9 มี.ค. 2022 เวลา 07:20 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
What is Helium Blockchain ($HNT)?
เหรียญ Helium (ฮีเลี่ยม) หรือ $HNT คือ Cryptocurrency หนึ่งที่อยู่บน Blockchain ของตัวเองซึ่งจะเติบโตไปพร้อมๆกัน กับนวัตกรรมเทคโนโลยีด้าน IoT (Internet of Things) ที่ถูกพัฒนาให้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยมี Hotspot ที่รวม Gateway แบบไร้สาย เพื่อรองรับและกระจายเครือข่ายให้ครอบคลุมทั่วทั้งโลก และ Hotspot นี้เองก็ยังเป็นเครื่องขุดเหรียญ HNT ที่ใช้พลังงานต่ำมาก ตามคุณสมบัติของอุปกรณ์ IoT ได้อีกด้วย Helium จึงเป็น Blockchain หนึ่งที่มีความน่าสนใจมากๆในวันนี้
ฮีเลี่ยม บล๊อกเชนแห่งนวัตกรรม บนเครือข่ายของประชาชนที่เท่เทียมกัน
bank100 | Athiwat P.
ก่อนอื่นที่ผมจะพูดถึงเรื่องความน่าสนใจของ Helium Blockchain ผมอยากให้ทุกคนรู้จักคำว่า “Blockchain Consensus Algorithms” ก่อนครับ เพราะถ้าเราเข้าใจ Consensus Algorithms หรือ หัวใจของการทำงานของ Blockchain นั้นๆแล้ว เราก็จะเข้าใจ Helium ได้ไม่ยากเลยครับ
Blockchain Consensus Algorithms คือมาตรการที่เครือข่าย Blockchain นั้นๆใช้ในการยืนยันความน่าเชื่อถือของธุรกรรม โดยผู้ที่จะมายืนยันความน่าเชื่อถือของธุรกรรมต้องมีการ “เดิมพัน” หรือ Stake ด้วยอะไรบางอย่าง เครือข่ายถึงจะสามารถยอมรับการตัดสินนั้นๆได้ ปัจจุบัน Consensus Algorithms ที่เรารู้จักกันดีและคุ้นหูมากๆ ตัวอย่างเช่น
PoW; Proof of Work การพิสูจน์ด้วยการลงแรง โดยการใช้พลังงานและใช้แรงการประมวลผลจาก CPU,GPU ในการแก้สมการทางคณิตศาสตร์ เพื่อรับ Rewards นับวันก็ต้องใช้พลังงานมากขึ้น ใช้ CPU,GPU ที่แรงขึ้น เพื่อส่วนแบ่งของ Rewards ที่ลดน้อยลงเรื่อยๆ พบเห็นได้ใน Bitcoin Ethereum เป็นต้น
PoS; Proof of Stake เดิมพันด้วยกำลังทรัพย์ ใครมีเงินที่นำมา Stake หรือ Lock ไว้ในเครือข่ายมาก ก็มีสิทธิ์ ในการยืนยันธุรกรรมไป (ทุนนิยมสุดโต่ง) พบเห็นได้ใน Algorand, Cardano, Polkadot และ Eth เร็วๆนี้ เป็นต้น
PoA; Proof of Authority เดิมพันด้วยกลุ่มคน องกรที่มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับ น่าเชื่อถือ หรือ มีอำนาจ เพื่อให้มายืนยันการทำธุรกรรมนั้นๆ (Centralized ดีดีนี้เอง) พบเห็นได้ในใน Binance Smart Chain, BitKub Chain เป็นต้น
สำหรับ Blockchain ของ Helium นั้นจะใช้ Consensus Algorithms ที่เรียกว่า PoC; Proof of Coverage หรือ การพิสูจน์ได้ว่ามีการครอบคลุมของเครื่องปล่อยสัญญาณคลื่นความถี่ (Hotspot) เพื่อให้เกิดความเสถียรของเครือข่าย ซึงจะเป็นผลทำให้ธุรกรรมที่เกิดขึ้นในเครือข่ายเป็นไปอย่างราบรื่นนั้นเองครับ
Proof of Coverage ของ Helium นั้น มีส่วนประกอบหลักๆ 3 อย่างที่ผู้อ่านจะต้องทำความเข้าใจ นั้นก็คือ
1. คลื่นความถี่ Radio Frequency (RF)
2. Hotspot หรือ Gateway ไร้สาย
3. อุปกรณ์ IoT
โดยผมจะขออธิบายเป็นอย่างๆไปนะครับ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
1. คลื่นความถี่ Radio Frequency (RF)
Radio spectrum AS923
