12 มี.ค. 2022 เวลา 12:19 • ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ “ข้าวสาลี” และ เส้นทางการก้าวขึ้นเป็นผู้ส่งออกเบอร์หนึ่งของรัสเซีย
 
ในขณะที่สายตาของผู้คนจำนวนมากจับจ้องไปที่ราคาน้ำมันและโลหะที่พุ่งขึ้นสูง เนื่องจากจากวิกฤติความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน
4
ยังมีอีกหนึ่งสินค้าสำคัญที่ราคาของมันก็กำลังแอบขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน สินค้านั้นก็คือ “ข้าวสาลี”
2
ซึ่งทางรัสเซียเป็นผู้ส่งออกมันอันดับหนึ่งของโลก
แต่เมื่อมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์แล้ว เราจะพบความจริงที่ว่า ในช่วงก่อนการล้มสลายของสหภาพโซเวียด ดินแดนของรัสเซียยังเป็นรัฐที่ไม่สามารถผลิตข้าวสาลีได้เพียงพอกับความต้องการอยู่เลย
ในบทความนี้ ทาง Bnomics จึงได้หยิบประวัติศาสตร์ของข้าวสาลี และเส้นทางของรัสเซียในการกลับมาเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวสาลีอันดับหนึ่งให้ทุกคนครับ
4
📌 ประวัติศาสตร์ “ข้าวสาลี”
1
มนุษย์เริ่มรู้จักข้าวสาลีมาเป็นระยะเวลากว่าหมื่นปีแล้ว และก็ยิ่งสนิทแนบชิดกับเจ้าพืชชนิดนี้มากขึ้น เมื่อพวกเขาได้ตัดสินใจลงหลักปักฐานใช้ชีวิตกันแบบสังคมหมู่บ้าน แทนที่การออกล่าหาสัตว์ไปเรื่อยๆ
2
ในการจะลงหลักปักฐานได้ มนุษย์เราจำเป็นต้องทำการริเริ่มทำเกษตรกรรม เพื่อที่จะใช้เป็นอาหารและเก็บเป็นเสบียงไว้สำหรับยามฉุกเฉิน โดยสังคมมนุษย์แรกที่มีการบันทึกว่า ได้ทำการเพาะปลูก คือ บริเวณพระจันทร์เสี้ยวที่อุดมสมบูรณ์ หรือ ก็คือบริเวณที่ส่วนใหญ่เป็นอาณาจักร “เมโสโปเตเมีย” แหล่งอารยธรรมโบราณที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของมนุษยชาติ
โดยช่วงเวลาที่ทำการเพาะปลูกข้าวสาลีในดินแดนเมโสโปรเตเมีย เริ่มต้นขึ้นช่วง 8,500 ปีก่อนคริสตกาล
หลังจากนั้น ข้าวสาลี ก็กลายเป็นพืชที่มีบทบาทสำคัญในทางเศรษฐกิจและสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มมีการนำเพาะปลูกในอาณาจักรที่สำคัญๆ เรื่อยมา
3
อาณาจักรที่สำคัญ ก็เช่น อาณาจักรอียิปต์โบราณ ที่มีการบันทึกภาพวาดแสดงการพัฒนาเทคโนโลยีการไถ หว่าน และเก็บเกี่ยว ที่มีการใช้สัตว์และอุปกรณ์ เพื่อทุ่นแรงและเพิ่มผลผลิต มีการนำส่วนเหลือจากการเก็บเกี่ยวไปใช้ประโยชน์ต่อ
2
และในสังคมของอียิปต์ก็ยังใช้ขนมปังที่แปรรูปออกมาจากข้าวสาลี มาเพื่อเป็นเงินสำหรับจ่ายค่าจ้างให้กับแรงงานด้วย
1
นอกจากอาณาจักรที่มีดินแดนติดกับเมโสโปเตเมียอย่างอียิปต์ การปลูกข้าวสาลีก็ยังสามารถเดินทางต่อขึ้นไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ เริ่มต้นเข้าสู่อาณาจักรกรีกโบราณ (6,500 ปีก่อนคริสตกาล) และเข้าสู่เยอรมนีในช่วง 5,000 ปีก่อนคริสตกาล
1
ซึ่งที่อาณาจักรกรีกโบราณ ก็มีก้าวที่สำคัญในการปรุงอาหารจากข้าวสาลี คือ การพัฒนาเตาอบขนมปังแบบที่เป็นทรงปิด แบบที่เราใช้กันในปัจจุบันขึ้นเป็นที่แรกของโลก
