6 มี.ค. 2022 เวลา 07:07 • หุ้น & เศรษฐกิจ
🔎 เจาะลึกการลงทุนต่างประเทศ ! การตัด Russia ออกจากระบบ SWIFT มีผลกระทบอย่างไรบ้าง ? 🤔
📌 บทความจากแอด #Tda
ในช่วง 2สัปดาห์ที่ผ่านมานี้ มีเพื่อนๆ หลายท่านถามเกี่ยวกับเรื่องสงคราม Russia-Ukraine จึงขอรวบรวม 3 คำถามยอดฮิต ที่แอดมินอยากมาแชร์มุมมองส่วนตัว (อาจจะไม่ใช่คำตอบสุดท้าย) ให้ฟังกัน
1️⃣ การตัด Russia ออกจากระบบ SWIFT มีผลอย่างไร?
2️⃣ Commodity ยังน่าลงทุนไหม?
3️⃣ Bitcoin ยังลงทุนได้ไหม เป็น digital gold จริงหรือเปล่า?
ย้อนไปก่อนหน้านี้แอดมินได้เขียนสรุปจากบทสัมภาษณ์ของ Ray Dalio ที่พูดถึงหนังสือเล่มล่าสุดของเขา Principles for Dealing with the Changing World Order: Why Nations Succeed and Fail โดยศึกษาย้อนหลังไป 500ปี ถึงปรากฏการณ์ 3 อย่าง ซึ่งเคยเกิดขึ้นพร้อมกันมาแล้วในอดีต แล้วแต่ละครั้งก็จบลงด้วยสงคราม โดยผู้ชนะสงครามก็เป็นผู้กำหนดระเบียบโลกใหม่ขึ้นมา ครั้งล่าสุดนั้นก็คือ สงครามโลกครั้งที่2 (World War II) ที่สหรัฐฯ กลายเป็นมหาอำนาจผู้จัดระเบียบโลกใหม่ในฐานะผู้ชนะสงคราม
นอกจากนี้ Ray ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับ Geopolitical conflict ระหว่าง Russia กับ Ukraine ว่าโอกาสที่จะเกิดเป็น Military War นั้นมีน้อยมากเพราะทำให้เกิดความเสียหายต่อทุกฝ่าย และน่าจะเป็นสงครามในภายในหรือสงครามย่อยๆ มากกว่าที่จะขยายวงกว้าง ซึ่งก็สอดคล้องกับผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิรัฐศาสตร์ทั้งที่เป็นคนไทยและคนต่างชาติ ที่วิเคราะห์ไปในทางเดียวกันว่าไม่น่าจะมี Military War โดยประธานาธิบดี Putin น่าจะอาศัยการกดดันให้ NATO ไม่รับ Ukraine เข้าเป็นสมาชิก และจะประกาศชัยชนะหลังเข้ายึดครองและประกาศให้ Luhansk กับ Donetsk เป็นรัฐอิสระ ...
แต่แล้วสิ่งที่หลายๆ คนไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นเมื่อ Russia โจมตี Kyiv เมืองหลวงของ Ukraine เมื่อวันที่ 24 ก.พ. ที่ผ่านมา และนักวิเคราะห์หลายท่านก็เริ่มกังวลว่าจะปานปลายไปถึง Poland หรือไม่
1
แอดมินถือโอกาสนี้แนะนำคลิปวีดีโอที่ Ray Dalio เพิ่งปล่อยออกมาให้ชมกันเมื่อ 2 วันก่อน เป็นข้อมูลที่ดีและน่าสนใจมาก อยากให้ลองฟังกันดูค่ะ (https://youtu.be/xguam0TKMw8)
---------------------------------
📌 กลับมาที่ 3 คำถามยอดฮิต
1️⃣ การตัด Russia ออกจากระบบ SWIFT มีผลอย่างไร?
จากเหตุการณ์ที่เล่าไปข้างต้น ทาง US, UK, Canada ตกลงร่วมกันที่จะตัดธนาคารของ Russia ออกจากระบบ SWIFT เพื่อเป็นการตอบโต้ Russia เมื่อวันที่ 26 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าจะมีผลต่อการทำธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศราว 70%-80% ของปริมาณธุรกรรมทั้งหมดของ Russia แต่ยังไม่เห็นรายชื่อธนาคารที่ชัดเจน โดยคาดว่าจะมี Sberbank ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของ Russia อยู่ในรายชื่อด้วย
อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 2 มี.ค. ที่ผ่านมาทาง EU ได้ประกาศรายชื่อ 7 ธนาคารของ Russia ที่ถูกตัดจากระบบ SWIFT แต่!!! ขอเก็บ 2 ธนาคารที่ต้องทำธุรกรรมเพื่อซื้อน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจาก Russia ไว้ในระบบ SWIFT ก่อน นั่นก็คือ Sberbank และ Gazprombank เพราะจำเป็นต้องพึ่งพาพลังงานจาก Russia อยู่นั่นเอง
SWIFT ย่อมาจาก Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunication เป็นองค์กรที่เกิดขึ้นเมื่อปี 1973 ใน Belgium โดยในปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 11,000 สถาบันการเงิน จาก 200กว่าประเทศ (ซึ่งต้องจ่ายค่าสมาชิกเพื่อใช้ระบบร่วมกัน)
1
SWIFT คือ ระบบการจัดการที่มีการส่งข้อความอย่างรวดเร็วและปลอดภัยเพื่อทำธุรกรรมระหว่างสถาบันการเงินภายในเครือข่าย (แทนที่จะใช้ telex หรือ fax ในสมัยก่อน) ซึ่งถ้าใครเคยโอนเงินไปต่างประเทศก็จะสังเกตุเห็นว่าธนาคารจะแจ้งเป็น code 8-11 หลัก เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษปนกับตัวเลข ซึ่งจะบอกถึงประเทศ/ธนาคาร/สาขา ที่ใช้ในการรับส่งเงินนั่นเอง
Russia ไม่ใช่ประเทศแรกที่โดนตัดสถาบันการเงินในประเทศออกจากระบบ SWIFT (North Korea, Iran, Venezuela ปัจจุบันก็ไม่สามารถใช้ระบบ SWIFT ได้ เพราะโดน sanction) และนี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Russia โดน sanction ด้วยวิธีนี้ เพียงแต่ครั้งก่อนนี้เมื่อปี 2014 ที่กองทัพ Russia เข้าแทรกแซงและผนวก Crimea เข้ามา ไม่ได้โดน sanction ในวงกว้างและหนักหน่วงขนาดครั้งนี้
1
จากประสบการณ์ในปี 2014 ทำให้ Russia ได้พัฒนาระบบ SPFS (System for Transfer of Financial Messages) ขึ้นมาสำหรับใช้ทำธุรกรรมภายในประเทศเท่านั้น ซึ่งธุรกรรมที่ทำผ่านระบบนี้ (ทั้งธนาคารและบัตรเครดิต) มีเพียง 20%-25% ของปริมาณธุรกรรมภายในประเทศเท่านั้นที่ใช้ระบบ SPFS (ประมาณ 20ล้าน ข้อความต่อปี ที่ส่งผ่านระบบ SPFS จากทั้งหมดราว 100ล้าน ข้อความต่อปี) ส่วนปัญหาการทำธุรกรรมระหว่างประเทศนั้น Russia ก็พยายามแก้เกมส์ด้วยการไปใช้ระบบ CIPS (Chinese Cross-Border Interbank Payment System) ของจีน ซึ่งช่วยให้สามารถทำธุรกรรมระหว่างประเทศเป็นเงินหยวน (CNY) ได้ แต่การใช้งานก็ยังอยู่ในวงจำกัด โดยหลักๆ จะเป็นธุรกรรมจากการค้าขายกับจีน
3
การถูกตัดออกจากระบบ SWIFT ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการทำธุรกรรมระหว่างประเทศเพียงอย่างเดียว แต่ธุรกรรมของบัตรเครดิตที่ให้บริการโดย VISA, Mastercard, Amex และอีกหลายระบบ ก็อาศัยเครือข่ายของระบบ SWIFT ในการทำธุรกรรมเช่นกัน ส่งผลให้คนในประเทศ Russia ต่างแห่กันไปกดเงิน/ถอนเงินสด (bank run) จากธนาคารกันกว่า 1ล้านล้าน Ruble (ประมาณ 6.5% ของปริมาณเงินในระบบ) และพยายามจะโอนเงินออกไปนอกประเทศ ทันทีที่มีข่าว (เสาร์ที่ 26 ก.พ.) ว่าธนาคารหลายแห่งกำลังจะโดนตัดออกจากระบบ SWIFT ทำให้ค่าเงิน Ruble อ่อนค่าไป 30% ในทันทีที่ตลาดเปิดทำการในวันจันทร์ที่ 28 ก.พ. ทำให้ธนาคารกลาง Russia ต้องประกาศขึ้นดอกเบี้ยเป็น 20% พร้อมกับใช้มาตรการควบคุมการจ่าย/โอนเงินออกนอกประเทศ
กล่าวโดยสรุปคือ ไม่ใช่ว่า Russia จะไม่สามารถทำธุรกรรมได้เลยหลังจากธนาคารส่วนใหญ่โดนตัดออกจากระบบ SWIFT แต่ทำได้ยากขึ้นด้วยต้นทุนการทำธุรกรรมที่สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลในทางลบต่อปริมาณการค้า และค่าเงิน Ruble ของ Russia และถ้าการ sanction นี้ยืดเยื้อต่อไป ก็มีโอกาสจะเกิดผลทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะ Recession คล้ายกับกรณีของ Iran ได้ แต่อาจจะไม่รุนแรงเท่ากับ Iran เพราะ EU เองก็ยังต้องพึ่งพาพลังงานจาก Russia ไม่ใช่น้อยๆ จะทำรุนแรงไปก็กลัวจะหยิกเล็บเจ็บเนื้ออยู่เหมือนกัน
1
📊 ในส่วนของอีก 2 คำถามยอดฮิต ทางแอด T-da จะมาตอบให้ฟังกันในอนาคต
นักลงทุนท่านใดสนใจมาเข้าร่วมกลุ่ม #LINE เพื่อติดตามและแลกเปลี่ยนข่าวสารเรื่อง #การลงทุนในหุ้นต่างประเทศ ไปกับทีม Trader KP และแอด T-da ติดต่อได้ที่ LINE Official @traderkp (https://lin.ee/a3S9iGv) และบอกว่าอยากเข้ากลุ่ม "การลงทุนในหุ้นต่างประเทศ" ได้เลยครับ (ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น)
🙏 ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามเพจของเรา ฝากกด Like และ Share เพื่อให้นักลงทุนท่านอื่นได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์เหล่านี้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ 👍😊
#ทันโลกกับTraderKP
โฆษณา