2 มี.ค. 2022 เวลา 00:42 • ความคิดเห็น
เคยมีข้อความหนึ่งจากอาจารย์ปิยบุตร ที่เปลี่ยนชีวิตบอยไปตลอดกาล ตอนนั้นเป็นช่วงที่ขับเคลื่อนรัฐธรรมนูญ เพื่อปิดสวิชต์สมาชิกวุฒิสภา 250 เสียง แล้วอาจารย์ปิยบุตร ต้องเข้าไปนำเสนอร่างในฐานะตัวแทนภาคประชาชนในรัฐสภา
ประโยคนั้นของอาจารย์ยังอยู่ในใจเราถึงทุกวันนี้เลย และเป็นเหตุผลที่ทำเพจต่อไป โดยไม่สะทกสะท้านเสียงวิพากษ์วิจารณ์กลับที่มีต่อตัวเราเลยแม้แต่น้อย แต่กลับมองเห็น "ประโยชน์จากการวิพากษ์วิจารณ์ในทางสร้างสรรค์สังคม"
บอยเห็นด้วยกับอาจารย์ (แม้ว่าการโดนหมิ่น ก็คือไม่มีใครสมควรโดนอยู่แล้ว มันสร้างความเจ็บปวด และสร้างความเสื่อมเสียให้กับผู้คน ที่ถูกกระทำทางคำพูดอย่างสาหัสก็ตาม)
2
1) ถ้าเราเลือกแล้วที่จะอยู่ในแสงสว่าง หรือใน status ที่คนเอื้อมถึง สัมผัสได้ แตะต้องได้ เราต้องยอมรับแรวปะทะในสังคมให้ได้ ถ้าเราเลือกที่จะวิจารณ์แสดงความเห็น ราคาที่เราต้องจ่ายคือการถูกวิจารณ์กลับ
2) แม้หลายครั้ง freedom of speech จะโคตรทำร้ายเราเลย ทำให้เราบาดเจ็บจากการถูกกระทำด้วยการตกเป็นเหยื่อของคำพูดคนอื่น ที่มันเข้าข่ายการหมิ่นประมาท เพราะมันคือการโจมตีตัวบุคคล ไม่ใช่การโต้เถียงแสดงเหตุผล คนที่ถูกวิจารณ์ในทางลบใช้ความอดทนอดกลั้นสูงมาก ซึ่งการฟ้องหมิ่นก็คือทางออกหนึ่งของการปกป้องตนเอง
3) ทุกครั้งที่แสดงความเห็นในประเทศ มีคนเห็นเหมือน เห็นต่างเสมอ แต่ความโชคร้ายของความเห็นต่างคือ กลายเป็นแทนที่จะแสดงความเห็นกลับด้วยเหตุผล คนในประเทศเรามักใช้การตำหนิที่ตัวบุคคล พุ่งเป้าไปที่เกลียดคน ไม่ใช่สาระของสาร นำไปสู่การล้ำเส้น หรือหมิ่นประมาทด้วยคำพูดที่สร้างความเสียหายให้บุคคลอื่น
4) คนไม่ได้เสพสาร เพราะเชื่อในสาระ แต่เชื่อในคน ผู้คนสนใจว่าเป็นใครพูด ใครแสดงความเห็น เป็นคนที่รักหรือไม่? ลัทธิบูชาตัวบุคคลทำให้ประเทศนี้มีความเบี้ยวบูด คนที่เกลียด ต่อให้พูดสิ่งที่ถูกก็จะผิด แต่ถ้าเป็นคนรักต่อให้ทำสิ่งที่ผิด ก็จะถูก แตะต้องไม่ได้เลย
5) การแตะต้องไม่ได้เลย สะท้อนให้เห็นว่าในประเทศมีคนที่คนรักมหาศาล จนไม่สามารถวิจารณ์ได้ และการวิจารณ์ไม่ได้นั่นแหละ คือสิ่งที่ไม่สง่างามเอาเสียเลย เพราะอยากให้คนสรรเสริญอย่างเดียว ชมได้แต่ห้ามด่า ใช้ข้อกฎหมายมาปกป้องตัวเองไม่ให้ถูกวิจารณ์ได้ ซึ่งการฟ้องหมิ่นก็คือกฎหมายตัวนั้น แต่ถ้ามองบริบทสูงกว่านั้น ก็คือ ม.112
6) เราตั้งคำถามว่า "ถ้าเราจะฟ้องใคร จากคำวิจารณ์แย่ๆ เราทำได้ไหม?" เรามองว่าทำได้ คือการรักษาสิทธิ์ตัวเอง จากการถูกละเมิดทางคำพูด และทำให้รู้สึกเสียหายต่อชื่อเสียง แต่เราเชื่อเสมอเช่นกันว่า "ถ้าเราเปิดกว้างแล้วที่จะรับทั้งคำติชม เราต้องกล้ารับฟังมันอย่างสง่างาม และเลือกสรรเอาถ้อยคำที่เป็นประโยชน์มาปรับปรุง จากคำวิจารณ์ แต่เราไม่จำเป็นต้องให้ค่ากับทุกคำวิจารณ์"
7) อะไรที่วิจารณ์ไม่ได้ แตะไม่ได้ = พัฒนาไม่ได้ เพราะต้องคงนิ่งมันไว้แบบนั้น คำวิจารณ์มันมีประโยชน์ให้คนทำตัวให้ดีขึ้น ปรับปรุงพฒนาตัวเองอยู่เสมอ จากคำวิจารณ์ที่เป็นประโยชน์ การกล้ารับคำวิจารณ์มันคือความท้าทายอย่างหนึ่งของการใช้ชีวิต เพราะไม่มีใครอยากฟังคำติ ทุกคนชอบน้ำหอมหวาน มาชมฉันสิ มาให้คุณค่ายกยอฉัน
8 ) ประเทศนี้คนมีอำนาจไม่ต้องการฟังหรอกว่า คนจะวิจารณ์อะไร เขาอยากได้ยินแต่คำชม คำเยินยอ ชอบให้คนรอบข้างชม ไม่ได้อยากพัฒนา แต่ happy ที่จะหลอกตัวเองว่าคนชื่นชม จึงวิจารณ์ไม่ได้ แตะต้องไม่ได้ ชอบแต่การเลีย อวยยศ การที่ประเทศไม่พัฒนา ส่วนหนึ่งก็มาจากชนชั้นที่ไม่คิดจะพัฒนา แต่ตั้งใจจะรักษาความดักดานไว้ให้ยั่งยืน
9) เราไม่เคยคิดจะปิดปากใคร และไม่เชื่อว่าใครควรถูกปิดปาก ในประเทศที่มีเสรีภาพในการแสดงความเห็น และตราบใดที่มันเป็นแบบนั้น กฎหมายหมิ่นเอง ก็มีไว้ให้คนมีอิสระอย่างมีขอบเขต และระมัดระวังการละเมิดผู้อื่น คุกคาม และทำร้ายคนทางคำพูด จึงได้มีกฎหมายหมิ่น แต่มันไม่ใช่การทำร้ายแกล้งใคร แบบ 112 #ยกเลิก112
10) ถ้าประเทศเราเป็นประชาธิปไตย ทุกคนควรวิจารณ์ มีปากมีเสียงในสังคมได้เป็นเรื่องปกติ และเราอยากเห็นประเทศเป็นแบบนั้น เราจึงอยากให้คนใช้ social media ขับเคลื่อนสังคมกันให้เต็มที่ แต่อย่าลืมว่า "ประเทศนี้ก็ยังพูดไม่ได้ทุกเรื่องอยู่ดี เพราะบางเรื่องเขาให้สรรเสริญเชิดชูเท่านั้น แตะหรือวิจารณ์ ก็รอเข้าคุกสถานเดียว"
11) ความสง่างามหนึ่งของการวิจารณ์ตามกลไก คือเมื่อใดก็ตามที่มีผู้ที่ทำไม่เหมาะสมต้องการวิจารณ์ ไม่เคารพผู้อื่น พูดจาไม่ให้เกียรติผู้อื่น สังคมก็มีการจัดการกลับกับคนผู้นั้น เป็นการรุมประทัณฑ์ทางคำพูด ด่าทอกลับ หรือทำให้เขารู้ว่าเขากำลังทำผิดอยู่ บรรทัดฐานทางสังคมจะเป็น social feedback และเกิดพลวัตในทางที่มันถูกต้องเอง ถ้าสังคมไม่บิดเบี้ยวเกินไป การลงโทษทางสังคม (social punishment) จะเกิดขึ้นเสมอในการวิจารณ์ หรือพูดไม่ดีใส่คนอื่น ตอบโต้กลับรวดเร็ว ก่อนที่กฎหมายฟ้องหมิ่นประมาทจะทำงานเสียอีก
สิ่งไหนที่มันเป็นปกติ หรือกลไกธรรมชาติ ที่อยู่ร่วมกับสังคมได้ เรามองว่าพื้นฐานของมันต้องวิจารณ์ได้ก่อน ต้องพูดถึงได้ แตะต้องได้ ตรวจสอบได้ จริงอยู่ว่าเราไม่ควรละเมิดคุกคามใครหรอก มันจึงมีกฎหมายไว้คุ้มครองคือการฟ้องหมิ่น แต่ตัวกฎหมายเองก็ไม่ได้ทำหน้าที่ไว้เพื่อปิดปากคน มันมีไว้ดูแลและปกป้องคนที่ถูกละเมิด ล้ำเส้นความเป็นมนุษย์ แต่ไม่ได้มีไว้เพื่อห้ามวิจารณ์ อันเป็นกลไกทางสังคมประชาธิปไตยที่ควรจะเป็น
อะไรที่พูดถึงไม่ได้ แตะไม่ได้ นั้นเป็นสังคมที่ผิดปกติ
IG & TW : ThinkTalkLoud
#ThinkTalkLoud
#ตุ๊ดส์review
===========
บอยขอฝาก EVENT กิจกรรมของเพจระดมทุนเพื่อสนับสนุน #ปล่อยเพื่อนเรา ไว้ครับ (ได้รับอนุญาตจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เรียบร้อยแล้ว)
LINK กิจกรรม : https://bit.ly/3IeggHN
โฆษณา