การพัฒนาเตาอบของกรีกนี่เอง ก็ได้ถูกส่งต่อมาสู่อาณาจักรโรมันที่ยิ่งใหญ่ โดยมีการประมาณกันว่า ในช่วงเวลาประมาณ 20 ปีก่อนคริสตกาล มีร้านขนมปังที่มีการจัดการอย่างเป็นระบบเปิดอยู่ในกรุงโรมมากกว่า 300 แห่ง
1
ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้ ก็กลายมาเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมการทำอาหารจากขนมปังทั่วทั้งทวีปยุโรปต่อมา ที่มีการแตกแขนงสร้างสูตรอาหารในรูปแบบของตัวเองตามพื้นที่ แต่แม้จะเปลี่ยนวิธีการหรือส่วนประกอบอะไรไป “ข้าวสาลี” ก็ยังเป็นวัตถุหลักที่ขาดไม่ได้มาตลอดหลายพันปี
และยิ่งข้าวสาลีถูกส่งต่อไปสู่สหราชอาณาจักรและไปสู่สหรัฐอเมริกาในช่วงต่อมา วัฒนธรรมการทานขนมปังก็ถูกส่งต่อไปทั่วทุกมุมโลกตามอิทธิพลของประเทศเหล่านี้ไปด้วย จนในปัจจุบัน ข้าวสาลีก็เลยกลายเป็นหนึ่งในพืชที่ถูกปลูกมากที่สุดในโลก โดยบริเวณที่ใช้ปลูกข้าวสาลีทั่วโลกนั้น มีขนาดใหญ่กว่า สหราชอาณาจักรเสียอีก
2
ในสหรัฐอเมริกา ก็มีการเพาะปลูกข้าวสาลีอย่างกว้างขวางเช่นกัน แม้ดินแดนแห่งนี้จะไม่เคยมีต้นข้าวสาลีแม้ต้นเดียว เป็นเวลานับหมื่นปี ตั้งแต่ข้าวสาลีถูกนำมาปลูกจริงจังในเมโสโปเตเมีย ทว่า นับแต่ถูกนำเข้าสู่ดินแดนในช่วงคริสตวรรษที่ 17 มันก็กลายมาเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอันดับต้นๆ เสมอมา
1
โดยมีรัฐที่สำคัญในอเมริกาที่ทำการปลูกข้าวสาลีเป็นจำนวนมาก อย่าง Kansas ถึงขณะที่รัฐนี้มีชื่อเล่นว่า “รัฐข้าวสาลี (The wheat state)” และโดยภาพรวมทั้งประเทศแล้ว สหรัฐฯ ก็เป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีอันดับสองรองจากรัสเซียนั่นเอง
1
📌 จุดตกต่ำของข้าวสาลีรัสเซียในช่วงโซเวียด
1
รัสเซียก็เป็นหนึ่งประเทศในทวีปยุโรปที่มีการปลูกข้าวสาลีมาเป็นระยะเวลานาน แต่บทบาททางเศรษฐกิจที่สำคัญที่ถูกนำมาวิเคราะห์เทียบไปกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจจริงๆ อย่างเด่นชัด เกิดขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 นี่เอง ในช่วงที่ยังเป็นสหภาพโซเวียดอยู่
1
โดยแม้พื้นดินของรัสเซียจะเต็มไปด้วยแร่ธาตุอาหารที่เหมาะกับการเพาะปลูกและทำปศุสัตว์ แต่หลังจากเข้าสู่การปกครองในระบอบเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์ในช่วงโซเวียด เกษตรกรรมและปศุสัตว์ในรัสเซียก็เข้าสู่ยุคตกต่ำ
1
ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า รูปแบบการรวมศูนย์เศรษฐกิจจากรัฐบาล ที่เข้ายึดทรัพยากรในมือของเกษตรกร ได้ไปลดแรงจูงใจในการปลูกพืชของเกษตรกร และขนาดตลาดของรัสเซียก็ไม่สามารถเจริญเติบโตไปได้อย่างที่ควรจะเป็น
การปลูกข้าวสาลีในตอนนั้น จึงจำเป็นต้องพึ่งพาการสนับสนุนและการวางแผนจากภาครัฐเท่านั้นถึงจะทำได้ สุดท้ายดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ที่ควรจะนำมาใช้เพาะปลูก ก็ถูกทิ้งร้างมากขึ้นเรื่อยๆ ทางโซเวียดก็หันมานำเข้าข้าวสาลีแทน ซึ่งก็กลายเป็นสิ่งที่กลับมาสร้างความลำบากทางการต่างประเทศให้กับโซเวียดแทน เพราะข้าวสาลีที่นำเข้ามาส่วนใหญ่ก็มาจาก “สหรัฐอเมริกา” คู่แข่งอันดับหนึ่งนั่นเอง