Helium เป็น Blockchain ที่ไม่ได้อยู่บนระบบ Enternet อย่างที่เราคุ้นเคยกัน แต่มันจะ Run บน Technology LongFi หรือ LoRaWAN ซึ่งเป็นการใช้ความสามารถของคลื่นสัญญาณวิทยุความถี่ต่ำ Low Power Wide Area Network (LPWAN) โดยคลื่นลักษณะนี้ จะเป็นคลื่นที่ส่งสัญญาณได้ไกล และ ใช้พลังงานต่ำ อีกทั้งยังเป็นคลื่นสัญญาณแบบไม่ต้องมีใบอนุญาติ หรือ ประมูลเพื่อได้มา (Unlicensed) เราจะเรียกคลื่นในลักษณะนี้ว่า “เครือข่ายประชาชน” (The People’s Network) นั้นเองครับ
เพราะฉะนั้นจึงเหมาะมากๆกับ Technology Blockchain ที่ต้องการการกระจายอำนาจ เพื่อให้ประชาชนทุกคน มีส่วนร่วมในคลื่นลักษณะดังกล่าว และลดต้นทุนการเข้าถึงและใช้งานเครือข่ายในอนาคต ทาง กสทช.ประเทศไทย ก็ได้จัดสันคลื่นสัญญาณนี้ไว้ให้ประชาชนแล้ว นั้นก็คือ AS920-AS925 mHz. ครับ
2. Hotspot
คือตัวกระจายสัญญาณ LongFi ให้ครอบคลุมกันมากที่สุดเพื่อให้เกิด ความเสถียร ของเครือข่ายภายใต้คลื่นความถี่ AS923 ที่ใช้ได้ในไทย โดยประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างเครื่อข่ายนี้ให้ครอบคลุมได้ โดยการซื้อ เครื่องปล่อยสัญญาณ Hotspot แบบนี้ได้ เช่น Kerlink ที่มีตัวแทนจำหน่ายในไทยแล้วอย่างเป็นทางการ ในนามบริษัท The-miners ที่นำเข้ามาอย่างถูกกฎหมาย และยังได้รับอนุญาติจาก กสทช. แล้วด้วยครับ ก็จะเรียกอีกอย่างก็คือเครื่องขุดเหรียญ HNT ก็ได้ครับ
Kerlink Wirnet iFemtoCell Evolution 923
3. อุปกรณ์ IoT
ในส่วนอุปกรณ์ IoT นี้จะมีส่วนสำคัญมากหลังจากที่ Hotspot ของ Helium กระจายมากขึ้นจนเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ให้อุปกรณ์ IoT ได้ส่งต่อ สื่อสารกันในเครือข่าย Helium เรียกช่วงเวลานี้ว่า Milestone 2 ของ Helium Blockchain คนที่มี Hotspot อยู่ หรือนักขุด ก็จะได้ส่วนของราย (Reward) ตรงนี้ซึ่งเป็นส่วนของรายได้ที่มากที่สุดของนักขุดด้วยครับ
Coffee Helium
Tokenomic
เหรียญ HNT ถูกผลิตออกมาครั้งแรกในเดือน กรกฏาคม 2562 มี Max supply 223,000,000 HNT โดยจะผลิตออกมาทุกเดือน เดือนละ 5,000,000 เหรียญ หลังจากนั้นจะมีการ Halving ทุกๆ 2 ปี และในตอนนี้เราก็อยู่ในปีที่ 3 ของ Project แล้วครับ นั้นก็หมายถึงว่า เราได้ผ่านการ Halving ไปแล้ว 1 รอบ นั้นเอง เพราะฉะนั้น ทุกเดือนต่อจากนี้ Helium Blockchain จะผลิตออกมา เดือนละ 2,500,000 HNT นั้นเองครับ และตอนนี้เรามีเหรียญ HNT ที่อยู่ในระบบ (Circulation Supply) 111,000,000 HNT คิดเป็น 50% ของ เหรียญทั้งหมดที่ Helium จะผลิตออกมาครับ
https://coinmarketcap.com/currencies/helium/
เหรียญ HNT ที่ผลิตออกมา 100% ในแต่ละเดือน จะถูกแจกจ่ายเป็นสัดส่วนดังนี้
35% ให้ผู้ก่อตั้ง นักลงทุน และองค์กรที่จะจัดการการกำกับดูแลบล็อกเชน
65% ให้นักขุดที่ถือ Helium Hotspot
Milestone 1 คะแนนในการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน
Proof of Coverage 5.02%,
Challengers 0.9% และ
Witnesses 20.08%
Milestone 2 คะแนนในการส่งข้อมูลในเครื่องค่ายโครงสร้างพื้นฐานที่สมบูรณ์แล้วจาก Milestone 1 Network Data Transfer 35%
https://docs.helium.com/
การทำงานของ Helium Hotspot และรางวัลของนักขุด
Helium Blockchain จะทำงานได้ ก็จะต้องมี Hotspot ที่ปล่อยคลื่นสัญญาณ LoRaWAN ออกมาครอบคลุมกันให้มาก และเพื่อให้เกิดความเสถียรที่มากพอก็จะต้องมีให้ทั่วทั้งโลก ปัจจุบัน (วันที่ 5 มีนาคม 2565) มีทั่วโลกไปแล้วกว่า 610,000 Hotspot วิธีการทำงานคือ
1. เริ่มจาก Server หรือ Node of Validator (ในอนาคต) กระทำการสุ่มให้ Hotspot ใดๆ ก็ได้บนโลก เป็นผู้ Challenge Hotspot ใดๆก็ได้ บน Blockchain ให้ทำการตรวจสอบ ยืนยัน การมีอยู่จริงของ Hotspot ในระยะใกล้เคียง และตรวจสอบว่ามีการ รับ-ส่ง ข้อมูลได้จริงไหม
เราจะเรียก Hotspot ที่ถูกสุ่มจากระบบ ให้ทำการ Challenge Hotspot ใดๆ บน Blockchain Helium นี้ว่า “Challenger” ส่วนนี้ผู้ Challenge ก็จะได้รับ Reward 0.9% เรียกว่าคะแนนส่วน Challengers
2. Hotspot ใดๆ บนโลก ในระบบ Helium Blockchain รับ Challenge มาจาก Challenger จากข้อ 1 และจะทำการกระจายสัญญาณไปตรวจสอบ Hotspot ในระยะใกล้เคียง ในส่วนนี้ Hotspot ที่รับ Challenge มา จะได้ Reward 5.02% หรือที่เรียกว่า คะแนนส่วน Proof of Coverage แต่ถ้ามีมากกว่า 1 Hotspot ในพื้นที่เดียวกัน ก็จะต้องแชร์กันในคะแนนส่วนนี้ หรือเราจะเรียก Hotspot ที่รับ Challenge นี้ว่า Challengee ก็ได้
3. เมื่อ Hotspot ของเรารับ Challenge ได้ จะเรียกว่า “Beaconer” (ผู้ปล่อยสัญญาณ) และทำการปล่อยสัญญาณ หรือ Beacon broadcast
4. เมื่อ Hotspot ของเราทำการปล่อยสัญญาณสำเร็จ จะเรียกว่า Broadcasted Beacon
5. เมื่อ Hotspot ของเรา ปล่อยสัญญาณ ไป Cover กับ สัญญาณที่ Hotspot ในระยะใกล้เคียง ที่ปล่อยออกมาเหมือนกัน จะเรียก Hotspot เหล่านั้นว่า “Witnesses”
6. และ ในทางกลับกัน Hotspot ที่ Witness กับ Hotspot ของเรา จะเรียกว่า “Witnessed Beacon” ในส่วนนี้คือ การยืนยันการมีอยู่ของ Hotspot นักขุดจะได้ Reward ในส่วนนนี้ 20.08 % เรียกว่าคะแนนส่วนนี้ว่า Witnesses
ซึ่งคะแนนในข้อ 1 - ข้อ 6 อันได้แก่ Proof of Coverage, Challengers และ Witnesses ถือเป็นคะแนนในส่วนของ Milestone ที่ 1 หรือ ช่วงการให้คะแนนกับนักขุดที่มี Helium Hotspot เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่นั้นเอง
7. เมื่อ Hotspot ของ Helium ครอบคลุมทั่วทั้งโลก และมีความเสถียรมากพอแล้ว Helium Hotspot ก็จะเป็นเครือข่ายของ IoT ที่สมบูรณ์ อุปกรณ์ IoT ใช้เครือข่ายของ Helium ในการ Transfer ข้อมูล ในส่วนนี้ จะเป็น Milestone ที่ 2 และนักขุดหรือคนที่มี Helium hotspot จะได้รับส่วนของรายได้ หรือ Reward มากที่สุดถึง 35% เรียกรางวัลส่วนนี้ว่า Network Data Transfer
โดยเหรียญ HNT ที่นักขุด ขุดได้นั้นจะเข้ามาอยู่ในกระเป๋า On-Chain Wallet บน Helium Blockchain เลยนะครับ โดยส่วนใหญ่แล้ว นักขุดทุกคนสามารถตรวจสอบธุรกรรม และ รางวัลของทุกคนได้ผ่าน www.explorer.helium.com และ Application Helium Hotspot ที่นักขุดทุกคนต้องมีตั้งแต่ครั้งแรกในการติดตั้ง Hotspot
Application Helium Hotspot
เขียนโดย พว.อธิวัฒน์ พรมใจมา | Blockchain Technical Suupport of The-Miners.io
สั่งซื้อ Helium Hotspot ได้ที่ ; http://bit.ly/3KN8INO
Line Official Account ; https://lin.ee/5M3v66A
Youtube Channel ; www.youtube.com/c/bank100
Map of Helium Hotspots ; https://explorer.helium.com/
โฆษณา