18 มี.ค. 2022 เวลา 11:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ย้อนวิกฤติน้ำมันแพง กับหนังสือ “เศรษฐกิจไทย 50 ปี”
2
ตอนนี้ปัญหาที่เราทุกคนกังวลคงหนีไม่พ้นปัญหาราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น จนทำให้ค่าครองชีพสูงตาม ซึ่งคล้ายกับเหตุการณ์ที่เคยเกิดกับประเทศเราในช่วงปี 1970s ตอนนั้นไทยก็ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่พุ่งสูงขึ้นเหมือนกัน
ถึงแม้รายละเอียดบางประเด็นของตอนนั้นจะต่างกับตอนนี้ แต่การเรียนรู้สิ่งที่เคยเกิดขึ้นไว้ก็ยังมีประโยชน์ วันนี้เลยจะหยิบตอนนึงจากหนังสือ 50 Years: The Making of the Modern Thai Economy ที่จัดพิมพ์เพื่อฉลองครบรอบ 50 ปี กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร มาเล่าให้ทุกคนฟังครับ
ย้อนไปช่วงปี 1973-1981 ไทยเจอกับภาวะเงินเฟ้อสูงและปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ สาเหตุหลักเกิดจากวิกฤติราคาน้ำมันที่เกิดถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกคือในปี 1973 วิกฤติครั้งนี้มีจุดเริ่มต้นจาก “สงครามยมคิปปูร์” ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่าง “อียิปต์และซีเรีย” กับ “อิสราเอล” โดยอียิปต์และซีเรียได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มประเทศอาหรับ ส่วนอิสราเอลมีสหรัฐฯ หนุนหลัง
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทำให้กลุ่มประเทศอาหรับที่เป็นแกนหลักในกลุ่ม OPEC อยู่แล้ว ตอบโต้ด้วยการงดส่งออกน้ำมันไปยังสหรัฐฯ และประเทศพันธมิตร จนเกิดภาวะน้ำมันขาดแคลนอย่างหนัก และทำให้ราคาน้ำมันพุ่งถึง 4 เท่าในเวลาแค่ 6 เดือน
ตอนนั้นไทยเราก็ได้รับผลกระทบไปด้วย เพราะเราเป็นประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าน้ำมัน พอราคาน้ำมันโลกสูงขึ้น ราคาน้ำมันในไทยเลยต้องปรับราคาขึ้นตาม อีกทั้งค่าครองชีพต่าง ๆ เช่น ค่าโดยสารรถประจำทาง ค่าหนังสือพิมพ์ ค่าข้าวราดแกง ก็ยังปรับราคาขึ้น จนตามมาด้วยเงินเฟ้อปี 1973 และ 1974 ที่พุ่งสูงถึง 15.51% และ 24.31% ตามลำดับ
แต่ปัญหาที่เกิดดูจะไม่ได้มีแค่เงินเฟ้อ ตอนนั้นไทยยังต้องเจอกับภาวะขาดดุลงบประมาณที่ก่อตัวมาตั้งแต่ปี 1971 เพราะต้องเพิ่มงบประมาณด้านการทหารเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนทางการเมืองและความมั่นคง อีกทั้งดุลการชำระเงินของไทยตอนนั้นก็ยังขาดดุล โดยหนึ่งในสาเหตุเกิดจากการขาดดุลการค้า หลังจากที่ราคาน้ำมันสูงขึ้น
2
ซึ่งจากปัญหาทั้งหมดภาครัฐก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ มีความพยายามใช้มาตรการทางการเงินและการคลัง เพื่อบรรเทาปัญหาเงินเฟ้อและเศรษฐกิจตกต่ำที่เกิดขึ้น แต่ดูเหมือนปัญหาทั้งหมดจะไม่ได้คลี่คลายลง บวกกับช่วงปี 1977-1978 ตัวเลขการส่งออกของเราก็แย่ลงจนเกิดปัญหาขาดดุลการค้าและดุลการชำระเงินต่อเนื่อง
สุดท้ายแบงก์ชาติเลยต้องขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) โดยการเข้าร่วมโครงการเงินกู้ที่ไม่มีข้อผูกพันเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ เพื่อแก้ปัญหาเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่ลดลงหลังขาดดุลการชำระเงินต่อเนื่อง
แต่เรื่องทั้งหมดไม่ได้มีเท่านี้ ที่เล่าไปเป็นแค่เรื่องที่เกิดจากวิกฤติราคาน้ำมันครั้งแรก หลังจากนั้นไทยยังต้องเจอกับวิกฤติราคาน้ำมันอีกครั้ง ถ้าใครอยากรู้เพิ่มไปตามอ่านต่อได้ในหนังสือครับ
เนื้อหาที่เล่าไปเป็นแค่บางส่วนจากเรื่องทั้งหมด 50 ปีของประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยในหนังสือ 50 Years: The Making of the Modern Thai Economy
ใจความหลักของหนังสือเล่มนี้จะชวนเราย้อนไปดูอดีตของไทยว่า “เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร” เพื่อให้เกิดการตั้งคำถามว่าสุดท้ายแล้ว “เราจะไปยังไงต่อ” ซึ่งวิธีการเล่าเรื่องของหนังสือเล่มนี้ จะเริ่มด้วยการแบ่งเศรษฐกิจไทยออกตามช่วงเวลา และค่อยเล่าต่อว่าในแต่ละช่วงเกิดอะไรขึ้นบ้าง
1
มากไปกว่านั้นความพิเศษที่หาจากที่อื่นไม่ได้ คือ การรวมเอาบทสัมภาษณ์ของนักการเมือง ข้าราชการ นักธุรกิจ และนักวิชาการ ที่เห็นเศรษฐกิจไทยในยุคนั้นมากับตาตัวเอง มุมมองเรื่องประวัติศาสตร์เศรษฐกิจที่ผู้อ่านหนังสือเล่มนี้จะได้ เลยจะทั้งลึกกว่าและต่างไปจากที่เคยรู้
และเชื่อว่าหลายคนอาจจะยังมีภาพจำว่าหนังสือประวัติศาสตร์จะต้องอ่านยากและไม่สวย แต่กับเล่มนี้บอกเลยว่าไม่ใช่ หนังสือเล่มนี้สอดแทรกรูปประวัติศาสตร์และอินโฟกราฟิกตลอดเล่ม ทำให้อ่านง่ายกว่าหนังสือประวัติศาสตร์หลายเล่มที่เคยเจอมา
พูดมาขนาดนี้หลายคนน่าจะอยากอ่านแล้ว ที่น่าเสียดาย คือ หนังสือเล่มนี้ไม่ได้มีวางขายทั่วไปในท้องตลาด แต่ถ้าใครสนใจ อยากให้ติดตามเพจเราในช่องทาง FB ให้ดี เพราะเร็ว ๆ นี้เราจะมีกิจกรรมมาให้ทุกคนได้เล่นและลุ้นรับหนังสือกันครับ
อ่านเรื่องราวความเป็นมาของโครงการหนังสือ 50 Years: The Making of the Modern Thai Economy ได้ที่
"เพราะการเงินเป็นเรื่องของทุกคน"
พวกเรากลุ่มคนที่รักเรื่องราวของการเงินการลงทุนเป็นชีวิตจิตใจ จึงก่อตั้งเพจ Dime! (ไดม์!) ขึ้น
Dime! แปลว่าเหรียญ 10 เซ็นต์ (ประมาณ 3 บาท) สื่อถึงความตั้งใจของเราที่จะทำให้การเงินการลงทุนเป็นเรื่องที่คุณเข้าถึงได้ เข้าใจง่าย และนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้จริง เหมือนกับเงิน 1 ไดม์ ที่ใคร ๆ ก็สามารถเข้าถึงได้
หากทุกคนมีความรู้ทางการเงินที่แข็งแรง
สังคมของเราก็จะดีขึ้นตามไปด้วย
โฆษณา