9 พ.ค. 2022 เวลา 13:00 • ความคิดเห็น
20 Miles March หลักคิดเปลี่ยนชีวิต
1
ในเดือนตุลาคม 1911 มีนักผจญภัยสองคน Ronald Armundsen ชาว Norway และ Robert Falcon Scott ชาวอังกฤษ มีความตั้งใจที่จะพิชิตขั้วโลกใต้เป็นคนแรกของโลก
20 Miles March หลักคิดเปลี่ยนชีวิต
ทั้งสองคนออกเดินทางในวันและเวลาที่ใกล้เคียงกัน ทั้งคู่อายุไล่เลี่ยกัน 39 และ 43 ปี และมีประสบการณ์ที่โชกโชนพอพอกัน เส้นทางของการผจญภัยทั้งคู่ต้องเดินทางไปกลับจาก base camp ไปที่ขั้วโลกใต้เป็นระยะทางรวมกัน 1,400 ไมล์
6
ระยะทางนี้เท่ากับการเดินทางจากสุไหงโกลกไปถึงแม่ฮ่องสอน ภายใต้สภาวะอากาศที่สุดหฤโหด บางวันสภาพอากาศอุณหภูมิติดลบ 20 องศา ไม่ได้เดินตัวเปล่าต้องแบกสัมภาระในการยังชีพติดตัวไปด้วย
2
ทุกท่านต้องนึกภาพอย่างนี้ครับ ในปี 1911 การสื่อสารล้าสมัยมาก ไม่มีมือถือ ไม่มีวิทยุติดต่อระหว่างนักผจญภัยกับ base camp ความหมายคือการเดินทางครั้งนี้เท่ากับเอาชีวิตเข้าเสี่ยง เป็นตายเท่ากัน ถ้ามีปัญหาคุณเรียกใครมาช่วยไม่ได้
3
ทั้งสองคนมียุทธศาสตร์ในการเดินทางแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง Armundsen ออกเดินทุกวัน ไม่ว่าอากาศจะดีหรือเลวร้ายขนาดไหน โดยเดินเป็นระยะทางเฉลี่ยวันละ 20 ไมล์ ในทางตรงกันข้าม Scott จะออกเดินเฉพาะวันที่อากาศดี โดยเขาเดินวันที่อากาศเป็นใจวันละ 40-60 ไมล์ ส่วนวันที่อากาศเลวร้ายพวกเขาจะนอนในกระโจมที่พัก
2
ด้วยยุทธศาสตร์ที่แตกต่างกัน ทำให้ Armundsen ไปถึงขั้วโลกใต้ก่อน Scott 34 วัน เขาไปปักธงของ Norway ที่ขั้วโลกใต้เป็นชาติแรก คำถามทำไม Armundsen ถึงเอาชนะได้ มันอยู่ที่ strategy ที่เรียกว่า 20 Miles March ยุทธศาสตร์ของเขาคือการสร้าง "ความสม่ำเสมอ" ในการเดินทางไม่ว่าอากาศจะดีหรือเลวร้ายขนาดไหน
3
เขาให้ทีมของเขาเดินทุกวัน อะไรคือข้อดีของการเดินทุกวัน มันทำให้ร่างกาย กล้ามเนื้อ และทุกส่วนของอวัยวะร่างกายได้ออกแรงทุกวัน ในแต่ละวันเขาจะเดินระหว่าง 15-20 ไมล์ ทำให้กล้ามเนื้อของทีมเขามีความแข็งแกร่งที่จะต่อสู้กับความโหดร้ายของสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นใจ ถึงแม้ช่วงแรกมันจะเป็นการทรมานมาก แต่ทำไปเรื่อย ๆ ความสม่ำเสมอทำให้กล้ามเนื้อและจิตใจของทีมเขามีความแข็งแกร่ง “อยู่ตัว” ที่จะต่อสู้กับทุกอุปสรรคของสภาพอากาศ
3
ในทางตรงกันข้าม ยุทธศาสตร์ของ Scott เป็นการเดิน ๆ หยุด ๆ ผมมีสถิติว่าวันที่อากาศดีกับอากาศเลวคือ 56% กับ 44% ตัวเลขนี้มันสื่ออะไร ทีมของ Scott ขาดความต่อเนื่องในการเดินทาง เดินวันหยุดวัน ทำให้กล้ามเนื้อและร่างกายทำงานไม่สม่ำเสมอ
2
ผลคือกล้ามเนื้อและร่างกายของทีม Scott อ่อนแอกว่าทีมของ Armundsen ลองนึกอย่างนี้ครับ ถ้าผู้อ่านท่านไหนเป็นนักเพาะกาย เราจะสร้างกล้ามเนื้อเป็นมัด ๆ ตามแขนขา หรือสร้าง six pack ที่กล้ามเนี้อหน้าท้องได้
สิ่งที่นักเพาะกายทำคือต้องออกกำลังกายทุกวัน เพื่อให้กล้ามเนื้อค่อย ๆ ก่อร่างสร้างตัววันละนิดวันละหน่อย แล้วสุดท้ายกล้ามเนื้อเหล่านั้นจะกลายเป็น strong muscle ที่ทำให้มัดกล้ามเนื้อคุณเป็นกล้ามเนื้อชั้นเยี่ยมสามารถยกน้ำหนักได้มากกว่าคนธรรมดา
ในมุมกลับถ้าคุณต้องการสร้างกล้ามเนื้อให้ล่ำสัน โดยออกกำลังกายแบบทำ ๆ หยุด ๆ ท่านผู้อ่านลองสร้างจินตนาการว่ากล้ามเนื้อของนักเพาะกายของคนที่หนึ่งกับคนที่สอง กล้ามเนื้อของใครแข็งแกร่งกว่ากัน
