13 มี.ค. 2022 เวลา 03:00 • ธุรกิจ
On-Premise Vs. Cloud ERP: ข้อแตกต่าง และปัจจัยที่องค์กรควรรู้ก่อนเลือกติดตั้ง ERP ที่ตอบโจทย์
1
หากองค์กรกำลังพิจารณาหาระบบ ERP เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการดำเนินงาน และโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจ แต่ยังไม่สามารถเลือกรูปแบบวิธีการติดตั้ง ERP ระหว่างแบบ On-Premise หรือ Cloud ได้
บทความนี้ รวบรวมปัจจัยเปรียบเทียบ เพื่อช่วยให้สามารถพิจารณาถึงจุดที่ตอบโจทย์กับองค์กรมากที่สุด
ERP คืออะไร และทำไมถึงมีความสำคัญกับธุรกิจ?
Enterprise Resource Planning (ERP) คือ ซอฟต์แวร์บริหารจัดการทรัพยากรองค์กร จัดการกิจกรรมทางธุรกิจในแต่ละวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้เห็นภาพรวมด้วยการ Centralize ข้อมูลที่กระจัดกระจายจากการดำเนินงานของหลากหลายแผนก เชื่อมต่อแต่ละฝ่ายไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบัญชี ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่าย HR ฯลฯ ให้ทำงานได้อย่างลื่นไหล และเป็นระบบ
ERP ยังรวมไปถึงการบริหารการจัดการประสิทธิภาพขององค์กร (Enterprise Performance Management : EPM) ช่วยวางแผนงบประมาณ คาดการณ์เหตุการณ์ทางธุรกิจ และการจัดทำรายงานทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ โดย ERP มีวิธีติดตั้ง 2 รูปแบบหลัก คือ On-Premise และ Cloud
On-premise ERP: เป็นระบบ ERP ที่ทำงานบนเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ภายใต้การควบคุม และอยู่ในพื้นที่ขององค์กรเองเหมาะสำหรับองค์กรที่มีทีม IT ภายในพร้อมรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และดูแลบำรุงรักษาเซิร์ฟเวอร์ โดยเป็นลักษณะของการซื้อขาด ทำให้สามารถใช้สิทธิ์การเป็นเจ้าของในการปรับแต่งได้เต็มที่
Cloud-based ERP: เป็นการใช้งานระบบ ERP บน Cloud ผ่านผู้ให้บริการ โดยไม่ต้องติดตั้งเซิร์ฟเวอร์เอง การใช้งานระบบจะเป็นลักษณะจ่ายค่าบริการรายปี ข้อดีคือสามารถเข้าระบบได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เว็บเบราว์เซอร์ หรือแพลตฟอร์ม ใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา และทุกอุปกรณ์
เปรียบเทียบความแตกต่างของระบบ ERP แบบ On-Premise และ Cloud
  • ค่าใช้จ่ายในการลงทุนติดตั้งระบบ ERP
On-Premise ERP: มีค่าใช้จ่ายช่วงเริ่มต้นสูงกว่า แต่ในระยะยาวถือได้ว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เนื่องจากเป็นรูปแบบซื้อขาด ทำให้ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าใช้งานรายปี หรือมีค่าสัญญาในการใช้งานระบบ แต่จะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มเข้ามาในระหว่างการใช้งาน เช่น ค่าจ้างสำหรับฝ่ายสนับสนุน IT ค่าฮาร์ดแวร์ เซิร์ฟเวอร์ ค่าอัปเกรดระบบ หรือปรับแต่งซอฟต์แวร์ เป็นต้น
Cloud ERP: ในลักษณะการติดตั้งช่วงเริ่มต้นจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า ด้วยลักษณะของการใช้งานแบบ Subscription รายปี สามารถใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งเซิร์ฟเวอร์เอง และจ่ายเฉพาะฟังก์ชันที่มีการใช้งานในองค์กรได้ นอกจากนี้ Cloud ERP ยังเป็นรูปแบบที่องค์กรสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายล่วงหน้าได้ จากการมีค่าใช้จ่ายที่แน่นอนแบบรายปี หรือค่าฟังก์ชันเสริมที่สามารถควบคุมได้
  • ระยะเวลาในการติดตั้ง
On-Premise ERP: ใช้เวลาในการติดตั้งวางระบบตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป โดยจะขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของการวางระบบ และปรับแต่งฟังก์ชันที่ต้องการใช้งาน รวมถึงขั้นตอนการเตรียมความพร้อมด้านการติดตั้ง ทั้งตำแหน่งที่ตั้งที่ปลอดภัยของเซิร์ฟเวอร์ ไปจนถึงระยะเวลาในการอบรมทีมสนับสนุนระบบ ERP ภายใน
ทั้งนี้ในระยะยาวถือเป็นเรื่องที่ตอบโจทย์กับธุรกิจ ด้วยการติดตั้งที่ถูกปรับแต่งให้เหมาะกับความต้องการ และการใช้งานขององค์กรมากที่สุดมาตั้งแต่ต้น
