- เริ่มทำในปี 2017 ซึ่งก็ถือว่าใหม่มาก แต่ไม่ได้แปลว่าบ้านเราไม่มีพอดแคสต์มาก่อน มีแต่คิดว่า THE STANDARD น่าจะเป็นที่แรกที่ทำพอดแคสต์แบบเป็น network format เหมือนเราทำสถานีวิทยุ เพราะผมเคยทำวิทยุมา ก็จะพอเห็นว่ามันมี format แบบนี้ แล้วเราก็ติดตามรายการของต่างประเทศอย่าง NPR, Gimlet Media ก็มีเครือของตัวเอง แล้วก็มีรายการในบริษัทเดียวกัน เหมือนกับตอนที่เราจัดรายการใน Hotwave, Greenwave ก็จะมีค่ายของมันแล้วก็ผลิตรายการลูกออกมา เลยคิดว่าถ้าจะทำเลยอยากให้ออกมาเป็น THE STANDARD Podcast ที่เป็น station หรือ network ก็คือหนึ่งแบรนด์ แต่ผลิตรายการหลากหลาย ก็น่าจะเป็นที่แรกที่ทำจริงจังแบบนี้
- ช่วงแรกที่ทำก็เงียบๆ เหมือนกัน รุ่นแรกที่ทำเลยมี 5 รายการคือ The Money Case, The Secret Sauce, นักเรียนนอก, We Need To Talk, เทยเท่ ช่วงแรกก็กริบ เพราะคนน่าจะกำลังงงอยู่ว่าสิ่งนี้คืออะไร น่าจะเหมือนยุคแรกของทุกอย่างในโลกนี้ ที่คนยังงงอยู่ว่าคืออะไรและยังไม่คุ้นชิน ยุคแรกๆ ของ Youtube คนก็คงงงเหมือนกันว่าคืออะไร แต่สักพักนึงคนก็เริ่มเก็ท ด้วยความที่เราทำโดย interest base ด้วย เอาความสนใจของคนไว้ก่อน คนย่อมสนใจเรื่องเงิน เรื่องการทำธุรกิจ การเรียนต่อ การท่องเที่ยว การใช้ภาษาอังกฤษ เราก็คิดแบบนี้ว่า demand มันน่าจะมีอะไรบ้างในเชิงคอนเทนต์ที่คนเสพ ถ้ามันมีคนที่ตามเพจจำนวนนี้อยู่เยอะมาก หรือว่า channel ไหนใน Youtube มันมี demand อยู่
- The Secret Sauce เราค่อนข้างมั่นใจว่ามันมีตลาดและเคนก็สนใจเรื่องนี้อยู่แล้ว เขาก็เป็นนักเขียน เป็นบก. ทำได้อยู่แล้ว The Money Case พี่หนุ่มทำได้อยู่แล้ว มันพิสูจน์มาจากสิ่งที่เขาทำมาสิบกว่าปี มันมีกลุ่มคนของตลาดนี้อยู่
- นักเรียนนอก, เทยเท่ เป็นสิ่งที่แค่คิดว่าเราอยากลอง เพราะมันมีอะไรบางอย่าง อย่างเทยเท่ เรารู้สึกว่า LGBTQ+ มันเป็นสิ่งที่ไม่ใช่แค่กระแส แต่เป็นสิ่งที่โลกนี้มันต้อง aware และเราก็คิดว่าแง่มุมที่เราอยากให้รายการนี้บอกก็คือว่าคนที่เป็น LGBTQ+ มันอยู่ในทุกอาชีพการงาน ทุกภาคส่วนของสังคม มันไม่ใช่มีแต่ในวงการ make up artist ไม่ใช่มีแค่ในวงการอะไรสักอย่าง แต่มันมีเทยที่เป็นคนที่ทำงานบนแท่นขุดเจาะน้ำมันอยู่นะ มีเทยที่ทำในเรื่องประวัติศาสตร์อยู่นะ อันนี้มันมาจากความอยากเล่าของเรา อยากบอก อยากเสนอประเด็นอะไรสักอย่าง แล้วเราก็คิดว่ามันมีความ LGBTQ+ ซึ่งเป็นความสนใจของสังคมอยู่ มันก็ประกอบกันสองอย่างนี้ที่ช่วยให้เราตัดสินใจทำ
- รายการ We Need to Talk เกิดมาจากความสนใจของผมเอง รู้สึกว่าส่วนตัวผมชอบฟังคนไทยพูดภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเจอดาราพูดภาษาอังกฤษผมชอบฟัง แล้วก็รายการแบบนี้ยังมีไม่มาก ผมก็คิดเลยคิดว่าอยากทำเป็นทอล์คโชว์ ชวนเซเล็บมาสัมภาษณ์แต่ขอเป็นภาษาอังกฤษ 100% เลย ก็เกิดจากความรู้สึกว่าเราอยากบอกอะไรบางอย่าง เราเชื่อ เราเห็นอะไรบางอย่าง ประกอบกันแล้วเราทำ แล้วดูสิว่าคนฟังเอาไหม ถ้าเอาก็ทำต่อ ถ้ายังไม่เอาก็หยุด ถ้าสมมุติยังไม่แน่ใจก็เอาไว้ก่อน มันสามารถเลือกได้
- อย่างผมก็มีทำกรุ๊ปของคำนี้ดี แต่ว่าไม่ได้ตั้งชื่อกรุ๊ปว่าคำนี้ดี ก็มีคนมาโพสต์โปรโมทรายการเต็มเลย แล้วผมรู้สึกว่ามันดีเพราะว่ากรุ๊ปมันคือ community base คนที่มีความสนใจเหมือนกัน เหมือนที่โจ้พูดเลยก็คือไปอยู่ให้ถูกที่ เข้าให้ถูกที่ เหมือนกับเรารู้ว่าถ้าเราอยากขายสิ่งนี้ต้องไปตลาดไหน ต้องไปย่านไหน อยากขายต้นไม้ต้องไปที่ไหน อยากขายกาแฟต้องไปที่ไหน แต่สิ่งนึงที่ช่วยมากจริงๆ ก็คือโซเชียลมีเดีย ปฏิเสธไม่ได้เลย ผมเป็นคนโซเชียลน้อยมาก แต่ก็เห็นความสำคัญว่ามันคือที่ที่จะทำให้รายการเราไปได้ง่ายที่สุด
แต่เราก็ต้องมีความสม่ำเสมอและความจริงใจในการสร้าง community หรือ social ของเราเหมือนกัน ไม่ใช่ว่ามาเมื่อต้องการขายของเท่านั้น เราอาจจะต้องค่อยๆ สร้าง community หรือว่าไปเป็นส่วนนึงของ community หรือว่าการสร้างเน็กเวิร์คกับคนที่มีความชอบเหมือนกัน พี่ๆ podcaster ทั้งหลาย ที่เราก็ชอบฟังรายการแนวนี้ อยากทำรายการแนวนี้บ้าง เข้าไปปรึกษา make friend สร้าง relationship มันก็เป็นเรื่องของการเข้าสังคมบวกกับสร้างคอนเทนต์ มันผสมๆ กัน