เพื่อปิดรูรั่วของทีม Scott ที่เดิน ๆ หยุด ๆ ดังนั้นวันที่ทีมเขาเดินเขาจะตะลุยเดินแบบโหมกระหน่ำ summer sales ชดเชยวันที่หยุด นั่นเป็นเหตุที่กล้ามเนื้อและร่างกายทำงานหนักเกินควร เกิดอาการอ่อนล้า และนี่เป็นข่าวร้าย ขากลับทีม Armundsend เดินทางกลับมาที่ base camp รอดปลอดภัยทุกคน
1
ส่วนทีม ของ Scott เสียชีวิต ไม่มีใครรอด ผมไม่ใช่ผู้ชำนาญเรื่องการแพทย์ ถ้าให้เดาเป็นเพราะว่าร่างกายรับไม่ไหวกับการทำงานหนักเกินไป มันเหมือนกับเครื่องยนต์ที่ชักเข้าชักออก
1
อีกเรื่องหนึ่งที่เป็นข้อเรียนรู้จาก case study นี้คือภาวะความเป็นผู้นำของ Armundsen ต้องสูงมาก ที่สามารถนำและชักจูงทีมให้เดินทุกวัน ทั้ง ๆ วันที่อากาศเลวร้ายหนาวเข้าถึงขั้วกระดูกเพราะติดลบถึง 20 องศา
เราสามารถนำหลักคิด 20 Miles March มาใช้กับชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงาน แล้วคุณจะเป็น winner ของชีวิต ทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ให้เกิดขึ้นจริง
Key word ของบทความนี้คือ หนึ่ง consistency ความสม่ำเสมอ สองภาวะความเป็นผู้นำระดับเซียนเหยียบเมฆที่สามารถกระตุ้นให้ทีมงานฝ่าฝันอุปสรรคที่หฤโหด แล้วสุดท้ายสามารถเข้าเส้นชัยได้ เรื่องราวทั้งหมดผมอธิบายด้วยการเล่าเรื่องแบบเปรียบเทียบอย่างนี้ครับ
1
ถ้าผู้อ่านเอาน้ำหยดที่แผ่นเหล็กทุก ๆ วันตรงจุดเดิมเพียงหนึ่งหยด คำถามคือถ้าคุณทำอย่างนี้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาสิบปี แผ่นเหล็กที่จุดนั้นจะเป็นรอยไหมครับ ผมมั่นใจว่าแผ่นเหล็กตรงจุดนั้นจะเป็นรอยด่างอย่างแน่นอน นี่คือพลังของความสม่ำเสมอ ในทางตรงกันข้ามถ้าเราหยดน้ำไม่ต่อเนื่อง แผ่นเหล็กก็จะเหมือนเดิม
เราสามารถนำแนวคิดของ Armundsen มาใช้กับชีวิตประจำวัน แล้วทำให้คุณภาพชีวิตของเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ผมขอยกตัวอย่างชีวิตจริงของตัวเอง ถ้าผู้อ่านต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เกิด competitive edge ทำให้คุณเป็นคนพิเศษ มันเป็นเรื่องไม่ยากเลยครับ
สิ่งที่คุณต้องทำคือเปลี่ยนแปลงตัวเองวันละ 1% แต่ต้องทำทุก ๆ วัน ทำอย่างต่อเนื่อง ไม่มีวันหยุด ลองคิดอย่างนี้ครับ ถ้าคุณเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยหลักคิดนี้ ทำอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลายี่สิบปี ผลของการเปลี่ยนแปลงจะเท่ากับ 1% คูณด้วย 365 วัน คูณด้วย 20 ปี สุดท้ายคุณจะเปลี่ยนแปลงจากเดิม 7,300% เท่ากับว่าคุณเป็นคนใหม่ที่เปรียบเสมือนรถ formula one
ผมใช้แนวคิดนี้เปลี่ยนแปลงตัวเองจากคนที่เรียนหนังสือไม่ค่อยเก่ง แล้วสุดท้ายสามารถเดินทางไกลมาถึงจุดที่ผมยืนอยู่ ณ จุดปัจจุบันได้ จากวิศวกรหางแถวแล้วกลายมาเป็น business strategist เป็นนักเขียน เป็น public speaker
ผมทำสิ่งเหล่านี้ได้โดยสร้าง self transformation process เป็นเวลายี่สิบกว่าปีอย่างไม่รู้จักเหนื่อย เดินหน้าทำทุกวัน เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา ในช่วงยี่สิบปีผมอ่านหนังสือมากกว่า 200 เล่ม ทุกวันผมใช้เวลาไม่ต่ำกว่าสามชั่วโมง surfing in the sea of internet เพื่อเรียนรู้สิ่งที่ผม “ไม่รู้” การที่ผมทำอย่างต่อเนื่องเป็นผลให้กระบวนการนี้ฝังรากลึกเป็นนิสัยที่ติดตัวผมชั่วชีวิต ณ วันนี้ผมเข้าวัยเกษียณ ผมก็ยังทำกระบวนนี้อยู่ตลอดเวลา
ความสม่ำเสมอบวกกับความอดทนสร้างมหัศจรรย์ให้ชีวิต
บทความโดย ประเสริฐ เอี่ยมรุ่งโรจน์
โฆษณา