Cloud ERP: ใช้เวลาดำเนินการติดตั้งน้อยกว่า สามารถติดตั้งได้ภายใน 4-6 เดือน จากการใช้งานระบบ Cloud เป็นหลัก ไม่เป็นจำเป็นต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ หรือพื้นที่จัดตั้งเซิร์ฟเวอร์ในการใช้งาน
  • การจัดเก็บ และความปลอดภัยของข้อมูล
ในขณะที่ ERP ทั้งสองรูปแบบมีมาตรฐานในการจัดการความปลอดภัยในระดับสูงทั้งคู่ อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อแตกต่างเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูล และการสำรองข้อมูล ดังนี้
On-Premise ERP: เซิร์ฟเวอร์ที่ติดตั้งอยู่ในพื้นที่องค์กรย่อมให้ความรู้สึกปลอดภัยกว่าฝากไว้ในมือผู้อื่น แต่ก็มีข้อจำกัดที่เพิ่มขึ้น เช่น องค์กรจำเป็นจะต้องมีการจัดการความปลอดภัยหลายชั้น มีทีมสนับสนุนที่เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ทั้งคอยดูแลเซิร์ฟเวอร์ให้สามารถใช้งาน และเข้าถึงได้ตลอดเวลา
Cloud ERP: ไม่จำเป็นต้องเตรียมทีม IT หรือต้นทุนในการดูรักษาความปลอดภัยของเซิร์ฟเวอร์ เนื่องจากข้อมูลจะถูกเข้ารหัส Encrypted จัดเก็บ และสำรองอย่างปลอดภัยบน Cloud ตัวอย่างเช่น ระบบ Cloud ERP ของ Oracle NetSuiteที่มีการจัดเก็บข้อมูลบน Cloud และสำรองไว้ในเซิร์ฟเวอร์หลายจุดทั่วโลก เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงอีกชั้น ทำให้ Uptime มีประสิทธิภาพถึง 99.7%
จากการสำรองข้อมูลในเครือข่ายแบบ Cloud ทำให้ยากต่อการถูกแฮ็กข้อมูล รวมทั้งหากอุปกรณ์การใช้งานขององค์กรมีปัญหา ก็สามารถกู้ข้อมูลกลับมาได้อย่างง่ายดาย
  • การปรับแต่งระบบ ERP
On-Premise ERP: เนื่องจากการติดตั้งระบบ ERP แบบ On-Premise เป็นลักษณะการซื้อขาด ทำให้องค์กรถือสิทธิ์ความเป็นเจ้าของได้เต็มที่ สามารถปรับแต่งซอฟต์แวร์ ERP ให้เหมาะกับธุรกิจได้ตามที่ต้องการ ทั้งในรูปแบบฟังก์ชัน/โมดูล และ Dashboard ให้เป็นไปตามลักษณะการใช้งานภายใน ตอบโจทย์ในด้านการจัดทำและเรียกดูรายงานทางธุรกิจ
Cloud ERP:การปรับแต่งของระบบ ERP แบบ Cloud อาจมีข้อจำกัดมากกว่า เนื่องจากเป็นรูปแบบของการใช้งานในลักษณะเช่าซื้อ หรือ Subscription ทำให้ด้านการปรับแต่งฟังก์ชันหรือโมดูลใหม่จะขึ้นอยู่กับการพัฒนา อัปเกรดเวอร์ชันของผู้ให้บริการเป็นหลัก
  • การอัปเกรตซอฟต์แวร์ และการบำรุงรักษาระบบ
On-Premise ERP: การอัพเดตระบบในแต่ละครั้งจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเพิ่มเข้ามา รวมทั้งใช้เวลามากกว่าระบบ Cloud เนื่องจากการอัปเกรดซอฟต์แวร์แบบ On-Premise จะทำควบคู่ไปการบำรุงรักษา หรือเปลี่ยนตัวฮาร์ดแวร์ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลา และให้ทีม IT เข้ามาดำเนินการอัปเกรด
Cloud ERP: ซอฟต์แวร์ ERP แบบ Cloud จะทำการอัปเกรดอัตโนมัติ สามารถใช้เวอร์ชันล่าสุดจากผู้ให้บริการได้ทันที โดยไม่ต้องจ่ายค่าบำรุงรักษา และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการอัปเกรด รวมทั้งไม่จำเป็นต้องใช้ทีม IT เข้ามาดำเนินการ แต่ก็มีข้อจำกัดคือ องค์กรจะไม่สามารถปรับแต่งการอัปเกรดซอฟต์แวร์ได้เอง รูปแบบและส่วนของการอัปเกรดจะเป็นไปตามที่ผู้ให้บริการได้กำหนด และพัฒนาออกมา
“Hybrid Cloud” การผสมผสานของ On-Premise และ Cloud ERP
หากความแตกต่างของการติดตั้งระบบ ERP ทั้ง 2 รูปแบบทำให้ท่านมองเห็นถึงข้อดีที่สามารถผสาน และสร้างคุณค่าที่มากกว่า ปัจจุบันได้มีการพัฒนา “Hybrid Cloud” ซึ่งเป็นการนำองค์ประกอบของ On-premise มาใช้ร่วมกับระบบ Cloud เพื่อตอบโจทย์การทำงานรูปแบบใหม่ และความง่ายต่อการเรียกข้อมูลมาใช้งานได้ในทุกที่ ทุกเวลา
Hybrid Cloud ตัวอย่างเช่น ระบบ SAP HANA Cloudเป็นฐานข้อมูลที่รองรับการจัดเก็บ และบันทึกข้อมูลทางธุรกิจทั้งหมด ผ่านเทคโนโลยีประมวล In-Memory Computing สามารถรองรับข้อมูลจำนวนมาก และ สามารถใช้ควบคู่กับ ERP On-Premise ที่องค์กรใช้งานอยู่แล้วได้อย่างลงตัว
หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมว่าระบบ ERP แบบ On-Premise หรือ Cloud จะเหมาะกับองค์กรและตอบโจทย์การดำเนินธุรกิจมากที่สุด ติดต่อเราเพื่อให้ทีมงานผู้เชี่ยวชาญของเรา ซึ่งมีประสบการณ์กว่า 30 ปีให้คำแนะนำ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SAP Business One และ Oracle NetSuite ได้ที่
โฆษณา