7 มี.ค. 2022 เวลา 06:57 • ปรัชญา
เรื่องของความศรัทธา ..จะเอาความคิดของคนอื่นมาคุยก็ไม่ได้ เอาแบบที่เราเป็นดีกว่า การที่เราได้มีโอกาส พบพระภิกษุที่ท่านแนะนำเรื่องราวของกาย อารมณ์ แล้วก็จิต ท่านบอกว่า อารมณ์นั้นมันมีตัว เราก็สงสัย มันมีตัวตัวอย่างไร เป็นอย่างไร ท่านก็บอกให้ศึกษา เช่น เห็นคนอื่นใช้อารมณ์โมโห โวยวาย เราก็ศึกษาเอาว่า เค้าเป็นอย่างนั้น เพราะอารมณ์อะไรมาควบคุมกายวาจาใจของเค้า เราเห็นการกระทำที่เค้าแสดงเป็นตัวอย่างให้เราดู เราก็ต้องคอยบอกตัวเองว่า ขออย่าให้กิริยาเยี่ยงนี้มาเกิดที่เรา เราก็ค่อยทำไป เค้าเรียกว่า ค่อยๆลดละอารมณ์กรรมของเราไป แล้วเราก็ทำทานบุญ กุศลบารมี การปฏิบัติประพฤติปฏิบัติธรรม ตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า รอยของพระยืนเดินนั่งนอนของพระ ก็ต้องล้วนอาศัยเรือนกายของคุณบิดามารดามาประพฤติปฏิบัติธรรม เราก็ได้ค่อยๆ เรียนรู้ว่า ที่เค้าพูดกันว่า กรรมๆๆ นั้นมีจริง ที่พูดว่าธรรม..ธรรมก็มีจริงอีกเหมือนกัน
เรื่องราวของคำว่ากรรม นี้นี้มันยาก ศึกษายาก เพราะชีวิตของเราเกิดมาก็มีภาระต้องเสาะแสวงหาหาปัจจัยมาหล่อเลี้ยงสังขารตน กับทั้งผู้ที่คล้องเวรกรรม เกื้อกูลกันมา อุปถัมภ์ค้ำชูกันมา จองเวรกันมา ก็อยู่กันไปสุขบ้างทุกข์บ้างกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นที่กาย โดยที่เราก็ไม่รู้ว่าอารมณ์เหล่านี้มาอย่างอะไร มาทำให้จิตเราทำอะไร พอใ้ข้ชีวิตผ่านไป ปีๆ ก็พบร่างกายเจ็บป่วยบ้าง เจ็บป่วยก็กินยารักษาไป ก็หาย บางคนก็ใช้เวลานาน บางคนก็ไม่นาน พอใครมาพูดว่า เจ็บป่วยเป็นเพราะกรรม เราก็หงุดหงิดรำคาญคนพูด อาจจะโมโห หงุดหงิดขึ้นมาได้ ยิ่งใครบอกว่าให้ทำบุญทำทานให้เจ้ากรรมนายเวร
คนสมัยนี้ เค้าก็เรียนไปตามหนังสือที่เค้าออกแบบให้เรียนรู้ เค้าก็เลยรู้ยึดในคำภีร์ตำรา พอใครมาบอกเรื่องเจ้าก่รรมนายเวร ก็ต้องว่ากล่าวไอ้คนพูดเป็นธรรมดา ถามก็ไม่ถาม ว่าเราเสียอีก ก็ต้องปล่อยเค้าไป เราก็ว่านั้นมันกรรมของเค้าเอง เรื่องราวทำนองนี้ หากเราไมได้ประจักษ์ ไม่ได้ประพฤติ ไม่เกิดขึ้นกับเราจริงๆ เราจะมีความศรัทธาที่จะรักษาการสร้างทาน บุญ บารมี ประพฤติปฏิบัติธรรมมั้ย เมื่อมันยังไม่ได้เกิดขึ้นกับตัวเอง มันก็ไม่เห็นความสำคัญ ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านชี้แนวทาง ช่วยเหลือจิตของตน เพื่อให้เกิดเป็นบุญบารมี หนุนนำให้จิตของตน รู้จักสิ่งที่ตนเองอยู่กับกายที่มีกรรม กรรมที่อยู่กับแม่ทั้งสี่ไหลออกมาเป็นอารมณ์ เรื่องราวพวกนี้ มันก็เกิดเป็นคำถามได้ตลอดเวลาว่า มันเป็นอย่างไร
เหมือนกับว่า เมื่อเราประพฤติปฏิบัติธรรมขึ้นมา เราก็ต้องพบเจออุปสรรคอะไรต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกายนี้ พระท่านบอกว่า ให้ภาวนาพุทโธ เฉยๆอย่างเดียว นั่งนิ่งๆ จิตเฉยๆ เราก็ไม่เขื่อคนบอก ไม่มีศรัทธาในสิ่งที่บอกให้ทำ พอนั่ง.เค้าบอกให้นั่งนิ่ง จิตเฉยๆ ก็ไม่เชื่อ นึกถึงคนนั่นคนนี้นึกถึงตำรา ที่อ่านมาว่าอย่างนั้นอย่างนี้ ต้องทำอย่างนี้น่ะ ก็นั่งไปจนหมดเวลา นั่งคิดนั้นคิดนี้เพลินไปตามอารมที่ปรุงแต่ง นั่นแหละเค้าเรียกว่า นั่งแล้วไม่ได้อะไร แล้วไม่ถามตัวเองหน่อยล่ะ เรามานั่งให่้จิตเป็นสมาธิ ไม่ใช่มานั่งนึกคิดให้จิตเป็นสมาธิ
เรื่องราวของคำว่าศรัทธา สมมุติว่าเป็นตัวบุคคล หากว่าเราได้คลุกคลี ได้เห็นกายปฏิบัติ การประพฤติ คำพูดที่ให้ความรู้ สอนให้กระทำ แล้วท่านก็ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ทั้งขณะที่กำลังเจ็บป่วย ร่างกายย่ำแย่ ก็ยังมีจิตที่เป็นปกติ ไม่พร่ำเพ้อ บ่นเรื่องของกายที่เจ็บป่วย ท่านก็ประพฤติปฏิบัติเป็นปกติ
เราก็สังเกตการกระทำได้ ความศรัทธามันก็เกิด ยิ่งท่านชี้แนะนำเรื่องที่เกิดขึ้นในขณะที่ประพฤติปฏิบัติธรรม อะไรมันเกิดขึ้น ท่านก็สามารถคลี่คลายเหตุผลให้ พร้อมทั้งแนะนำ เรื่องการประพฤติปฏิบัติธรรม เราจะต้องทำอย่างไร เพื่อหลบหลีกอุปสรรคเหล่านั้น ซึ่งเมื่อเรานำกายมาหลับตา ภาวนาพุทโธขึ้น เรื่องต่างๆที่เกิดขึ้นภายในกายล้วนเป็นนามธรรม มีแค่สามคำ คือ กาย อารมณ์ จิต นั้นเรารู้จักตัวตนของเค้าที่แท้จริงมั้ย รู้จักสิ่งที่ทำให้จิตมีทุกข์จริงมั้ย มันก็ล้วนเป็นคำถามของจิตตัวเอง
เมื่อไม่รู้ก็ต้องมาทำให้รู้เกิดขึ้น ด้วยจิตของตน ตนเองก็จะได้คำตอบ ในเรื่องที่เกิดมาอาศัยกายมนุษย์ เมื่อเราประพฤติปฏิบัติธรรม ลดละกรรมออกไปมากๆ จิตมันก็ค่อยโตขึ้นขยายขึ้น กว้างขวางขึ้น เพราะกรรมที่กดทับจิตนั้นค่อยๆหลุดออกไปๆๆ จิตมันก็เบามากขึ้น เราได้เรียนรู้เรื่องราวที่มันละเอียดมากขึ้น โดยที่เราก็ไม่รู้ตัวเอง จนเราย้อนมาดูคนที่รอบข้างที่เค้าไม่ได้ประพฤติปฏิบัติธรรม ไม่สร้างบุญกุศลบารมี…เรื่องราวของคำว่า จิตออกจากร่าง มันเก็บกรรมไปนั้น มันน่ากลัวมากๆ แล้วถ้าไปถามคนไม่ประพฤติปฏิบัติธรรม เค้าจะรู้มั้ย เราก็คงไม่ไปถามคนที่ไม่ประพฤติปฏิบัติธรรม ที่จะทำให้เราเข้าใจไขว้เขวไปอีก
.. เราก็จะค่อยๆ มองเห็นว่าเรานี้โชคดี ที่ได้มาศึกษาธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ให้ความกระจ้างแก่จิตน้อยๆของเรา ก็ตรงพยายามรักษาการเดินตามรอยองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อไป ก็ไม่มีความลังเลสงสัยอะไรในรอยทั้งสี่ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าเป็นรอยที่จะช่วยบรรเทาทุกข์ ลอยสิ่งที่ไม่ดีไม่งามออกไปจากกายที่ตนอาศัยได้จริง แต่จะเดินตามรอยนี้ได้มากน้อยแค่ไหนก็อยู่ที่การสะสมบุญบารมีมากน้อยแค่ไหน เมื่อรู้ว่าสะสมมาน้อยก็ต้องเพียรพยายามกระทำขึ้นมา
เมื่อเรามาประพฤติปฏิบัติธรรม มันก็มีเรื่องราวของคำว่า มโนทศึกษา ของแต่ละดวงจิตที่สะสมบำเพ็ญบุญบารมีมา ซึ่งมันยาก มันไม่ใช่เอาตาเอาหูมาเรียนรู้ มันเป็นเรื่องราวของจิตของตนเอง
โฆษณา