3
และยิ่งเวลาผ่านไป ปริมาณการนำเข้าข้าวสาลีรวมถึงธัญพืชอื่นๆ ในยุคของโซเวียดก็มากยิ่งขึ้น
  • ปี 1972 นำเข้าข้าวสาลีและธัญพืชอื่นรวม 23 ล้านตัน
  • ปี 1975 นำเข้าข้าวลาสี รวม 27 ล้านตัน
  • ปี 1979 นำเข้าข้าวลาสี รวม 31 ล้านตัน
  • และในปี 1985 ที่นำเข้าสูงสุดถึง 47 ล้านตัน
ซึ่งบทเรียนในตอนนั้น ก็ส่งผลมาถึงรัสเซียในปัจจุบัน ที่ทำการปรับโครงสร้างของเศรษฐกิจ ให้กลไลตลาดเข้ามาจัดการมากขึ้น และก็มีการสนับสนุนจากภาครัฐให้มีการเพิ่มกำลังผลิตอาหาร เพื่อให้ประเทศสามารถพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น โดยเฉพาะข้าวสาลีที่กลายมาเป็นพืชเศรษฐกิจหลัก
1
📌 ยุคทองของ “ข้าวสาลีรัสเซีย”
3
ในปี 2001 รัสเซียยังส่งออกข้าวสาลีเพียงแค่ 696,000 ตัน แต่เพียง 10 ปีให้หลัง พวกเขาเพิ่มตัวเลขดังกล่าวกลายมาเป็น 18 ล้านตันต่อปี
1
และในช่วงไม่กี่ปีหลัง พวกเขากลายมาเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีอันดับหนึ่งของโลก แซงหน้าคู่แข่งคนสำคัญคนเดิมอย่างสหรัฐอเมริกาขึ้นมาแล้ว เมื่อส่งออกข้าวสาลีประมาณ 40 ล้านตันต่อปี ที่เป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นมากว่า 2 เท่าในช่วงเวลาอีก 10 ปี
การส่งออกที่เพิ่มขึ้นมานี้ เกิดมาจากการสนับสนุนจากภาครัฐ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่ทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น และก็ยังได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของค่าเงินรูเบิลในช่วงปี 2014 ที่แม้จะมีผลลบต่อเศรษฐกิจหลายส่วน แต่ก็ช่วยให้สินค้ารัสเซียมีราคาถูกลงมากในสายตาชาวโลก
3
โดยการส่งออกข้าวสาลีของรัสเซียคิดเป็นประมาณ 20% ของโลก เมื่อเกิดวิกฤติความขัดแย้งในตอนนี้ขึ้น ก็กลายเป็นความเสี่ยงกับหลายประเทศที่พึ่งพาอาหารจากรัสเซีย
และก็ไม่ใช่รัสเซียประเทศเดียวที่มีความสำคัญกับราคาอาหารโลก ยูเครนเองก็มีความสำคัญในฐานะผู้ส่งออกอาหารเช่นกัน จนบางครั้งถูกขนามนามว่าเป็น “ตะกร้าขนมปังของยุโรป (Breadbasket of Europe)”
โดยเวลาประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาของข้าวสาลีในตลาดโลกก็เพิ่มขึ้นมาประมาณ 40% แล้ว เพิ่มขึ้นมามากยิ่งกว่าราคาน้ำมันดิบเสียอีก
1
ซึ่งการขาดหายไปของปริมาณการส่งออกของ 2 ประเทศนี้ ก็อาจจะกลายเป็นโอกาสสำคัญให้กับประเทศอื่นที่จะกลายมาเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีคนสำคัญแทนในอนาคตก็ได้ อย่างเช่น อินเดีย ที่วางแผนจะส่งออกข้าวสาลีมากขึ้นในปีนี้
ผู้เขียน : ณัฐนันท์ รำเพย Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
2
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
2
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference :
เครดิตภาพ : Ancient History Lists

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา