้าครูให้ส้มเธอ 1 ผล และให้อีก 1 ผล และอีก 1 ผล เธอจะมีส้มในกระเป๋าทั้งหมดเท่าไหร่”
....
....
....
....
ทองเจือเห็นใบหน้าเปี่ยมสุขของคุณครูของตน จึงตอบคำถามอีกครั้งทันทีเลยว่า “สี่ฮับ!”
....
....
....
....
เธอรู้สึกหน้าชาขึ้นมา และพูดด้วยน้ำเสียงใส่อารมณ์เล็กน้อยอย่างลืมตัวและเหลืออด “มันจะเป็นสี่ได้ไง ทองเจือ!!” เธอชักจะมีน้ำโหแล้ว
....
....
....
....
ทองเจือตอบ “เพราะในกระเป๋าผมมีส้มอยู่แล้ว 1 ลูก”
เธออึ้งไปเลย ...มันก็เป็นอีกวันที่เธอได้เรียนรู้บทเรียนที่มีคุณค่าหลาย ๆ อย่าง บางเรื่องราวมันก็ไม่ใช่อย่างที่คุณคิด บางครั้งคุณจำเป็นต้องมองปัญหาจากมุมมองที่ต่างออกไป เพื่อให้ได้เข้าใจว่าทำไมสิ่งนั้นถึงเป็นแบบนี้ หรือทำไมคนนั้นพูดแบบนี้
The End of misunderstanding
>>> สถานการณ์เดียวกัน เข้าใจต่างกัน เกิดจาก มุมมองไม่สอดคล้องกัน และความเชื่อที่ไม่เหมือนกัน ทำให้เรื่องราวแย่ลง <<<
>>> เมื่อเกิดการสนทนา ปัญหาใหญ่ที่สุดคือ ต่างฝ่ายต่างการเข้าใจผิด เพราะแต่ละคนมีมุมมองเป็นของตนเอง มีความเชื่อเป็นของตนเอง <<<
>>> แต่หากเมื่อเราลองมองในมุมมองที่ต่างออกไป ลองมองจากมุมมองของเค้าดู ถ้าทำแบบนี้แล้ว ความเป็นไปได้ของการสื่อสารที่ผิดพลาดจนอาจจะทำให้เกิดปัญหาก็จะลดน้อยถอยลง <<<
ข้อความจาก Mission Is-Go-On เรื่องนี้ใช้ได้ในทุกสถานการณ์
  • เช่น หากมีรถกับแช่เลนขวา ขับช้าไม่ยอมหักซ้ายให้คุณที่มาเร็วสักที แน่นอนว่าความไม่พอใจมันก็เกิด เพราะเหมือนเราโดนละเลยใช่ไหม แต่หากคุณลองมองในมุมอื่น มองในมุมเค้าดู ว่าถ้าหากคุณเป็นเค้า คุณจะทำแบบเดียวกันมั้ย? หากรู้ว่า
  • รถคันหน้าเป็นรถกระบะที่ขนทุเรียนมาเต็มคัน เค้าจะต้องขับเร็วเพื่อทำเวลาส่งออกให้เร็วที่สุด การอยู่เลนซ้ายทั้งที่ขับเร็วก็เป็นเรื่องไม่เหมาะสม เพราะจะต้องแซงบ่อยแน่นอน และการแซงบ่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่ขนของหนักมาเต็มคัน จะทำให้รถเสียสมดุล จนอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำได้
  • ดังนั้น เค้าต้องอยู่เลนขวาไว้ เพื่อรักษาความมั่นคงของรถให้ผ่านไปได้ตลอด คุณที่ขับมาไวกว่า ก็จำเป็นต้องเปลี่ยนเลนไปทางซ้ายแทน
  • ผมเคยไม่พอใจรถที่ขับลักษณะที่มามากเหมือนกัน แต่พอเรามองในมุมกลับ มองในมุมต่างอย่างเข้าใจ ความไม่พอใจใด ๆ เหล่านั้น จะหายไปทันทีเลย นี้เป็นข้อดีของการมองอะไรหลาย ๆ มุม
หากท่านเป็นคนที่ชอบพัฒนาตนเองเป็นชีวิตจิตใจ และชื่นชอบบทความสร้างแรงบรรดาลใจ คำคม จิตวิทยา สามารถติดตามเราได้ที่
References
โฆษณา